Wednesday, 18 July 2007
ผลการสำรวจครั้งที่ 3/2550 ของสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ พบว่านักวิเคราะห์มีมุมมองที่ดีขึ้นสำหรับการลงทุนในช่วงกลางกรกฎาคม - ธันวาคม 2550 โดยนายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมฯ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์ล่าสุด เทียบกับผลสำรวจครั้งก่อนเมื่อ 20 เม.ย. 2550 เกี่ยวกับแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นช่วงครึ่งหลังของปีนี้
โดยนักวิเคราะห์ปรับประมาณการผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนทั้งปีเติบโตดีขึ้น โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 4.6 จากร้อยละ 3.2 ในการสำรวจครั้งก่อนหน้า ในขณะที่ตัวเลขคาดการณ์ทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดย GDP Growth เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 4.3 จากร้อยละ 4 นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ณ ปลายปี 2550 ไว้ที่เฉลี่ย 880 จุด จากระดับ 731 จุด กลุ่มธุรกิจที่แนะนำให้ลงทุนคือ กลุ่มธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ และพลังงาน รวมทั้งเชื่อว่านักลงทุนต่างชาติจะยังคงเป็นผู้ซื้อสุทธิต่อเนื่อง
สมาคมนักวิเคราะห์ฯ ได้สำรวจความเห็นนักวิเคราะห์เกี่ยวกับแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นในช่วงกลางกรกฎาคม - ธันวาคม 2550 ทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่มีอิทธิพลต่อการลงทุนในตลาดหุ้น ความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ข้อเสนอแนะให้กับรัฐบาล แนวโน้มอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน คาดการณ์อัตราการขยายตัวของกำไรต่อหุ้นของบริษัทในกลุ่มธุรกิจสำคัญ กลุ่มธุรกิจและหุ้นที่แนะนำให้ลงทุน คาดการณ์การซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ และคำแนะนำให้นักลงทุน รวมไปถึงความเห็นเกี่ยวกับกำหนดเวลาเลือกตั้ง การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ และกลุ่มบุคคลที่นักวิเคราะห์อยากเชิญชวนให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยมีสำนักวิจัยจากบริษัทหลักทรัพย์แสดงความเห็นรวม 19 แห่ง
ปัจจัยบวกที่สำคัญต่อการลงทุนในตลาดหุ้นช่วงกลางเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2550 :
อันดับแรก ที่นักวิเคราะห์ร้อยละ 84 เห็นตรงกัน คือ ปัจจัยทางด้านการเมือง เกี่ยวกับการลงประชามติผ่านร่างรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งที่เป็นไปตามกำหนด
อันดับที่สอง มีผู้ตอบร้อยละ 79 คือ กระแสเงินไหลเข้า โดยมีเงินทุนจากต่างชาติไหลเข้าต่อเนื่อง
อันดับที่สาม คือ ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน ที่มีการเติบโตดีขึ้น มีผู้ตอบร้อยละ 58
สำหรับปัจจัยบวกอื่น ๆ ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อัตราดอกเบี้ยที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ เป็นต้น
ปัจจัยลบที่สำคัญ :
อันดับแรก นักวิเคราะห์ร้อยละ 79 มองตรงกันว่า คือ ค่าเงินบาทที่แข็งค่า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกในระยะถัดไป
อันดับสอง มีผู้ตอบร้อยละ 74 คือ ปัจจัยทางการเมือง ซึ่งรวมถึง ความไม่แน่นอนทางการเมืองซึ่งเกิดจากความเสี่ยงที่ร่างรัฐธรรมนูญอาจไม่ผ่านประชามติ และอาจทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปตามกำหนด และก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นได้
อันดับที่สาม มีผู้ตอบร้อยละ 42 คือ ราคาน้ำมัน ที่อยู่ในระดับสูง
ยังมีปัจจัยลบอื่น ๆ ที่นักวิเคราะห์บางรายกล่าวถึง ได้แก่ ปัจจัยจากต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐสำหรับลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูง (US subprime) อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่นที่อาจปรับขึ้น ความผันผวนของตลาดหุ้นต่างประเทศ เป็นต้น
จากผลสำรวจความเชื่อมั่นของนักวิเคราะห์ในการบริหารงานของรัฐบาลปัจจุบันสำหรับระยะครึ่งปีหลังเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 พบว่า ในด้านเศรษฐกิจ นั้น นักวิเคราะห์ร้อยละ 67 มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยมีนักวิเคราะห์จำนวนเท่ากันที่ร้อยละ 17 มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมากและเชื่อมั่นเท่าเดิม สำหรับในด้านสังคมและการเมือง นักวิเคราะห์ร้อยละ 50 เชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยมีร้อยละ 33 เชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมาก และมีความเชื่อมั่นเท่าเดิม ร้อยละ 17
มาตรการสำคัญที่นักวิเคราะห์เสนอแนะให้รัฐบาลทั้งชุดปัจจุบันและชุดหน้า ดำเนินการเพื่อประโยชน์ของเศรษฐกิจโดยรวม อันดับแรก คือ มาตรการด้านเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงการเร่งดำเนินโครงการขนาดใหญ่ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค และเร่งการใช้จ่ายภาครัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมีผู้ตอบร้อยละ 71 อันดับที่สอง มีผู้ตอบร้อยละ 29 คือ มาตรการส่งเสริมการลงทุน โดยแนะรัฐให้ออกมาตรการกระตุ้นการลงทุน รวมทั้งมีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการลงทุนของต่างชาติ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน นักวิเคราะห์อีกร้อยละ 24 ยังแนะให้รัฐบาลมี มาตรการเกี่ยวกับค่าเงินบาท เป็นอันดับสาม โดยควรดำเนินนโยบายเกี่ยวกับค่าเงินบาทอย่างรอบคอบ ระมัดระวังและลดความผันผวนของค่าเงิน
จากการที่รัฐบาลคาดการณ์วันเลือกตั้งไว้ภายในปลายปีนี้นั้น นักวิเคราะห์ร้อยละ 56 ของที่ตอบแบบสอบถาม เชื่อว่าจะเป็นไปตามที่คาดการณ์ ในขณะที่ร้อยละ 44 มองว่าการเลือกตั้งอาจมีการเลื่อนออกไปเป็นมกราคม – กุมภาพันธ์ 2551
ทั้งนี้ หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติที่จะมีขึ้นประมาณกลางเดือนสิงหาคมนี้ สมาคมนักวิเคราะห์ฯ พบว่า นักวิเคราะห์ร้อยละ 90 คิดว่าจะมีผลกระทบทางลบต่อทิศทางราคาหุ้น เนื่องจากจะทำให้การเลือกตั้งล่าช้าออกไป ทำให้เกิดความไม่แน่นอนและอาจมีความวุ่นวายเกิดขึ้น
สมาคมนักวิเคราะห์ฯ ยังได้สำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ถึงกลุ่มบุคคลที่อยากให้ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งหน้านี้เพื่อประโยชน์ของประเทศ และพบว่านักวิเคราะห์อยากให้มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งกระจายอยู่ครอบคลุมทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองอาชีพ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและการเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ นักธุรกิจ นักบริหารยุคใหม่ที่มีวิสัยทัศน์ รวมไปถึงผู้แทนจากกลุ่มเกษตรกรหรือระดับรากหญ้า
จากการสำรวจครั้งนี้ สมาคมนักวิเคราะห์ฯ พบว่า นักวิเคราะห์มีการปรับประมาณการตัวเลขต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่จากการสำรวจเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยตัวเลขสำคัญสำหรับทั้งปี 2550 คือ อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ หรือ GDP Growth เฉลี่ยอยู่ที่ 4.3% สูงขึ้นจากเดือนเมษายนซึ่งอยู่ที่ 4.0% ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน หรือ EPS Growth เฉลี่ยก็ปรับขึ้นจากเดิม 3.2% เป็น 4.6%
สำหรับตัวเลขสำคัญ ณ สิ้นปี 2550 นักวิเคราะห์คาดว่า ค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นกว่าที่ประมาณการไว้เดิม โดยอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและดอลลาร์สรอ. ณ สิ้นปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 34 บาท จากเดิมที่คาดไว้ 35.2 บาท สำหรับอัตราดอกเบี้ย RP 1 วัน ในปลายปีนี้ นักวิเคราะห์คาดว่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 3.3% ซึ่งต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้เล็กน้อย ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ หรือ SET Index สิ้นปีนี้เฉลี่ยน่าจะปรับตัวสูงขึ้นมาก คือ อยู่ที่ 880 จุด จากเดิม 731 จุด โดยมีสำนักวิจัยที่พยากรณ์ดัชนีสิ้นปีสูงสุดที่ 950 จุดและสำนักวิจัยที่คาดการณ์ดัชนีวันสิ้นปีไว้ต่ำที่สุดที่ 740 จุด นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังคาดว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ณ ปลายปีหน้า 2551 น่าจะปรับตัวสูงขึ้นต่อไปอยู่ที่เฉลี่ย 1,033 จุด
ตารางที่ 1 - ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจ
ค่าเฉลี่ย ตัวเลขของผู้คาดการณ์สูงสุด ตัวเลขของผู้คาดการณ์ต่ำสุด จำนวนสำนักวิจัยที่ตอบ
สำรวจ ณ 20 เมย.50 สำรวจ ณ 13 กค.50 สำรวจ ณ 20 เมย.50 สำรวจ ณ13 กค.50 สำรวจ ณ 20 เมย.50 สำรวจ ณ13 กค.50 สำรวจ ณ 20 เมย.50 สำรวจ ณ13 กค.50
รวมทั้งปี 2550
GDP Growth 4.0 4.3 4.6 5 3.7 3.9 20 19
EPS Growth 3.2 4.6 13.0 10.9 -7.3 -3.5 17 18
ณ สิ้นปี 2550
SET Index 731 880 770 950 700 740 22 18
FOREX Bht:US$ 35.2 34 36.5 35 34 32.5 21 18
ดอกเบี้ย RP 1 วัน 3.5 3.3 4.0 3.5 3 3 21 18
ณ สิ้นปี 2551
SET Index - 1,033 - 1,200 - 920 - 14
ในส่วนของผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในปีนี้ ประเมินจากอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS Growth) ของกลุ่มธุรกิจสำคัญ จากผลที่ได้จากแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ยังคงมีอัตราการเติบโตสูงสุด โดยมีค่าเฉลี่ย EPS Growth ที่ร้อยละ 34.5 อันดับสองคือ ธนาคาร เติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 14.7 อันดับต่อมาคือ กลุ่มปิโตรเคมี เติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 11.1
ตารางที่ 2 - EPS Growth (%) แยกตามกลุ่มธุรกิจ
กลุ่มธุรกิจ ค่าเฉลี่ย จำนวนสำนักวิจัยที่ตอบ
อสังหาริมทรัพย์ 34.5 14
ธนาคาร 14.7 14
ปิโตรเคมี 11.1 14
เดินเรือ 4.5 11
วัสดุก่อสร้าง 1.2 15
นักวิเคราะห์ที่ตอบแบบสอบถามเกือบทั้งหมด คือร้อยละ 95 มองว่าในครึ่งหลังของปีนี้ นักลงทุนต่างชาติจะยังคงซื้อสุทธิต่อเนื่องจากกลางกรกฎาคม โดยมีเหตุผลหลักคือ ราคาหุ้นไทยยังถูกเมื่อเทียบกับตลาดอื่นในภูมิภาค ประกอบกับมีกระแสเงินไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย
GoogleCyberSearch
Shared Items
Labels
- ႐ႊင္ျမဴးစရာ (3)
- Agri and Fishery (11)
- Art and Literature (2)
- Dhamma - Beliefs (7)
- Earth-Weather-Travel (8)
- Economy-Business-Finance (22)
- Energy (4)
- Fun/Humor (10)
- General (1)
- Health (3)
- History - Politics (11)
- Ideas - Opinions (6)
- IT (22)
- Life Style (7)
- Local (21)
- Society - Community (1)
- Technology (14)
- Travel (4)
- การเกษตร (2)
- ขำขัน (8)
- ท่องเทียว (4)
- เทคโนโลยี (11)
- เทคโนโลยี-วิทยาศาสตร์ (3)
- ธุรกิจ (4)
- บ้า้นและครอบครัว (1)
- ประวัติศาสตร์ (2)
- ปรัชญา - ธรรมะ (10)
- พม่า (11)
- พลังงาน (5)
- ระีนอง - เกาะสอง (25)
- เศรษฐกิจ (10)
- สังคม (9)
- สัตว์น้ำและอาหารทะเล (10)
- สุขภาพ - อาหาร (12)
- ကမၻာေျမ (2)
- က်န္းမာေရး (8)
- ခရီးသြားျခင္း (5)
- စားဝတ္ေနေရး (8)
- စာေပ၊ ယဥ္ေက်းမႈ (5)
- စီးပြား၊ကုန္သြယ္ (32)
- စုိက္ပ်ဳိးေရး (6)
- ဓမၼ - ဂမၺီရ (5)
- မိုးေလဝသ (1)
- ျပည္ျမန္မာ (13)
- လူမႈဘဝ (8)
- သိပၸံႏွင္႔နည္းပညာ (16)
- သီခ်င္းမ်ား (2)
- အေတြးအျမင္ (6)
- အေထြေထြ (8)
- ေဒသသတင္း (24)
- ေရလုပ္ငန္း (14)
- ႏိုင္ငံေရး (11)
Contact to Blogmaster at kawthaung@gmail.com
Vistors Stats
Friday, July 20, 2007
ผลสำรวจสมาคมนักวิเคราะห์ฯ เชื่อมั่นเพิ่มดัชนีหุ้นถึง 880 จุดปลายปี
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Kawthaung Glimpse 2008
Blog Archive
-
▼
2007
(201)
-
▼
July
(42)
- Martyrs' Day - Fading Memories
- Tropical Cool: How cold that night sky
- คุณลักษณะของผีไว้เป็น Standard Night Time Ghost หร...
- เมื่อจีนร่ำรวย ไฉนจึงมาเกี่ยวกับค่าเงินบาทไทย?
- ျမဝတီနယ္စပ္ကဏန္းအေရာင္းကုန္စည္ဒိုင္ဖြင့္လွစ္ရန္ စီစဥ္
- ပုိႛကုန္သၾင္းကုန္လုပ္ငန္း ရႀင္ မဵားအေနဴဖင့္ နယ္စပ္...
- Just Fun
- Evidence of Global Warming
- เยือนไทยพลัดถิ่นในพม่า --> คนไทยในมะลิวัลย
- เยือนไทยพลัดถิ่นในพม่า --> วันแห่งการรอคอย
- เยือนไทยพลัดถิ่นในพม่า
- All about blood
- Top Antivirus Performers
- Hacker hack Thailand MICT Page, replaced with Ex-P...
- ผลสำรวจสมาคมนักวิเคราะห์ฯ เชื่อมั่นเพิ่มดัชนีหุ้นถ...
- စမ္းသပ္ခဲ့မႈအရ ျမန္မာ့ ပင္လယ္ျပင္တြင္ ငၝးမဵားအား တ...
- ေကာ့ေသာင္းနယ္စပ္ကုန္သြယ္ေရးစခန္း၏ ကုန္သြယ္မႈပမာဏႏႈ...
- ေမာင္ေတာေဒသ ငါးပုစြန္ဒုိင္လုပ္ငန္းအေၾကာင္းတစ္ေစ့တစ...
- ေကာ့ေသာင္းမွာလည္း ငါးေလလံေစ်းႀကီးဖြင့္ေတာ့မည္
- ประโยคภาษาอังกฤษสนุกๆ ที่คนไทยมักพูดผิด
- ลงทุนช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น
- ေၾကာက္တယ္ဆုိတာ
- အာရွစီးပြားေရး အၾကပ္အတည္း ၁၀နွစ္ျပည့္ အေျခအေန
- အေရွ႕ေတာင္အာရွမွာ ေရြးေကာက္ပြဲက်င္းပေပးရင္ ဒီမိုကေ...
- ေသြးကုိ ေျပာင္းႏုိင္ေတာ့မည္။
- ဆယ္လီနီယံ သတၱဳဓါတ္ ေန႔စဥ္စားသံုးလွ်င္ HIV ပိုးတားဆ...
- သံုးနွစ္အတြင္း ေနေရာင္ျခည္စြမ္းအင္ကုိ လူတိုင္း သံု...
- Yahoo! နဲ႔ MSN တုိ႔ လုိက္မမီတဲ့ Google
- Hay Fever
- ကုမၼဏီက က်င္းပတဲ့ ကြန္ဒံုးလက္ေတြ႔စမ္းသပ္ပြဲ ေလွ်ာက...
- Good Paid Career Directions
- ဂမၺီရ - ေရေမ်ာတုံး
- ဂမၺီရ - ငါးလူလိမ္
- ဂမၺီရ - ေရငန္ပိုင္
- Hypertention Measurement Instruments Problem
- Hypertention or High Blood Pressure
- Kawthaung Travel Essay by Nation Writer
- Andaman Tsunami Simulation Model, Case Study
- တရုတ္ျပည္တြင္းထုတ္ပစၥည္း ၁၉.၁ ရာခုိင္နႈန္း အဆင့္မမ...
- Andaman Club เยือนเกาะสน ยลเกาะสอง 1
- ေရပိုင္နက္ေက်ာ္လာသည့္ ထိုင္းငါးဖမ္းေလွကို ျမန္မာတပ...
- အခြန္စည္းမ်ဥ္းသစ္ေၾကာင့္ ေကာ့ေသာင္း ေရလုပ္ငန္းအခက္...
-
▼
July
(42)
Visitors
Visitor Link
Misc Synopsis
- ကံေကာင္းေသာ လူငယ္မ်ားသည္ သူ႔ဘဝတြင္ "ဘယ္စာကိုဖတ္၊ ဘယ္စာကို မဖတ္နဲ႔" ဟူေသာ အၾကံေပးခ်က္မ်ိဳး ရ႐ွိခဲ့၏။ ကံဆိုးေသာ လူငယ္မ်ားသည္ ဘာအၾကံေပးခ်က္မွ မရွိပါ။ ထိုအမ်ိဳးအစားထဲမွ စိတ္ဓာတ္အင္အား ျပည့္စံုေသာ လူငယ္မ်ား၊ ႀကိဳးစားလိုေသာ လူငယ္မ်ား၊ ႐ွာေဖြစူးစမ္းလိုေသာ လူငယ္မ်ားသည္ မည္သူ႔အကူအညီမွ် မပါဝင္ဘဲ မိမိတို႔ဘာသာ သင့္ေတာ္ရာရာကို ေ႐ြးခ်ယ္ သြားတတ္ၾကသည္။ တခ်ိဳ႔ကေတာ့ သူတို႔ ဘာကိုလိုခ်င္မွန္း သူတို႔ကိုယ္တိုင္ မသိသူမ်ား ျဖစ္ၾကပါသည္။ ေလာကတြင္ မိမိဘာ လိုခ်င္သည္ဟု မွန္ကန္စြာသိ၍ မိမိ လိုခ်င္ေသာ အရာကို ရေအာင္ယူႏိုင္ေသာ လူငယ္မ်ားလည္း ႐ွိၾကသည္။ လူတေယာက္ မိမိဘဝတြင္ ဘာလိုခ်င္သည္ ဟု အတိအက် သိလာ ရန္ စာအုပ္မ်ားစြာက တြန္းအားေပးႏိုင္သည္ဟု ကြၽန္မ ထင္ပါသည္။ ဂ်ဴး
- ဂန္ဘာရီနဲ ့နအဖ တို ့ရဲ ့ကေလးကလား လုပ္ရပ္မ်ား - နဖအ က ေဒၚစုကို ေနအိမ္မွာအက်ယ္ခ်ဳပ္ခ်ထားတာ တကမၻာလံုးသိပါတယ္။ ဘယ္လိုေနအိမ္မွာအက်ယ္ခ်ဳပ္ခ်ထားလဲဆိုရင္ အိမ္ေရွ ့တခါးကိုေသာ့နဲ ့ခတ္ထားတယ္။ ေဒၚစုျခံ၀န္းထဲမွာ စစ္တပ္ခ်ထားတယ္။ ေဒၚစုကို ေတြ ့ခ်င္တယ္တဲ့သူေတြက သူတို ့က ၀င္ေစဆိုတဲ့အမိန္ ့ရမွာ၀င္လို ့ရတယ္။ ေဒၚစု ရဲ က်မာေရးကို တာ၀န္ခံထားတဲ့ေဒါက္တာတင္မ်ိဳး၀င္းေတာင္ ၀င္ေတြ ့ျခင္တိုင္း၀င္ေတြ ့လို ့မရဘူး။ သန္းေရြ ရဲ ့ခြင့္ျပဳခ်က္ရမွေဒၚစုကိုေတြ ့ခြင့္ရတယ္။ ေဒၚစုေရွ ေနက ေဒၚစုကို ေတြ ့ျခင္တိုင္းေတြ ့လို ့မရဘူး။ အန္အဲလ္ဒီစီအီစီ ဆိုရင္လည္း ေဒၚစုကို အိမ္မွာေတာင္ေတြ ့ခြင့္မရၾကဘူး။ ဒီလို အေျခအေနမ်ိဳးမွာ ဂန္ဘာရီ ကိုယ္စားလွယ္နဲ ့ နအဖ ကိုယ္စားလွယ္က ေဒၚစုအိမ္ေရွ ့ကိုသြားျပီး ေဒၚေအာင္ဆန္းစုၾကည္ ဂန္ ဘာရီက ေတြ ့ျခင္လို ့ပါလို ့ အိမ္ေရွ ့ကေန ေလာစပီကာနဲ ့သြားေအာ္ေနတာ အေတာ့ကို ကေလးကလားဆန္ျပီ အရူးထတဲ့လုပ္ရပ္ျဖစ္ပါတယ္။ က်ေနာ္ေမးျခင္တာက သူတို ့မွာ ေဒၚစုအိမ္ကိုခတ္ထားတဲ့ေသာ့ရိွရဲ ့သားနဲ ့ဖြင့္ျပီး ၀င္သြားလိုက္ၾကပါလား။ အိမ္ကိုေသာ့ခတ္ထားတဲ့သူက တခါးဖြင့္ေပးပါလို ့ေအာ္ေနတာကေတာ့ အေတာကိုညဏ္နည္းလွၾကပါတယ္။ Ko Moe Thee Blog
- အဲဒီသ၀ဏ္လႊာနဲ႔ ပတ္သက္ၿပီး မေလးရွား၀န္ႀကီးခ်ဳပ္ ဘာဒါ၀ီက ျမန္မာႏိုင္ငံအေနနဲ႔ အာဆီယံရဲ႕ ျပည္တြင္း ေရး မစြက္ဖက္ေရးမူကို အကာအကြယ္မယူသင့္ဘူးလို႔ မိန္႔ခြန္းမွာ ထည့္သြင္းေျပာၾကားသြားပါတယ္။ ဒါ့အျပင္ အာဆီယံရဲ႕ အဓိကအဖြဲ႔၀င္ႏိုင္ငံျဖစ္တဲ့ မေလးရွားႏိုင္ငံက အဖြဲ႔ႀကီးရဲ႕ အဓိကမူတရပ္ျဖစ္တဲ့ ျပည္တြင္းေရး မစြက္ဖက္ေရးမူကို ျပန္လည္အနက္အဓိပၸၸၸၸၸါယ္ ဖြင့္ဆိုသင့္ၿပီလို႔ ေျပာၾကားခဲ့ပါတယ္။ / Dr.LwanSwe
- ရွစ္ေလးလံုး အေရးအခင္းနဲ႔အတူ နာဂစ္မုန္တိုင္းအေပၚ စစ္အစိုးရ တံု႔ျပန္မႈဟာ ျမန္မာႏိုင္ငံတြင္း မွာရွိတဲ့ အႀကီးမားဆံုး လူ႔အခြင့္အေရး ခ်ိဳးေဖာက္မႈေတြရဲ႕ “နိဂံုး” ျဖစ္မယ္လုိ႔ လူအမ်ားစုက ေမွ်ာ္ လင့္ထားၾကတယ္။ ဒါေပမယ့္ နိဂံုးျဖစ္ျဖစ္၊ မျဖစ္ျဖစ္ ဒီတႀကိမ္ေတာ့ ျမန္မာ့အေရးဟာ ျမန္မာ ႏိုင္ငံသားေတြ (“၈၈မ်ိဳးဆက္” ေက်ာင္းသားေတြဟာ ရဲ၀ံ့စြာနဲ႔ ေရွ႕ကေန ဦးေဆာင္ေနတယ္) တင္ မကေတာ့ဘူး ကုလသမဂၢ လံုျခံဳေရးေကာင္စီနဲ႔ ျမန္မာႏိုင္ငံရဲ႕ အာရွအိမ္နီးခ်င္းႏိုင္ငံေတြရဲ႕ ႏိုင္ငံေရး ဆႏၵေပၚမွာလည္း မူတည္ေနပါတယ္။ အႏွစ္ (၂၀) ဆိုတာ ရွည္လ်ားတဲ့ အခ်ိန္ကာလ ျဖစ္ေပမယ့္ သိပ္ေတာ့ ေနာက္မက်ေသးပါဘူး။ / New Era Journal
- Failed States Index 2008 - အားလံုးေပါင္း ၁၂ ခုရွိတဲ့ စံညႊန္းေတြထဲမွာ ျမန္မာႏိုင္ငံဟာ လူ႔အခြင့္အေရးစံညႊန္းမွာ အဖိႏွိပ္ခံရဆံုး တဖက္စြန္းမွာေရာက္ေနၿပီး ျပည္ပစြက္ဖက္မႈမွာေတာ့ အေစာကေရးသလို အနည္းဆံုးပါ၊ ဒီႏွစ္ခုက အမ်ားဆံုး နဲ႔ အနည္းဆံုး အစြန္းႏွစ္ဖက္ ေရာက္ေနတာကလြဲလို႔ က်န္တာေတြက ထိပ္ဆံုးမေရာက္တေရာက္မွာ။ ၂၀၀၅ တုန္းက ထိပ္ဆံုး ၂၀ ထဲမွာ ျမန္မာမပါဘူး၊ ၂၀၀၆ က်ေတာ့ နံပါတ္ ၁၈ နဲ႔ အေရွ႔တက္လာတယ္၊ ၂၀၀၇ မွာ အဆင့္ ၁၄၊ ေဟာ၊ အခု ၂၀၀၈ မွာ အဆင့္ ၁၂ ျဖစ္သြားၿပီ။ ဒီလို တႏိုင္ငံလံုးခ်ီၿပီး ညံ့ဖ်င္းေနတာ ဦးေဆာင္လမ္းျပေနတဲ့ေခါင္းေဆာင္ တာဝန္မကင္းဘူး၊ ဒါေၾကာင့္ ႏိုင္ငံေတြစာရင္းအျပင္ ေခါင္းေဆာင္ေတြရဲ့ စာရင္းကိုလည္း ျပဳစုထုတ္ျပန္ထားတယ္။ Degolar
0 comments:
Post a Comment