ตำราเศรษฐศาสตร์เล่มหนึ่งได้เขียนภาพการ์ตูนที่แสดงถึงการตอบปัญหาเศรษฐกิจไว้สองภาพ คำถาม ก็คือ "เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำจะทำอย่างไร" ภาพแรกตัวการ์ตูนบอกว่า "ออมเงิน ซิจะได้ไม่ลำบาก" แต่ภาพที่สอง ตัวการ์ตูนตัวเดียวกันกลับพูดว่า "ต้องช่วยกัน ใช้เงิน เยอะๆ จะได้กระตุ้นเศรษฐกิจ" คำตอบทั้งสองดูเหมือนขัดแย้งกัน แต่เป็นคำตอบที่ถูกทั้งคู่ ขึ้นอยู่กับว่าเราเลือกคำตอบได้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจหรือไม่
ภาพการ์ตูนข้างต้นเป็นตัวอย่างที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในเวลานี้ ซึ่งนักวิชาการเศรษฐศาสตร์เกรงกันว่า เศรษฐกิจของประเทศจะเข้าสู่ภาวะชะงักงัน หรือ stagflation ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงจะแก้ไขได้ยากมาก เพราะไม่แน่ใจว่าจะใช้คำตอบใดที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ดีที่สุด
Stagflation ทำไมจึงน่ากลัว
"Stagflation" เป็นการรวม 2 แนวคิดเข้าด้วยกัน คือ stagnation ซึ่งหมายถึง ภาวะเศรษฐกิจซบเซา และ inflation หรือเงินเฟ้อ (stagflation = stagnation + inflation) อาการของเศรษฐกิจในภาวะ stagnation จึงมี 2 ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน คือ เศรษฐกิจซบเซา ซึ่งอาจสะท้อนออกมาทางอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น และอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น
สถานการณ์ดังกล่าวเป็นภาวะที่ผิดปกติ และไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ ซึ่งระบุว่า กลไกตลาดจะมีปัญหาการขาดเสถียรภาพในตัวเองเสมอ เพราะในยามที่เศรษฐกิจขยายตัว (อัตราการว่างงานต่ำ) อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ในยามที่เศรษฐกิจชะลอตัว (อัตราการว่างงานสูง) อัตราเงินเฟ้อจะต่ำ ดังนั้น เป้าหมายการว่างงานในระดับต่ำและอัตราเงินเฟ้อต่ำ จึงมีความขัดแย้งกันเสมอ ผู้บริหารเศรษฐกิจจึงต้องเลือกเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง แต่ในภาวะ stagflation กลับสูญเสียทั้งสองเป้าหมายไปพร้อมๆ กัน
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550 07:00:00
Stagflation เป็นภาวะที่เกิดจากปัจจัยด้านอุปทาน (supply shock) ส่งผลทำให้ผลผลิตลดลงอย่างรวดเร็ว หรืออุปทานมวลรวมลดลงทันที ซึ่งไม่ได้เกิดจากกลไกราคา หรือระดับราคาสินค้าที่ลดลง แต่เป็นการลดลงของอุปทานมวลรวม ณ ทุก ๆ ระดับราคาสินค้า เมื่อผู้ผลิตผลิตสินค้าลดลง จะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง และทำให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น
ในอดีต stagflation เกิดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกายุคทศวรรษ 1970 อัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 12 อัตราว่างงานสูงเกือบร้อยละ 9 ซึ่งสาเหตุของปัญหาดังกล่าวมาจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกสูงขึ้นไปกว่าร้อยละ 400 จากราคาเดิม สำหรับในประเทศไทยเคยเกิดภาวะ stagflation เมื่อปี 2523 ในเวลานั้น อัตราเงินเฟ้อสูงเกินกว่าระดับร้อยละ 10 เนื่องจากราคาน้ำมันในประเทศสูงขึ้นกว่าร้อยละ 40 และทำให้เศรษฐกิจตกต่ำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี
แก้ปัญหา Stagflation ใช้นโยบายอะไรดี
หากจำแนกประเภทของนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ในแง่ทฤษฎีสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ นโยบายการบริหารด้านอุปสงค์ (Demand management macroeconomic policy) ประกอบด้วย นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง ส่วนนโยบายด้านอุปทาน (Supply-side macroeconomic policy) ประกอบด้วย นโยบายการคลัง เฉพาะที่เกี่ยวกับภาษีและกฎระเบียบต่างๆ และการเพิ่มผลิตภาพของปัจจัยการผลิตทั้งแรงงานและทุน
นโยบายด้านอุปสงค์สามารถจัดการได้ผลรวดเร็ว จึงสามารถแก้ปัญหาเร่งด่วนได้ แต่ข้อเสีย คือเกิดภาวะได้อย่างเสียอย่าง (trade off) ระหว่างเป้าหมายด้านการเติบโตและเสถียรภาพ การแก้ปัญหาของตัวการ์ตูนข้างต้นด้วยการออม หรือใช้จ่ายเงินจัดอยู่ในนโยบายด้านอุปสงค์เช่นกัน
ส่วนนโยบายด้านอุปทานมักให้ผลระยะยาว ทำให้เกิดการเติบโตแบบยั่งยืนไปพร้อมๆ กับการรักษาเสถียรภาพ จึงเป็นการแก้ปัญหา stagflation ที่ต้นเหตุของปัญหา เนื่องจาก stagflation เกิดจากปัจจัยด้านอุปทาน ส่วนผลเสียของนโยบายด้านอุปทานคือ ไม่สามารถจัดการและแก้ปัญหาเร่งด่วนได้ นโยบายทั้งสองด้านนี้ จึงมีข้อดีและข้อเสียต่างกัน จึงจำเป็นที่รัฐบาลควรเลือกใช้นโยบายทั้งสองด้านอย่างเหมาะสม และควรใช้นโยบายทั้งสองด้าน เพื่อแก้ปัญหาระยะสั้นและระยะยาวไปด้วยกัน
เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะเศรษฐกิจชะงักงันหรือยัง
ภาวะราคาน้ำมันที่กดดันเงินเฟ้ออยู่ในปัจจุบัน ทำให้มีการวิเคราะห์กันว่า เศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ภาวะ stagflation คล้ายคลึงกับที่เคยเกิดขึ้นในยุควิกฤตการณ์น้ำมันทศวรรษ 1970 ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว พร้อมๆ กับเกิดปัญหาเงินเฟ้อ
เมื่อพิจารณาภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันถือว่ายังห่างไกลจาก stagflation เพราะครึ่งปีแรกของปีนี้ อัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.3 ซึ่งลดลงเล็กน้อยจากครึ่งแรกของปี 2549 ที่เคยขยายตัวร้อยละ 5.0 แต่ถือว่ายังอยู่ในระดับที่รับได้ ขณะที่อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ คือไม่เกินร้อยละ 2 ส่วนอัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคมที่อยู่ร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยช่วงที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศพื้นตัวไม่หวือหวา ทำให้ระดับราคาสินค้าไม่สูงขึ้นมากนัก และถึงแม้ว่ามีแรงกดดันจากราคาน้ำมันโลกที่สูงขึ้น แต่ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ยังช่วยบรรเทาผลกระทบลงไปได้พอสมควร
อย่างไรก็ตาม สำหรับระยะต่อไป เศรษฐกิจไทยมีความเปราะบางต่อการเกิดภาวะ stagflation มาก เนื่องจากการบริโภคและการลงทุนไม่ฟื้นตัว ขณะที่การส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัว ขณะที่การกระตุ้นเศรษฐกิจโดยภาครัฐอาจมีความล่าช้า เพราะรัฐบาลหน้าจะเป็นรัฐบาลผสม
ประเทศไทยจึงมีความเป็นไปได้ที่จะเกิด stagflation หากมีแรงกดดันต่อเงินเฟ้อจากปัจจัยด้านอุปทาน โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อาจสูงถึง 200 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หากเกิดสงคราม และการลอยตัวราคาก๊าซหุงต้ม ประกอบกับปัญหาซับไพร์มที่จะแสดงผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกมากขึ้น
พรรคการเมืองต่างๆ จึงต้องตอบให้ได้ว่า "จะมีนโยบายแก้ปัญหาดังกล่าวนี้อย่างไร"
ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
GoogleCyberSearch
Shared Items
Labels
- ႐ႊင္ျမဴးစရာ (3)
- Agri and Fishery (11)
- Art and Literature (2)
- Dhamma - Beliefs (7)
- Earth-Weather-Travel (8)
- Economy-Business-Finance (22)
- Energy (4)
- Fun/Humor (10)
- General (1)
- Health (3)
- History - Politics (11)
- Ideas - Opinions (6)
- IT (22)
- Life Style (7)
- Local (21)
- Society - Community (1)
- Technology (14)
- Travel (4)
- การเกษตร (2)
- ขำขัน (8)
- ท่องเทียว (4)
- เทคโนโลยี (11)
- เทคโนโลยี-วิทยาศาสตร์ (3)
- ธุรกิจ (4)
- บ้า้นและครอบครัว (1)
- ประวัติศาสตร์ (2)
- ปรัชญา - ธรรมะ (10)
- พม่า (11)
- พลังงาน (5)
- ระีนอง - เกาะสอง (25)
- เศรษฐกิจ (10)
- สังคม (9)
- สัตว์น้ำและอาหารทะเล (10)
- สุขภาพ - อาหาร (12)
- ကမၻာေျမ (2)
- က်န္းမာေရး (8)
- ခရီးသြားျခင္း (5)
- စားဝတ္ေနေရး (8)
- စာေပ၊ ယဥ္ေက်းမႈ (5)
- စီးပြား၊ကုန္သြယ္ (32)
- စုိက္ပ်ဳိးေရး (6)
- ဓမၼ - ဂမၺီရ (5)
- မိုးေလဝသ (1)
- ျပည္ျမန္မာ (13)
- လူမႈဘဝ (8)
- သိပၸံႏွင္႔နည္းပညာ (16)
- သီခ်င္းမ်ား (2)
- အေတြးအျမင္ (6)
- အေထြေထြ (8)
- ေဒသသတင္း (24)
- ေရလုပ္ငန္း (14)
- ႏိုင္ငံေရး (11)
Contact to Blogmaster at kawthaung@gmail.com
Vistors Stats
Wednesday, December 26, 2007
Stagflation…น่ากลัวอย่างไร?
Labels: เศรษฐกิจ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Kawthaung Glimpse 2008
Blog Archive
-
▼
2007
(201)
-
▼
December
(53)
- ရက္တိုအတြင္း ဝင္ေငြျပန္လည္ရရွိမည့္ ပင္လယ္ေရေမွာ္ ေ...
- Popular Christmas Gifts in the US
- Algae farming
- Stagflation…น่ากลัวอย่างไร?
- Windows Starter Kit
- Security Starter Kit
- ထိုင္းႏိုင္ငံတြင္ ၁၀ ႏွစ္ေက်ာ္ေနထိုင္လာသူ ျမန္မာႏွ...
- 10 extension ยอดเยี่ยมของ Firefox
- The best of the Google Earth and Maps
- ျမန္မာအေလာင္း (၂၂) ေလာင္းကို ထုိင္းေရပိုင္နက္တြင္ ...
- The 10 best downloads of 2007
- 2550 ธุรกิจประมงสุดอ่วม แห่ทิ้งเรือขึ้นฝั่งหนีขาดทุน
- လူကိုကူးစက္မႈျဖစ္သျဖင့္ ၾကက္သားစားသံုးမႈေလ်ာ့
- 10 Best Firefox Extensions of 2007
- မတည္မညိမ္ ထုိင္းႏုိင္ငံေရး၊ ျမန္မာျပည္လုိ တစ္ခါ အ႐...
- Future of Maine Aquaculture Looks Bright
- เลี้ยงหอยนางรม ที่สุขสำราญ ระนอง
- တရုတ္စီးပြား အင္အားထင္ သေလာက္ မႀကီးပါ
- Trade clampdown reported at Mae Sot border bridge
- โทรศัพท์และอีเมล์ถูกนำมาใช้บอกเลิกคนรัก
- กูเกิล บริษัทน่าทำงานที่สุดในปี 2007 - Fortune
- What Do Venture Capitalists Know?
- ဂ်ပန္သိပၸံပညာရွင္မ်ားက ေၾကာင္ကိုမေၾကာက္ေသာ ၾကြက္မ်...
- သစ္ေတာတို့လည္း မစိမ္းစိုေတာၿပီ
- *ျမန္မာ့ငါးျမစ္ခ်င္းမ်ား ျပည္ပေစ်းကြက္တြင္ မ်က္ႏွာ...
- เคล็ดลับภูมิไม่แพ้
- Strategic IT Management
- ASEAN Foundation - AIT Scholarship
- Burma Comparisons
- พม่าแฉจ่าย 9 แสนจั๊ตลอบเข้าเมืองระนอง ก่อนผ่านไปมา...
- ျမန္မာႏိုင္ငံတြင္း ၾကက္ငွက္တုတ္ေကြးေရာဂါ ပထမဆံုး လ...
- ျမန္မာႏိုင္ငံကို ျဖတ္သန္းဆက္သြယ္ မည္႕ အျပည္ျပည္ဆို...
- ျမန္မာႏိုင္ငံကို ျဖတ္သန္းဆက္သြယ္ မည္႕ အျပည္ျပည္ဆို...
- คำยอดนิยมปี 2007 โดย Google และ Yahoo
- Reader and Talk are Friends!
- မုန္တိုင္းသင့္ခဲ့သည့္ ဆန္တာဘန္းလမုေတာႀကီး ျပဳစုပ်ဳ...
- คอมพิวเตอร์ตกรุ่นแถมยังชำรุดซ่อมไม่ได้ ทำไงดี
- อำเภอเมืองระนองมอบเลข 13 หลักให้คนไทย 53 คน
- ျမဝတီကုန္သြယ္ေရးဇုန္ - ရန္ကုန္ႏွင့္ အနီးဆံုး အေရ့ွ...
- แก่นของ VI
- Zawgyi Unicode, VOA and RSS
- ေဒၚလာငွက္မ်ား ဘယ္မွာနားပါ့မယ္
- ဂ်ပန္တြင္ အႀကီးမားဆံုး တရားမ၀င္ေငႊလႊဲမႈျဖင့္ ျမန္မ...
- ၂ဝဝ၆-၂ဝဝ၇ ဘ႑ာေရးႏွစ္ရဲ႔ ျမန္မာျပည္၏ ႏိုင္ငံျခားရင္...
- ဆီအုန္းဧကတစ္သိန္းခြဲ မေလးရွားကုမၸဏီလာစိုက္မည္
- ကဏန္းေပ်ာ့ ေမြးျမဴမႈ ပုိမုိ တြင္က်ယ္လာဖြယ္ရွိ
- พม่าขอไทยตรวจสอบจนท.รีดไถเงิน'เกาะสอง'
- ကုိလုိနီေခတ္ သခင္ေအာင္ဆန္း၏ လြပ္လပ္ေရးလုပ္ငန္းစဥ္ ...
- ตามหาความเป็นไทยใหญ่ที่เปียงหลวง
- ถนนสู่ประชาธิปไตยในพม่าหลังการประท้วงใหญ่ ทางออกหร...
- ในหลวงนักเศรษฐศาสตร์
- အာရွစီးပြားေရးနဲ႔ ပတ္သက္တဲ့ ADB အစီရင္ခံစာ
- ေဒါင္းစုတ္(ဘြတ္ကလံု)ငွက္မ်ား ရွား ပါး
-
▼
December
(53)
Visitors
Visitor Link
Misc Synopsis
- ကံေကာင္းေသာ လူငယ္မ်ားသည္ သူ႔ဘဝတြင္ "ဘယ္စာကိုဖတ္၊ ဘယ္စာကို မဖတ္နဲ႔" ဟူေသာ အၾကံေပးခ်က္မ်ိဳး ရ႐ွိခဲ့၏။ ကံဆိုးေသာ လူငယ္မ်ားသည္ ဘာအၾကံေပးခ်က္မွ မရွိပါ။ ထိုအမ်ိဳးအစားထဲမွ စိတ္ဓာတ္အင္အား ျပည့္စံုေသာ လူငယ္မ်ား၊ ႀကိဳးစားလိုေသာ လူငယ္မ်ား၊ ႐ွာေဖြစူးစမ္းလိုေသာ လူငယ္မ်ားသည္ မည္သူ႔အကူအညီမွ် မပါဝင္ဘဲ မိမိတို႔ဘာသာ သင့္ေတာ္ရာရာကို ေ႐ြးခ်ယ္ သြားတတ္ၾကသည္။ တခ်ိဳ႔ကေတာ့ သူတို႔ ဘာကိုလိုခ်င္မွန္း သူတို႔ကိုယ္တိုင္ မသိသူမ်ား ျဖစ္ၾကပါသည္။ ေလာကတြင္ မိမိဘာ လိုခ်င္သည္ဟု မွန္ကန္စြာသိ၍ မိမိ လိုခ်င္ေသာ အရာကို ရေအာင္ယူႏိုင္ေသာ လူငယ္မ်ားလည္း ႐ွိၾကသည္။ လူတေယာက္ မိမိဘဝတြင္ ဘာလိုခ်င္သည္ ဟု အတိအက် သိလာ ရန္ စာအုပ္မ်ားစြာက တြန္းအားေပးႏိုင္သည္ဟု ကြၽန္မ ထင္ပါသည္။ ဂ်ဴး
- ဂန္ဘာရီနဲ ့နအဖ တို ့ရဲ ့ကေလးကလား လုပ္ရပ္မ်ား - နဖအ က ေဒၚစုကို ေနအိမ္မွာအက်ယ္ခ်ဳပ္ခ်ထားတာ တကမၻာလံုးသိပါတယ္။ ဘယ္လိုေနအိမ္မွာအက်ယ္ခ်ဳပ္ခ်ထားလဲဆိုရင္ အိမ္ေရွ ့တခါးကိုေသာ့နဲ ့ခတ္ထားတယ္။ ေဒၚစုျခံ၀န္းထဲမွာ စစ္တပ္ခ်ထားတယ္။ ေဒၚစုကို ေတြ ့ခ်င္တယ္တဲ့သူေတြက သူတို ့က ၀င္ေစဆိုတဲ့အမိန္ ့ရမွာ၀င္လို ့ရတယ္။ ေဒၚစု ရဲ က်မာေရးကို တာ၀န္ခံထားတဲ့ေဒါက္တာတင္မ်ိဳး၀င္းေတာင္ ၀င္ေတြ ့ျခင္တိုင္း၀င္ေတြ ့လို ့မရဘူး။ သန္းေရြ ရဲ ့ခြင့္ျပဳခ်က္ရမွေဒၚစုကိုေတြ ့ခြင့္ရတယ္။ ေဒၚစုေရွ ေနက ေဒၚစုကို ေတြ ့ျခင္တိုင္းေတြ ့လို ့မရဘူး။ အန္အဲလ္ဒီစီအီစီ ဆိုရင္လည္း ေဒၚစုကို အိမ္မွာေတာင္ေတြ ့ခြင့္မရၾကဘူး။ ဒီလို အေျခအေနမ်ိဳးမွာ ဂန္ဘာရီ ကိုယ္စားလွယ္နဲ ့ နအဖ ကိုယ္စားလွယ္က ေဒၚစုအိမ္ေရွ ့ကိုသြားျပီး ေဒၚေအာင္ဆန္းစုၾကည္ ဂန္ ဘာရီက ေတြ ့ျခင္လို ့ပါလို ့ အိမ္ေရွ ့ကေန ေလာစပီကာနဲ ့သြားေအာ္ေနတာ အေတာ့ကို ကေလးကလားဆန္ျပီ အရူးထတဲ့လုပ္ရပ္ျဖစ္ပါတယ္။ က်ေနာ္ေမးျခင္တာက သူတို ့မွာ ေဒၚစုအိမ္ကိုခတ္ထားတဲ့ေသာ့ရိွရဲ ့သားနဲ ့ဖြင့္ျပီး ၀င္သြားလိုက္ၾကပါလား။ အိမ္ကိုေသာ့ခတ္ထားတဲ့သူက တခါးဖြင့္ေပးပါလို ့ေအာ္ေနတာကေတာ့ အေတာကိုညဏ္နည္းလွၾကပါတယ္။ Ko Moe Thee Blog
- အဲဒီသ၀ဏ္လႊာနဲ႔ ပတ္သက္ၿပီး မေလးရွား၀န္ႀကီးခ်ဳပ္ ဘာဒါ၀ီက ျမန္မာႏိုင္ငံအေနနဲ႔ အာဆီယံရဲ႕ ျပည္တြင္း ေရး မစြက္ဖက္ေရးမူကို အကာအကြယ္မယူသင့္ဘူးလို႔ မိန္႔ခြန္းမွာ ထည့္သြင္းေျပာၾကားသြားပါတယ္။ ဒါ့အျပင္ အာဆီယံရဲ႕ အဓိကအဖြဲ႔၀င္ႏိုင္ငံျဖစ္တဲ့ မေလးရွားႏိုင္ငံက အဖြဲ႔ႀကီးရဲ႕ အဓိကမူတရပ္ျဖစ္တဲ့ ျပည္တြင္းေရး မစြက္ဖက္ေရးမူကို ျပန္လည္အနက္အဓိပၸၸၸၸၸါယ္ ဖြင့္ဆိုသင့္ၿပီလို႔ ေျပာၾကားခဲ့ပါတယ္။ / Dr.LwanSwe
- ရွစ္ေလးလံုး အေရးအခင္းနဲ႔အတူ နာဂစ္မုန္တိုင္းအေပၚ စစ္အစိုးရ တံု႔ျပန္မႈဟာ ျမန္မာႏိုင္ငံတြင္း မွာရွိတဲ့ အႀကီးမားဆံုး လူ႔အခြင့္အေရး ခ်ိဳးေဖာက္မႈေတြရဲ႕ “နိဂံုး” ျဖစ္မယ္လုိ႔ လူအမ်ားစုက ေမွ်ာ္ လင့္ထားၾကတယ္။ ဒါေပမယ့္ နိဂံုးျဖစ္ျဖစ္၊ မျဖစ္ျဖစ္ ဒီတႀကိမ္ေတာ့ ျမန္မာ့အေရးဟာ ျမန္မာ ႏိုင္ငံသားေတြ (“၈၈မ်ိဳးဆက္” ေက်ာင္းသားေတြဟာ ရဲ၀ံ့စြာနဲ႔ ေရွ႕ကေန ဦးေဆာင္ေနတယ္) တင္ မကေတာ့ဘူး ကုလသမဂၢ လံုျခံဳေရးေကာင္စီနဲ႔ ျမန္မာႏိုင္ငံရဲ႕ အာရွအိမ္နီးခ်င္းႏိုင္ငံေတြရဲ႕ ႏိုင္ငံေရး ဆႏၵေပၚမွာလည္း မူတည္ေနပါတယ္။ အႏွစ္ (၂၀) ဆိုတာ ရွည္လ်ားတဲ့ အခ်ိန္ကာလ ျဖစ္ေပမယ့္ သိပ္ေတာ့ ေနာက္မက်ေသးပါဘူး။ / New Era Journal
- Failed States Index 2008 - အားလံုးေပါင္း ၁၂ ခုရွိတဲ့ စံညႊန္းေတြထဲမွာ ျမန္မာႏိုင္ငံဟာ လူ႔အခြင့္အေရးစံညႊန္းမွာ အဖိႏွိပ္ခံရဆံုး တဖက္စြန္းမွာေရာက္ေနၿပီး ျပည္ပစြက္ဖက္မႈမွာေတာ့ အေစာကေရးသလို အနည္းဆံုးပါ၊ ဒီႏွစ္ခုက အမ်ားဆံုး နဲ႔ အနည္းဆံုး အစြန္းႏွစ္ဖက္ ေရာက္ေနတာကလြဲလို႔ က်န္တာေတြက ထိပ္ဆံုးမေရာက္တေရာက္မွာ။ ၂၀၀၅ တုန္းက ထိပ္ဆံုး ၂၀ ထဲမွာ ျမန္မာမပါဘူး၊ ၂၀၀၆ က်ေတာ့ နံပါတ္ ၁၈ နဲ႔ အေရွ႔တက္လာတယ္၊ ၂၀၀၇ မွာ အဆင့္ ၁၄၊ ေဟာ၊ အခု ၂၀၀၈ မွာ အဆင့္ ၁၂ ျဖစ္သြားၿပီ။ ဒီလို တႏိုင္ငံလံုးခ်ီၿပီး ညံ့ဖ်င္းေနတာ ဦးေဆာင္လမ္းျပေနတဲ့ေခါင္းေဆာင္ တာဝန္မကင္းဘူး၊ ဒါေၾကာင့္ ႏိုင္ငံေတြစာရင္းအျပင္ ေခါင္းေဆာင္ေတြရဲ့ စာရင္းကိုလည္း ျပဳစုထုတ္ျပန္ထားတယ္။ Degolar
0 comments:
Post a Comment