Sunday, July 22, 2007

เยือนไทยพลัดถิ่นในพม่า

Pagoda, India Buddhagaya style at Thai Monastry, Maliwan, Kawthaung






ปัจจุบันเรามีหนังสือ ภาพยนตร์ สารคดีเกี่ยวกับพม่าไม่น้อยแต่เรื่องราวไทยพลัดถิ่นในดินแดนดังกล่าวแทบไม่มีใครกล่าวถึง การไม่กล่าวถึง จึงเป็นที่มาของการเยือน

เราวางแผนเดินทางสู่พม่ามานาน แต่ประสบปัญหาหลายประการ นับตั้งแต่วีซ่า เวลาที่ลงตัว ความปลอดภัย แต่สุดท้าย เรากำหนดเดินทาง ๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ และกลับออกมา ๖ ตุลาคมเดือนเดียวกัน

ใน ๕ วัน เราวางแผนจะไป ๗-๘ แห่ง และยึดแบบแผนการเดินทางในไทยเป็นหลัก เรากางแผนที่ แลเห็นเส้นทางหลวงสีแดงต่อเนื่องจากเกาะสอง (Kawthaung) มะลิวัลย์ (Maliwan) ตลาดสุหรี (Karathuri) ปกเปี้ยน (Bokpyin) ลังเคี๊ยะหรือเล็งย่า (Lenya) สิงขรหรือเทียนขุน (Theinkun) ตะนาวศรี (Tenessarim) และมะริด (Mergui) เราจึงวางแผนว่าจะเหมารถขึ้นไปแล้ววิ่งย้อนกลับ หรือไม่ก็บินไปมะริดและนั่งรถไล่ลงมาจนถึงเกาะสอง ใน ๗-๘ แห่งนี้ เรารู้โดยแน่ชัดว่า พื้นที่ที่มีไทยพลัดถิ่นอาศัยอยู่ คือ มะลิวัลย์ ตลาดสุหรี ปกเปี้ยน เล็งย่า สิงขรและตะนาวศรี

พื้นที่ทั้งหมดอยู่ในมณฑลตะนาวศรีหรือตะนิ้นตายี (Tanintharyi Division) ตะนิ้นตายีแบ่งเป็น ๓ อำเภอ คือ เกาะสอง (Kawthaung District) พื้นที่ครอบคลุมเกาะสอง มะลิวัลย์ ตลาดสุหรี ปกเปี้ยนและลังเคี๊ยะ รวมถึงหมู่บ้านไทยมุสลิม เช่น อ่าวบ้า อ่าวจีน อ่าวใหญ่ ช้างพัง เกาะซุนตง ๑๐ ไมล์ แหลมแรต แมะปูเตะ สองอำเภอมะริดหรือเม็ค (Myeik District) ครอบคลุมพื้นที่ เช่น เมืองปะลอ (Palaw) เมืองมะริด เมืองตะนาวศรี และตำบลสิงขร ที่ไทยพลัดถิ่นในฝั่งไทยแจ้งว่า “เป็นพื้นที่ของคนไทย เป็นไทยทั้งตำบล” และสามอำเภอทวาย ครอบคลุมพื้นที่ เช่น เมืองทวาย (Dewe Diastrict) เมืองทะเยฉวง (Thayetchung) และเยบะยู (Yebyu)

0 comments:

Template by : kendhin x-template.blogspot.com