ฝนยังตกพรำ ๆ มาตั้งแต่เช้า พวกเรานั่งรอนอนรอไปจนถึง ๑๑ โมงซึ่งเลยเวลาเที่ยวบิน เครื่องบินยังไม่มา และมีข่าวแว่วมาว่า เครื่องบินลงไม่ได้ เราทนรอ ระหว่างที่รอ มีโอกาสพูดคุยกับคนไทย คนหนึ่งอายุประมาณ ๕๐ เศษ อีกคนอายุระหว่าง ๓๐-๔๐ คนอายุมากทำประมง คนอายุน้อยทำอะไรไม่ได้สอบถาม เรารู้จักซื่อคนที่มีอายุมากในภายหลังว่าชื่อโกคิน
เราแปลกใจจึงถาม “ทำไมพูดไทยได้” ชายทั้งสองตอบ “เพราะเกิดที่เกาะสอง” ซึ่งเป็นคำตอบเดียวกับคำตอบเจ้าหน้าที่สนามบินเกาะสองเมื่อ ๒ วันก่อน
ชายอายุน้อยเล่าว่า “มะริด มะลิวัน เกาะสอง เดิมเป็นของไทย มีประวัติเขียนไว้ บนเกาะที่มีพระนอน พระนอนสร้างใหม่ วัดเดิมเป็นวัดไทย ประวัติเขียนไว้… มะลิวัลย์กับเกาะสองเดิมมีคนไทยกับมุสลิม พม่าอพยพเข้าทีหลัง พม่ามาจากภาคเหนือ ภาคเหนือขาดความอุดมสมบูรณ์ จึงอพยพมาอยู่ภาคใต้…
“เดิมคนไทยอยู่ที่มะลิวัลย์ ตอนหลังย้ายมาเกาะสอง คนระนอง เกาะสอง มะลิวัลย์เป็นพี่น้องกัน ไปมาหาสู่กันตลอด เมื่อทำบัตร คนระนองก็ทำบัตรไทย คนฝั่งนี้ก็ทำบัตรพม่า...
ก่อนหน้านี้ “ไปมาหาสู่กันสะดวก ไม่ต้องทำบัตร ไม่ต้องตรวจมาก เขียนแค่ชื่อเท่านั้น ฝั่งไทยก็ยังไม่ทำบัตร ไม่ต้องทำวีซ่า ใบผ่านทาง วีซ่าและใบผ่านทางพึ่งมาทำตอนหลัง ตอนพลเอกเชาวลิต [ยงใจยุทธ] เป็นนายกรัฐมนตรี มาเจราจาตกลงกับผู้นำพม่า การตรวจบัตรจึงมากขึ้น เข้มขึ้น”
ชายทั้งสองเป็นบาบาร์ไทย-จีน โกคินมีญาติอยู่กระบุรี ปู่อยู่ที่ตลาดแขก ระนอง คนอายุน้อยมีลูก ๒ คน ชายหนึ่ง หญิงหนึ่ง แม่เป็นพม่า แต่ลูกสาวพูดไทยได้ เพราะชอบดูทีวีไทย
โกคินบอก “ปัจจุบัน คนเกาะสองพูดไทย เป็นคนไทยและบาบาร์ยังมีมาก ไทยมะริดดั้งเดิมในมะริดไม่มีแล้ว คนในมะริดที่พูดไทย เป็นคนที่มาจากเกาะสองหรือที่อื่น คนไทยดั้งเดิมถูกกลืนไปแล้ว ปัจจุบัน คนทวาย คนตะนาวศรี ที่เป็นคนไทยยังมีอยู่ แต่น้อย”
คุยยังไม่จบโซบอกให้เรานำกระเป๋าไปตรวจ เพื่อรอการบิน เจ้าหน้าที่สนามบินตรวจคล้ายกับที่สนามบินเกาะสอง แต่โชคดีเราไม่โดนตรวจทั้งกระเป๋าและร่างกาย ตรวจเสร็จ เข้าไปนั่งรอด้านใน โซยังเฝ้ารอพวกเราอยู่ข้างนอก
ระหว่างรอเครื่องบิน กังสงสัยว่าเครื่อง X-Ray สนามบินพม่าใช้การได้หรือไม่ เพราะกระเป๋าของเชษฐ หัวแพรมีมีดยาวอยู่เล่ม แต่เครื่องตรวจไม่มีปฏิกริยาใด ๆ “สงใสเป็นเครื่อง X-ray หลอก” กังสรุป
ผ่านไป ๑ ชั่วโมง ฝนยังตกไม่หยุด พวกเราลุ้นให้เครื่องบินลง “มันบินมาดูสนามแล้ว” เดี๋ยวคงบินกลับมาลงจอด” โกคินบอกกับเรา เราใจชื้น
แต่เครื่องบิน บินไปตั้งหลักเป็นเวลานาน เรานั่ง นอน ยืนรอ รอ...รอ...และรอเครื่องบินไปจนถึงบ่ายโมง เจ้าหน้าที่สนามบินมาแจ้งว่า เครื่องบินไปลงที่เกาะสองแล้ว
โซสีหน้าวิตกกังวล และเชิญให้เรากลับออกมาจากห้องพัก
ออกมาถึงพวกเราถามโซถึงเที่ยวบินอื่น ๆ และเรือ โซบอก “เรือวันนี้ไม่มี พรุ่งนี้ก็ไม่มี ต้องรอถึงวันอาทิตย์ เที่ยวบินจะมีอีกทีก็วันจันทร์” พวกเราหมดแรง
“บริษัทการบินจะรับผิดชอบผู้โดยสารอย่างไร เขาจะเช่าโรงแรมให้ผู้โดยสารหรือไม่” กังถาม โดยยึดแบบแผนปฏิบัติของสายการบินในไทย
โซตอบ “ไม่ เครื่องบินลงไม่ได้เป็นเรื่องปกติในพม่า ผู้โดยสารต้องรับผิดชอบตนเอง”
“ไหนว่านักบินพม่าเก่ง ทำไมไม่น้ำเครื่องบินลง” เรานึกในใจ
“นึกถึงการบินไทย” เชษฐ์เปรย
“นึกถึงอะไร เห็นผิดเวลา ๒๐ หรือ ๓๐ นาทีก็ด่าเขา” เราเย้า
โซให้เรารอที่สนามบิน เขาเดินไปโทรศัพท์ให้รถคันเดิมมารับ รถมาแล้ว แต่คนขับเข้าไปคุยกับเจ้าหน้าที่สนามบิน และกลับออกมา โซบอกว่าคนขับเป็นตัวแทนขายตั๋วเครื่องบิน เขาให้ความหวังว่า เครื่องบินเที่ยวย่างกุ้ง-เกาะสองจะแวะเติมน้ำมันที่มะริด เขาจะจัดการเรื่องเดินทางให้
โซพาเรากลับไปกินอาหารเที่ยงตอนบ่ายที่ร้านยะดานา อาหารมื้อนี้กินอย่างไรก็ไร้รส กินเสร็จเราได้แต่รอ...รอ...และรอ โซบอกว่าเดี๋ยวจะมีตัวแทนบริษัทขายตั๋วมาบอก ในที่สุดเด็กหนุ่มที่เป็นตัวแทนบริษัทขายตั๋วก็มา พูดกับโซเป็นภาษาพม่า
พวกเราจับจ้องการพูดคุยตาไม่กระพริบและลุ้นตัวโก่ง เชษฐ์ลุ้นหนักกว่าเพื่อน พร้อมพูดลุ้นสุดตัว “อย่าผายมือ อย่างผายมือ อย่าผายมือซี”
เหมือนถูกลุ้น ตัวแทนขายตั๋วผายมือตามจังหวะการห้ามของเชษฐ์
“เครื่องบินลงที่เกาะสองแล้ว” คือคำตอบสุดท้ายของโซ พวกเรานั่งนิ่ง ยิ้มไม่ออก ครู่ใหญ่โซถาม “เอากาแฟไหม” เราบอก “ไม่...จะไปนอน”
ระหว่างนั่งรถกลับโรงแรมเดิม โจ้เสนอให้โซเจรจากับลิ โซ อนุญาตให้เราบินไปย่างกุ้งและบินต่อไปกรุงเทพ ฯ
กลับถึงโรงแรม เราและกังได้ห้องพักเดิม โจ้และเชษฐ์ย้ายมาอยู่ห้อง ๔๐๒ ติดห้องเรา
บ่าย ๓ โมงแล้วเราได้แต่รอ...รอ...และรอ รอข่าวจากโซ ส่วนกังหลับไปแล้ว นอนพักอยู่ชั่วครู่ โจ้มาเคาะประตูเรียกให้ไปห้อง
ไปถึงห้อง เชษฐ์และโซรออยู่แล้ว ทั้งสามคนบอกว่าเรา ต้องอยู่มะริดต่ออีก ๓ วันเพราะตม. ไม่ให้เดินทางไปย่างกุ้ง เครื่องบินอีกทีในวันพุธหน้า เราบอกว่าส่วนตัวไม่มีปัญหา ปัญหาใหญ่คือ พวกเราไม่มีเงินอยู่ถึงวันพุธ
คุยไปคุยมาโซถาม “เรือไปไหม เรือมีพรุ่งนี้เช้า ที่นั่งไม่พอ” เราบอก “ไม่เป็นไร สลับกันนั่ง รีบไปชื้อตั๋ว”
ท้ายสุดโซ โจ้ เชษฐ์บอกว่า “มีเรือพรุ่งนี้ ๗ โมง ตั๋วชื้อแล้ว ที่นั่งครบ” เรานึกในใจ “แมร่งโดนอำ”
“พรุ่งนี้เรือจะออกแน่นอน มีฝรั่งไปด้วย ๓ คน” โซบอก
เวลาเกือบ ๔ โมง โจ้กับเชษฐ์บอก “หลับไม่ลง จึงมาชวนไปเดินดูท่าเรือ” ถึงท่าเรือทวาย มะริด เกาะสอง เดินลงไปเล่นที่ท่าเรือ มีเรือข้ามฟากจากเกาะที่บาบาร์บอกตอนอยู่สนามบินว่า “เป็นวัดเก่าของไทย” เข้ามาเทียบฝั่ง
เราเดินเข้าไปถามคนขับจักรยานยนต์รับจ้าง ที่ลงมาท่าเรือด้วยภาษามือ “ใช่เรือข้ามฟากหรือไม่” เขาตอบ “ใช่” บอก “เมียเป็นคนไทยเลยพูดไทยได้นิดหน่อย”
ช่วงที่คุยนั้น ลุงแขกฮินดูเข้ามาร่วมคุยด้วย เราดีใจ “คงได้คุยภาษาอังกฤษ” แต่แขกฮินดูพูดภาษาอังกฤษไม่คล่อง เราพูดกับลุงแขกว่า “ปกติคนแขกพูดอังกฤษได้ดี ทำไมลุงพูดไม่คล่อง” “เป็นฮินดู อยู่ในพม่า” แกว่า
จากนั้นขึ้นจากท่าเทียบเรือกลับเข้าสู่ตัวเมือง เดินเลียบถนนทางด้านตะวันออกของวัดประจำเมือง บ้านที่อยู่ใกล้วัดกำลังทำขนมโค เรียกให้เราไปกินด้วย รวมทั้งให้ชิมสลัดมะละกอ เรากินแต่ขนม พร้อมพูดคุยกับชาวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่กำลังอยู่ในวัยหนุ่มสาวและส่วนใหญ่เป็นพวกบาบาร์ จีนผสมพม่า
ระหว่างกิน หนุ่มพม่า ๓ คนเดินมา เจ้าของบ้านเชิญชวน ชายทั้งสามนั่ง เรานั่งคุย หนุ่มพม่าคนหนึ่งรู้ว่าเราเป็นคนไทยเลยคุยด้วย เขาเป็นพม่า เกิดที่มะริด แต่เคยเดินทางไปทำงานในประจวบฯ กว่า ๑๖ ปีจึงพูดภาษาไทยได้แคล่วคล่อง
ก่อนจากลาเราขอที่อยู่ของเด็กกลุ่มนั้น บอกจะส่งรูปมาให้ เด็กคนหนึ่งถามพวกเรามาทำอะไร เราบอกว่ามาศึกษาวัฒนธรรมไทยในพม่า เราอ้างประวัติศาสตร์ว่า “ศตวรรษที่ ๑๗ มะริดเป็นส่วนหนึ่งของไทย” เด็กคนนั้นถาม “จะมาเอาแผ่นดินตรงนี้คืนหรือ” เราบอก “ไม่ แค่มาศึกษา” ในใจคิดว่า “นายมองคนผิดแล้ว อย่าว่าแต่เอาแผ่นดินคืนเลย แค่ขอคืนสัญชาติให้ไทยพลัดถิ่นยังไม่มีปัญญา”
บอกลาเด็กกลุ่มนั้น แล้วเดินกลับโรงแรม พักครู่หนึ่งก็เดินทางไปกินข้าวในที่ที่โซเรียกว่าแบล็ก มาร์เก็ต แต่ที่จริงคือตลาดกลางคืน เปิดขายประมาณ ๖ โมงถึง ๔ ทุ่ม ทุกวัน
พื้นที่ของตลาดกลางคืนก็คือถนนเรียบอ่าวมะริด พ่อค้า แม่ค้าจำนวนมาก นำของมาขาย หลายหลาก เช่น อาหาร เสื้อผ้า เทป วีซีดี บริการสักยันต์ ชา กาแฟ และอื่น ๆ
เรากินอาหารในตลาดกลางคืน กินแบบผู้ดีตกยาก ไม่เหมือนกับวันก่อน ๆ วันก่อน ๆ เชษฐ หัวแพร ในฐานะผู้ถือเงินของกลุ่ม โม้ว่า “แมร่ง เงินเป็นฟ่อน ๆ เป็นเศรษฐีในพม่า” โม้แล้วเขาก็หัวเราะเสียงแหบ ๆ เหมือนรถสตาร์ทไม่ติดอย่างเคย
“วันนี้ทำไมเชษฐ หัวแพร ไม่ไปกินข้าวร้านอาหารวะ เบียร์ก็ไม่สั่ง เลือกมากินข้าวข้างถนน เหมือนพจมานตอนตกยาก” เรานึกในใจ
กินข้าวเสร็จ พวกเราเดินตลาดกลางคืน แล้วเดินกลับมาเส้นทางเดิม ผ่านกลุ่มเด็กใจดีกลุ่มเดิม และมายืนอยู่ตรงถนนเพื่อชมแสงไฟ และความสวยงามของวัดใหญ่ประจำเมืองในยามค่ำคืน
วันนั้นเป็นวันออกพรรษา ผู้คนทั้งเมืองร่วมใจกันทำบุญ เดินผ่านบ้าน ร้านรวงต่าง ๆ ต่างประดับโคมไฟและแสงเทียนกันทั้งเมือง ตามถนนหนทางชาวบ้านเปิดร้านเลี้ยงแขก เลี้ยงผู้คนที่เดินผ่านไปมา ดูชาวบ้านน่ารักดี แต่พระพม่าไม่น่ารักเท่าไร ตอนเรามานั่งกินนขนมที่เด็กและน้องสาวใจดีเลี้ยง พระมายื่นหยุดตรงพวกเรา เพรียกหาเงินตราเสียงแข็ง “มันนี่ มันนี่ มันนี่”
โซบอกว่า “คนพม่าให้ความสำคัญมากกับการทำบุญ”
เราตอบ “คงดุจเดียวกับเมืองไทยเมื่อ ๕๐ – ๖๐ ปีก่อน แต่สิ่งที่เราเรียกว่าการพัฒนา ได้ทำให้สิ่งเหล่านี้สูญสลาย”
GoogleCyberSearch
Shared Items
Labels
- ႐ႊင္ျမဴးစရာ (3)
- Agri and Fishery (11)
- Art and Literature (2)
- Dhamma - Beliefs (7)
- Earth-Weather-Travel (8)
- Economy-Business-Finance (22)
- Energy (4)
- Fun/Humor (10)
- General (1)
- Health (3)
- History - Politics (11)
- Ideas - Opinions (6)
- IT (22)
- Life Style (7)
- Local (21)
- Society - Community (1)
- Technology (14)
- Travel (4)
- การเกษตร (2)
- ขำขัน (8)
- ท่องเทียว (4)
- เทคโนโลยี (11)
- เทคโนโลยี-วิทยาศาสตร์ (3)
- ธุรกิจ (4)
- บ้า้นและครอบครัว (1)
- ประวัติศาสตร์ (2)
- ปรัชญา - ธรรมะ (10)
- พม่า (11)
- พลังงาน (5)
- ระีนอง - เกาะสอง (25)
- เศรษฐกิจ (10)
- สังคม (9)
- สัตว์น้ำและอาหารทะเล (10)
- สุขภาพ - อาหาร (12)
- ကမၻာေျမ (2)
- က်န္းမာေရး (8)
- ခရီးသြားျခင္း (5)
- စားဝတ္ေနေရး (8)
- စာေပ၊ ယဥ္ေက်းမႈ (5)
- စီးပြား၊ကုန္သြယ္ (32)
- စုိက္ပ်ဳိးေရး (6)
- ဓမၼ - ဂမၺီရ (5)
- မိုးေလဝသ (1)
- ျပည္ျမန္မာ (13)
- လူမႈဘဝ (8)
- သိပၸံႏွင္႔နည္းပညာ (16)
- သီခ်င္းမ်ား (2)
- အေတြးအျမင္ (6)
- အေထြေထြ (8)
- ေဒသသတင္း (24)
- ေရလုပ္ငန္း (14)
- ႏိုင္ငံေရး (11)
Contact to Blogmaster at kawthaung@gmail.com
Vistors Stats
Sunday, July 22, 2007
เยือนไทยพลัดถิ่นในพม่า --> วันแห่งการรอคอย
Labels: พม่า, ระีนอง - เกาะสอง
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Kawthaung Glimpse 2008
Blog Archive
-
▼
2007
(201)
-
▼
July
(42)
- Martyrs' Day - Fading Memories
- Tropical Cool: How cold that night sky
- คุณลักษณะของผีไว้เป็น Standard Night Time Ghost หร...
- เมื่อจีนร่ำรวย ไฉนจึงมาเกี่ยวกับค่าเงินบาทไทย?
- ျမဝတီနယ္စပ္ကဏန္းအေရာင္းကုန္စည္ဒိုင္ဖြင့္လွစ္ရန္ စီစဥ္
- ပုိႛကုန္သၾင္းကုန္လုပ္ငန္း ရႀင္ မဵားအေနဴဖင့္ နယ္စပ္...
- Just Fun
- Evidence of Global Warming
- เยือนไทยพลัดถิ่นในพม่า --> คนไทยในมะลิวัลย
- เยือนไทยพลัดถิ่นในพม่า --> วันแห่งการรอคอย
- เยือนไทยพลัดถิ่นในพม่า
- All about blood
- Top Antivirus Performers
- Hacker hack Thailand MICT Page, replaced with Ex-P...
- ผลสำรวจสมาคมนักวิเคราะห์ฯ เชื่อมั่นเพิ่มดัชนีหุ้นถ...
- စမ္းသပ္ခဲ့မႈအရ ျမန္မာ့ ပင္လယ္ျပင္တြင္ ငၝးမဵားအား တ...
- ေကာ့ေသာင္းနယ္စပ္ကုန္သြယ္ေရးစခန္း၏ ကုန္သြယ္မႈပမာဏႏႈ...
- ေမာင္ေတာေဒသ ငါးပုစြန္ဒုိင္လုပ္ငန္းအေၾကာင္းတစ္ေစ့တစ...
- ေကာ့ေသာင္းမွာလည္း ငါးေလလံေစ်းႀကီးဖြင့္ေတာ့မည္
- ประโยคภาษาอังกฤษสนุกๆ ที่คนไทยมักพูดผิด
- ลงทุนช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น
- ေၾကာက္တယ္ဆုိတာ
- အာရွစီးပြားေရး အၾကပ္အတည္း ၁၀နွစ္ျပည့္ အေျခအေန
- အေရွ႕ေတာင္အာရွမွာ ေရြးေကာက္ပြဲက်င္းပေပးရင္ ဒီမိုကေ...
- ေသြးကုိ ေျပာင္းႏုိင္ေတာ့မည္။
- ဆယ္လီနီယံ သတၱဳဓါတ္ ေန႔စဥ္စားသံုးလွ်င္ HIV ပိုးတားဆ...
- သံုးနွစ္အတြင္း ေနေရာင္ျခည္စြမ္းအင္ကုိ လူတိုင္း သံု...
- Yahoo! နဲ႔ MSN တုိ႔ လုိက္မမီတဲ့ Google
- Hay Fever
- ကုမၼဏီက က်င္းပတဲ့ ကြန္ဒံုးလက္ေတြ႔စမ္းသပ္ပြဲ ေလွ်ာက...
- Good Paid Career Directions
- ဂမၺီရ - ေရေမ်ာတုံး
- ဂမၺီရ - ငါးလူလိမ္
- ဂမၺီရ - ေရငန္ပိုင္
- Hypertention Measurement Instruments Problem
- Hypertention or High Blood Pressure
- Kawthaung Travel Essay by Nation Writer
- Andaman Tsunami Simulation Model, Case Study
- တရုတ္ျပည္တြင္းထုတ္ပစၥည္း ၁၉.၁ ရာခုိင္နႈန္း အဆင့္မမ...
- Andaman Club เยือนเกาะสน ยลเกาะสอง 1
- ေရပိုင္နက္ေက်ာ္လာသည့္ ထိုင္းငါးဖမ္းေလွကို ျမန္မာတပ...
- အခြန္စည္းမ်ဥ္းသစ္ေၾကာင့္ ေကာ့ေသာင္း ေရလုပ္ငန္းအခက္...
-
▼
July
(42)
Visitors
Visitor Link
Misc Synopsis
- ကံေကာင္းေသာ လူငယ္မ်ားသည္ သူ႔ဘဝတြင္ "ဘယ္စာကိုဖတ္၊ ဘယ္စာကို မဖတ္နဲ႔" ဟူေသာ အၾကံေပးခ်က္မ်ိဳး ရ႐ွိခဲ့၏။ ကံဆိုးေသာ လူငယ္မ်ားသည္ ဘာအၾကံေပးခ်က္မွ မရွိပါ။ ထိုအမ်ိဳးအစားထဲမွ စိတ္ဓာတ္အင္အား ျပည့္စံုေသာ လူငယ္မ်ား၊ ႀကိဳးစားလိုေသာ လူငယ္မ်ား၊ ႐ွာေဖြစူးစမ္းလိုေသာ လူငယ္မ်ားသည္ မည္သူ႔အကူအညီမွ် မပါဝင္ဘဲ မိမိတို႔ဘာသာ သင့္ေတာ္ရာရာကို ေ႐ြးခ်ယ္ သြားတတ္ၾကသည္။ တခ်ိဳ႔ကေတာ့ သူတို႔ ဘာကိုလိုခ်င္မွန္း သူတို႔ကိုယ္တိုင္ မသိသူမ်ား ျဖစ္ၾကပါသည္။ ေလာကတြင္ မိမိဘာ လိုခ်င္သည္ဟု မွန္ကန္စြာသိ၍ မိမိ လိုခ်င္ေသာ အရာကို ရေအာင္ယူႏိုင္ေသာ လူငယ္မ်ားလည္း ႐ွိၾကသည္။ လူတေယာက္ မိမိဘဝတြင္ ဘာလိုခ်င္သည္ ဟု အတိအက် သိလာ ရန္ စာအုပ္မ်ားစြာက တြန္းအားေပးႏိုင္သည္ဟု ကြၽန္မ ထင္ပါသည္။ ဂ်ဴး
- ဂန္ဘာရီနဲ ့နအဖ တို ့ရဲ ့ကေလးကလား လုပ္ရပ္မ်ား - နဖအ က ေဒၚစုကို ေနအိမ္မွာအက်ယ္ခ်ဳပ္ခ်ထားတာ တကမၻာလံုးသိပါတယ္။ ဘယ္လိုေနအိမ္မွာအက်ယ္ခ်ဳပ္ခ်ထားလဲဆိုရင္ အိမ္ေရွ ့တခါးကိုေသာ့နဲ ့ခတ္ထားတယ္။ ေဒၚစုျခံ၀န္းထဲမွာ စစ္တပ္ခ်ထားတယ္။ ေဒၚစုကို ေတြ ့ခ်င္တယ္တဲ့သူေတြက သူတို ့က ၀င္ေစဆိုတဲ့အမိန္ ့ရမွာ၀င္လို ့ရတယ္။ ေဒၚစု ရဲ က်မာေရးကို တာ၀န္ခံထားတဲ့ေဒါက္တာတင္မ်ိဳး၀င္းေတာင္ ၀င္ေတြ ့ျခင္တိုင္း၀င္ေတြ ့လို ့မရဘူး။ သန္းေရြ ရဲ ့ခြင့္ျပဳခ်က္ရမွေဒၚစုကိုေတြ ့ခြင့္ရတယ္။ ေဒၚစုေရွ ေနက ေဒၚစုကို ေတြ ့ျခင္တိုင္းေတြ ့လို ့မရဘူး။ အန္အဲလ္ဒီစီအီစီ ဆိုရင္လည္း ေဒၚစုကို အိမ္မွာေတာင္ေတြ ့ခြင့္မရၾကဘူး။ ဒီလို အေျခအေနမ်ိဳးမွာ ဂန္ဘာရီ ကိုယ္စားလွယ္နဲ ့ နအဖ ကိုယ္စားလွယ္က ေဒၚစုအိမ္ေရွ ့ကိုသြားျပီး ေဒၚေအာင္ဆန္းစုၾကည္ ဂန္ ဘာရီက ေတြ ့ျခင္လို ့ပါလို ့ အိမ္ေရွ ့ကေန ေလာစပီကာနဲ ့သြားေအာ္ေနတာ အေတာ့ကို ကေလးကလားဆန္ျပီ အရူးထတဲ့လုပ္ရပ္ျဖစ္ပါတယ္။ က်ေနာ္ေမးျခင္တာက သူတို ့မွာ ေဒၚစုအိမ္ကိုခတ္ထားတဲ့ေသာ့ရိွရဲ ့သားနဲ ့ဖြင့္ျပီး ၀င္သြားလိုက္ၾကပါလား။ အိမ္ကိုေသာ့ခတ္ထားတဲ့သူက တခါးဖြင့္ေပးပါလို ့ေအာ္ေနတာကေတာ့ အေတာကိုညဏ္နည္းလွၾကပါတယ္။ Ko Moe Thee Blog
- အဲဒီသ၀ဏ္လႊာနဲ႔ ပတ္သက္ၿပီး မေလးရွား၀န္ႀကီးခ်ဳပ္ ဘာဒါ၀ီက ျမန္မာႏိုင္ငံအေနနဲ႔ အာဆီယံရဲ႕ ျပည္တြင္း ေရး မစြက္ဖက္ေရးမူကို အကာအကြယ္မယူသင့္ဘူးလို႔ မိန္႔ခြန္းမွာ ထည့္သြင္းေျပာၾကားသြားပါတယ္။ ဒါ့အျပင္ အာဆီယံရဲ႕ အဓိကအဖြဲ႔၀င္ႏိုင္ငံျဖစ္တဲ့ မေလးရွားႏိုင္ငံက အဖြဲ႔ႀကီးရဲ႕ အဓိကမူတရပ္ျဖစ္တဲ့ ျပည္တြင္းေရး မစြက္ဖက္ေရးမူကို ျပန္လည္အနက္အဓိပၸၸၸၸၸါယ္ ဖြင့္ဆိုသင့္ၿပီလို႔ ေျပာၾကားခဲ့ပါတယ္။ / Dr.LwanSwe
- ရွစ္ေလးလံုး အေရးအခင္းနဲ႔အတူ နာဂစ္မုန္တိုင္းအေပၚ စစ္အစိုးရ တံု႔ျပန္မႈဟာ ျမန္မာႏိုင္ငံတြင္း မွာရွိတဲ့ အႀကီးမားဆံုး လူ႔အခြင့္အေရး ခ်ိဳးေဖာက္မႈေတြရဲ႕ “နိဂံုး” ျဖစ္မယ္လုိ႔ လူအမ်ားစုက ေမွ်ာ္ လင့္ထားၾကတယ္။ ဒါေပမယ့္ နိဂံုးျဖစ္ျဖစ္၊ မျဖစ္ျဖစ္ ဒီတႀကိမ္ေတာ့ ျမန္မာ့အေရးဟာ ျမန္မာ ႏိုင္ငံသားေတြ (“၈၈မ်ိဳးဆက္” ေက်ာင္းသားေတြဟာ ရဲ၀ံ့စြာနဲ႔ ေရွ႕ကေန ဦးေဆာင္ေနတယ္) တင္ မကေတာ့ဘူး ကုလသမဂၢ လံုျခံဳေရးေကာင္စီနဲ႔ ျမန္မာႏိုင္ငံရဲ႕ အာရွအိမ္နီးခ်င္းႏိုင္ငံေတြရဲ႕ ႏိုင္ငံေရး ဆႏၵေပၚမွာလည္း မူတည္ေနပါတယ္။ အႏွစ္ (၂၀) ဆိုတာ ရွည္လ်ားတဲ့ အခ်ိန္ကာလ ျဖစ္ေပမယ့္ သိပ္ေတာ့ ေနာက္မက်ေသးပါဘူး။ / New Era Journal
- Failed States Index 2008 - အားလံုးေပါင္း ၁၂ ခုရွိတဲ့ စံညႊန္းေတြထဲမွာ ျမန္မာႏိုင္ငံဟာ လူ႔အခြင့္အေရးစံညႊန္းမွာ အဖိႏွိပ္ခံရဆံုး တဖက္စြန္းမွာေရာက္ေနၿပီး ျပည္ပစြက္ဖက္မႈမွာေတာ့ အေစာကေရးသလို အနည္းဆံုးပါ၊ ဒီႏွစ္ခုက အမ်ားဆံုး နဲ႔ အနည္းဆံုး အစြန္းႏွစ္ဖက္ ေရာက္ေနတာကလြဲလို႔ က်န္တာေတြက ထိပ္ဆံုးမေရာက္တေရာက္မွာ။ ၂၀၀၅ တုန္းက ထိပ္ဆံုး ၂၀ ထဲမွာ ျမန္မာမပါဘူး၊ ၂၀၀၆ က်ေတာ့ နံပါတ္ ၁၈ နဲ႔ အေရွ႔တက္လာတယ္၊ ၂၀၀၇ မွာ အဆင့္ ၁၄၊ ေဟာ၊ အခု ၂၀၀၈ မွာ အဆင့္ ၁၂ ျဖစ္သြားၿပီ။ ဒီလို တႏိုင္ငံလံုးခ်ီၿပီး ညံ့ဖ်င္းေနတာ ဦးေဆာင္လမ္းျပေနတဲ့ေခါင္းေဆာင္ တာဝန္မကင္းဘူး၊ ဒါေၾကာင့္ ႏိုင္ငံေတြစာရင္းအျပင္ ေခါင္းေဆာင္ေတြရဲ့ စာရင္းကိုလည္း ျပဳစုထုတ္ျပန္ထားတယ္။ Degolar
0 comments:
Post a Comment