by สรวิศ อิ่มบำรุง Bangkok Business
ใครๆ ก็ไปเที่ยว "อินเดีย" กับ "จีน" ได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะลงทุนในตลาดหุ้นอินเดียและจีนได้
ทุกวันนี้ ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่ คนไทยจะลัดฟ้าไปลงทุนในจีนและอินเดีย เพราะบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนหลายแห่ง ขายกองทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นจีนและอินเดีย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่เกิดวิกฤติซับไพร์มขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ยิ่งทำให้เสน่ห์ของเอเชียโดดเด่นมากยิ่งขึ้น ในฐานะที่เป็นภูมิภาคที่จะเป็นแหล่งรองรับเม็ดเงินลงทุนจำนวนมหาศาล ที่จะไหลออกมาจากสหรัฐเข้ามาในภูมิภาคนี้
แล้วถ้าจะพูดถึงเอเชียในปัจจุบันคงต้องนึกถึง 2 ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีนและอินเดีย ที่แม้ปัจจุบันจะเป็นเครื่องจักรที่สำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกอยู่ในตอนนี้ แต่ก็มีการคาดการณ์กันว่าภายในปี 2050 ทั้ง 2 ประเทศนี้จะก้าวขึ้นมาเป็น "Top 3" ทางเศรษฐกิจของโลก
อะไรคือ เสน่ห์และความน่าสนใจของจีนและอินเดีย Fundamentals สัปดาห์นี้มีเรื่องราวมานำเสนอ
ศักยภาพ และความเสี่ยงที่ต่างกันของจีน-อินเดีย
ด้วยตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน และอินเดียในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ตลาดหุ้นของทั้ง 2 ประเทศปรับตัวขึ้นมาเป็นตลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทนที่สูงที่สุดติดอันดับโลกในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา จึงทำให้มีหลาย บลจ.ออกกองทุนคุ้มครองเงินต้นโดยลิงค์ผลตอบแทนไปกับดัชนีตลาดหุ้นจีน เพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุนได้มีโอกาสที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีจากตลาดหุ้นจีนได้ หรือแม้แต่การออกกองทุน FIF ที่ลงทุนในตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชียเองก ็ช่วยเปิดโอกาสให้นักลงทุนได้มีโอกาสได้รับประโยชน์ จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจีนและอินเดียอยู่บ้างไม่มากก็น้อย
ในช่วงหลังจึงได้มีบาง บลจ.ที่จัดตั้งกองทุน FIF เพื่อที่จะเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นจีน และอินเดียโดยเฉพาะ เริ่มตั้งแต่ "กองทุนเปิดแมนูไลฟ์ สเตรงท์ ไชน่า แวลู" ของบลจ.แมนูไลฟ์ ,"กองทุนเปิดทหารไทย ไชน่า อิควิตี้ อินเด็กซ์" ของบลจ.ทหารไทย และล่าสุดกับ "กองทุนเปิดทิสโก้ ไชน่า อินเดีย ดิวิเดนด์ ฟันด์" ของบลจ.ทิสโก้ ซึ่งถือเป็น บลจ.แรกที่เข้าไปลงทุนในอินเดีย ซึ่งกำลังเสนอขายหน่วยลงทุนอยู่ระหว่างวันที่ 1-12 ต.ค.50 นี้ จึงถือว่าเป็นเพียง 3 กองทุนที่เข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นจีนหรืออินเดียโดยตรงในปัจจุบัน
@จีน-อินเดียมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในปี 2050 เกี่ยวกับเรื่องนี้ "ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ" กรรมการผู้จัดการ กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจ บล.ไทยพาณิชย์ บอกว่า ถ้าพูดถึงศักยภาพของ 2 ประเทศ จีน มีพลเมืองประมาณ 1,300 ล้านคน ขนาดเศรษฐกิจประมาณ 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เศรษฐกิจประเทศเติบโตเฉลี่ย 10-11% ต่อปี ในขณะที่อินเดียประชากรประมาณ 1,100 ล้านคน มีขนาดเศรษฐกิจประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเศรษฐกิจของประเทศเติบโตเฉลี่ย 8-9% ต่อปี ภาพศักยภาพของจีน และอินเดียค่อนข้างชัดเจนในเชิงโครงสร้างที่จะสามารถเติบโตต่อไป ได้ในระยะยาวอย่างต่อเนื่องแม้จะมีความเสี่ยงในระยะสั้นเกิดขึ้นบ้างก็ตาม
แต่เรื่องที่ทำให้คนตื่นเต้นเกี่ยวกับจีนและอินเดีย เพราะมีการคาดการณ์โดยโกลด์แมน แซคส์ ซึ่งได้รับความสนใจพอสมควรโดยเขาพยายามมองว่าโลกของปี 2050 หน้าตาจะเป็นยังไง ขนาดเศรษฐกิจโลกในปี 2050 ในโลกเศรษฐกิจอะไรจะเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งจากการคาดการณ์นี้พบว่าในปี 2050 เศรษฐกิจของประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน ,สหรัฐ และอินเดีย นั่นหมายความว่าในปี 2050 ตามการคาดการณ์นี้จีน และอินเดียจะก้าวขึ้นมาเป็นยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจติด Top3 ของโลกเลยทีเดียว
"โดยเศรษฐกิจของจีนจะแซงขนาดเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในดอลลาร์เทอมในปี 2015 อีกไม่ถึง 15 ปี และแซงสหรัฐอเมริกาในปี 2040 ส่วนอินเดียจะแซงญี่ปุ่นในปี 2032 โดยเศรษฐกิจของอินเดียในปี 2050 จะใหญ่กว่าทุกประเทศยกเว้นจีน และสหรัฐ นี่เป็นศักยภาพของทั้ง 2 ประเทศในการเติบโต ซึ่งไม่มีใครปฏิเสธความจริงข้อนี้ ในระยะยาวเศรษฐกิจของ 2 ประเทศนี้สื่อว่าทั้ง 2 ประเทศจะก้าวขึ้นมาเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกที่สำคัญ"
@ศักยภาพเชิงโครงสร้างที่ต่างกันของจีนและอินเดีย โดย ดร.เศรษฐพุฒิ ยังบอกอีกว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดียเฉลี่ย 8-9% ต่อปี ในขณะที่จีนเองก็โตในระดับ 10-11% ต่อปี แล้วทั้ง 2 ประเทศน่าจะรักษาระดับการเติบโตในระดับที่สูงเอาไว้ได้ แม้ในอนาคตอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของทุกประเทศในโลกโดยรวม จะมีแนวโน้มชะลอตัวลงก็ตาม แต่จะเห็นว่าการเติบโตของจีน และอินเดียก็ยังอยู่ในระดับที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในโลก อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศนี้ไม่เหมือนกัน โครงสร้างทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศนี้ก็ต่างกัน
จีนจะเป็นการเติบโตที่พึ่งพิงอุตสาหกรรม มีการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศเข้ามา ค่อนข้างมากซึ่งมีการประเมินว่าตัวเลขดังกล่าวจะยังคงสูงต่อเนื่องในอีก 5-6 ปีข้างหน้า ในขณะที่อินเดียเศรษฐกิจ โตจากด้านบริการและการบริโภคในประเทศเป็นหลัก ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมเองไม่ได้โตเท่าที่ควร
นอกจากนี้ การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศในอินเดียต่ำกว่าจีนค่อนข้างมาก ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากความไม่พร้อมในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอินเดียเองที่ โตไม่ทันกับเศรษฐกิจของประเทศที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
"แม้ว่าตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศนี้จะไม่เหมือนกัน แต่ปัญหาที่ทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้จะต้องเจอคือ การที่เขาจะต้องก่อให้เกิดการจ้างงานให้ได้ แต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็ช่วยในเรื่องของการจ้างงานค่อนข้างมาก ต้องยอมรับว่าในอินเดียถ้าภาคอุตสาหกรรมไม่โตเร็วความสามารถที่ จะดูดซับแรงงานที่ถูกปล่อยออกมาจากภาคเกษตรจะทำได้ไม่ดี จะเข้ามาในภาคบริการเองก็อาจจะทำได้ไม่ดีนัก ในขณะที่จีนแรงงานจากภาคเกษตรสามารถเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมรองรับได้ค่อนข้างดี"
@ภาครัฐถอยเหตุเบื้องหลังทำเศรษฐกิจทั้ง 2 ประเทศเติบโต ดร.เศรษฐพุฒิ บอกว่าในช่วงที่ผ่านมา เราคงจะคุ้นเคยกับ "BRICs" ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง ได้แก่ บราซิล ,รัสเซีย ,อินเดีย และจีน แต่ใน 4 ประเทศนี้ตัวที่มีความสำคัญมากที่สุดคือ จีนกับอินเดีย
ข้อเท็จจริงคือ เศรษฐกิจจีนและอินเดียเติบโตขึ้นมาได้เพราะภาครัฐถอย แล้วปล่อยให้เอกชนเขาโตจึงถือว่าทั้ง 2 ประเทศนี้ สามารถจับกระแสของโลกาภิวัตน์ และกระแสเงินลงทุนของต่างชาติได้ค่อนข้างดี เมื่อก่อนจีนควบคุมทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นควบคุมราคา ควบคุมดอกเบี้ย ควบคุมสินเชื่อ ควบคุมทุกอย่าง ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้โอกาสที่เศรษฐกิจจะเติบโตได้ โอกาสที่ทรัพยากรจะไปในทิศทางที่ควรจะเป็นก็จะน้อยลง
ปัจจัยหลักที่ทำให้เศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศโตได้ที่สำคัญจึงมาจากการถอยออกของภาครัฐเพื่อให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจมากขึ้น เพราะประชากรของทั้ง 2 ประเทศมีมากมานานแล้ว แต่ประเทศเพิ่งมาโตในช่วงหลังเพราะภาครัฐถอย เปิดเศรษฐกิจมากขึ้น
"โดยเฉพาะจีนนี่ชัดเจน โดยเฉพาะเมื่อจีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก(World Trade Organization
: WTO) เพราะมีเงื่อนไขสารพัดที่จีนต้องทำเพื่อที่จะเปิดเศรษฐกิจของประเทศมากขึ้น คือ รัฐเริ่มที่จะถอยกับการมีบทบาทในการควบคุมเศรษฐกิจ แล้วปลดปล่อยให้กระแสเงินลงทุนเข้ามามีบทบาทในการจัดสรรทรัพยากรมากยิ่งขึ้น อินเดียก็เช่นเดียวกัน"
@ความเสี่ยงที่ต่างกันของเศรษฐกิจจีนและอินเดีย เมื่อมองถึงโอกาสแล้วก็ต้องมามองถึงความเสี่ยงกันด้วย ดร.เศรษฐพุฒิ มองว่า ทั้งอินเดียและจีนถ้ามองในระยะยาวมีศักยภาพในการเติบโตที่มาจากปัจจัยพื้นฐานของประเทศจริงๆ แต่ก็มีจุดที่น่าจับตามองของเศรษฐกิจทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงที่ต่างกันออกไป
โดยอินเดียจะมีปัญหาในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ไม่ง่าย การที่โครงสร้างพื้นฐานของอินเดียมีปัญหา ก็เนื่องมาจากเศรษฐกิจของอินเดียไม่ได้โตมานานมากแล้ว สมัยก่อนเศรษฐกิจอินเดียโตปีละ 3-4% ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไม่ได้โตเท่าไร เพราะฉะนั้นอินเดียจึงเฉยในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานมานานมากๆ แต่พอเศรษฐกิจมันเริ่มโตจึงเจอปัญหาในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานค่อนข้างมาก อย่างเมืองมุมไบเมืองการค้าของอินเดียไปเจอโครงสร้างพื้นฐานแล้วจะหนาว ถนนเล็กและแคบมีหลุมเต็มไปหมด
ดร.เศรษฐพุฒิ เล่าว่าเคยมีโอกาสพบกับ ผู้ที่มีส่วนดูแลในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของอินเดีย เขาก็บอกว่าตัวเลขที่รัฐวางแผนเอาไว้ว่า จะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเท่าโน้นเท่านี้ น่าจะทำไม่ได้ เพราะ 1)หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบมีข้อจำกัดในการที่จะทำตามแผนพอสมควร นี่จะต่างกับจีนและนั่นคือจุดแข็งของจีน 2)ทรัพยากรที่จะนำมาใช้เพื่อลงทุนในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานนั้นต้องการมากมายมหาศาล เขาคำนวณตัวเลขมาว่าถ้าจะทำการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานตามแผนที่รัฐบาลวางเอาไว้ นั่นหมายความว่าจะต้องดูดเงินจากการลงทุนภาคเอกชนจำนวนมหาศาล จนภาคเอกชนจะไม่เหลือทรัพยากรที่จะไปใช้ลงทุน
"ถามว่าแล้วอินเดีย ว่าจะสามารถกู้เงินมาลงทุนได้มากมายมั้ย ก็มีข้อจำกัดเพราะว่าอินเดียในแง่เศรษฐกิจของประเทศยังขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ ซึ่งถ้าไปกู้ยืมมากก็จะยิ่งขาดดุลมาก ดังนั้นในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานจึงเป็นจุดอ่อนของอินเดียแล้วแก้ไขได้ไม่เร็วแล้วก็ไม่ง่ายด้วย"
ในขณะที่จีนเองที่น่าจับตามองจะเป็นเรื่องของเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมาก เรื่องของราคาสินทรัพย์ที่ปรับตัวขึ้นมามากเริ่มปรับตัวขึ้นมาแรง เช่น ราคาอสังหาริมทรัพย์ในอินเดีย หรือจีนก็ตาม หรือในตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างมาก
@จีนและอินเดียเติบโตแบบฟองสบู่หรือไม่ เชื่อว่าเป็นคำถามที่นักลงทุนส่วนใหญ่ก็อยากจะรู้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ดร.เศรษฐพุฒิ ตอบว่า ถ้ามองการเติบโตทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ คือ จีนและอินเดีย คนมองด้วยความเป็นห่วงเพราะเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศนี้เติบโตเร็วมาก มีโอกาสที่เศรษฐกิจจะร้อนแรงเกินไป(Over Heat) มีโอกาสที่จะเกิดเป็นฟองสบู่แล้วแตกจนเศรษฐกิจตกลงมามั้ย เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศไทยในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้โอกาสพวกนี้มีอยู่แล้วแต่ถ้าดูโดยรวมของทั้ง 2 ประเทศพบว่ายังไม่ค่อยน่าเป็นห่วงนัก ถ้าเศรษฐกิจร้อนแรงมาก แสดงว่าดีมานด์มากกว่าซัพพลาย หรือการใช้จ่ายมากกว่ารายได้ของประเทศ สิ่งที่จะสะท้อนให้เห็นทันทีคือ "ดุลบัญชีเดินสะพัดต้องขาดดุล" เหมือนกับไทยช่วงก่อนวิกฤติ เพราะว่าการที่เราขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แสดงว่ารายจ่ายมากกว่ารายได้ของเรา
"แต่จีนทราบกันดีว่าบัญชีเดินสะพัดเกินดุลค่อนข้างมากประมาณ 10% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) แสดงว่าจีนผลิตมากกว่าการบริโภคภายในประเทศที่เหลือก็ส่งออก นี่เป็นสัญญาณหนึ่งที่บอกว่าเศรษฐกิจจีนไม่ได้ร้อนแรงเท่าไร ในขณะที่อินเดียต่างออกไป ถ้าถามสัญญาณของ Over Heat ต้องบอกว่าอยู่ที่อินเดียมากกว่า เพราะจีนดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล แต่อินเดียขาดดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 3% ของจีดีพี จริงๆ หลักๆ ตัวที่ช่วยอินเดียคือ เรื่องของบริการ "
อย่างไรก็ตาม โดยรวมแล้วคิดว่าเศรษฐกิจโดยรวมของทั้ง 2 ประเทศจะเติบโตได้เฉลี่ยในระดับ 8-10% โดยมองว่าอินเดียเองเศรษฐกิจไม่น่าจะโตไม่ต่ำกว่าปีละ 5% ไปในอีก 30 ปีข้างหน้า เพราะในแง่ของประชากรอินเดียมีโครงสร้างประชากรที่อายุน้อยที่สุด คนที่จะอยู่ในวัยทำงานจะมีระยะเวลายาวนานขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจอื่นๆ ของโลกจะมีประชากรในวัยแรงงานที่เริ่มอ่อนตัวลง
@จุดแข็งที่ต่างกันของจีนและอินเดีย ดร.เศรษฐพุฒิ บอกว่า จุดแข็งของจีนจะเป็นในเรื่องของประสิทธิภาพในการผลิตที่ดี และการแปลงนโยบายต่างๆ ของภาครัฐมาสู่ผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ แต่อินเดียเองก็มีจุดแข็งที่แตกต่างกันออกไป โดยอินเดียมีความยืดหยุ่นทางการปกครองที่สูงกว่า
นอกจากนี้ จุดแข็งอีกอันของอินเดียคือ มีบริษัทที่มีธรรมาภิบาลติดอันดับโลก(World Class Corporations) ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะบริษัทเหล่านี้เติบโตมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ต้องแข่งขัน แล้วเป็นการเติบโตเพื่อที่จะขึ้นมาแข่งขันในระดับโลกเลย ซึ่งมีบริษัทอินเดียหลายแห่งที่ติดอันดับโลกในปัจจุบัน ความน่าสนใจอยู่ที่ในอดีตอินเดียปิดประเทศมาตลอด อยู่ในฐานะที่เป็นผู้บริโภคคุณเลือกไม่ได้คุณต้องเป็นผู้บริโภคตลอด แต่ความที่อินเดียต้องการไปแข่งขันกับโลกจากเดิมที่เขาไม่มีอะไรเลย แต่ขณะนี้อินเดียเริ่มเปิดประเทศ แล้วบริษัทในประเทศเขาก็ปรับตัวได้เร็วมากมันสื่อถึงว่าศักยภาพของบริษัทอินเดียที่มีค่อนข้างสูง
"ต่างกับจีนที่อยู่กับการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับ 9-10% ต่อปี มานานมากแล้ว เหมือนไทยตอนวิกฤติที่มีโอกาสที่กราฟจะพลิกกลับลงมาได้ แต่ของอินเดียเศรษฐกิจเขาเหมือนกับผ่านจุดที่สโลว์ดาวน์มาแล้ว มันถูกกดดันมาแล้วระดับหนึ่ง บริษัทในอินเดียจึงถือเป็นจุดแข็งของอินเดียเลย"
ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลคร่าวๆ ที่น่าจะทำให้คุณรู้จักกับจีนและอินเดียได้มากขึ้นไม่มากก็น้อย เพื่อประโยชน์ในการลงทุนของคุณเองในอนาคต
GoogleCyberSearch
Shared Items
Labels
- ႐ႊင္ျမဴးစရာ (3)
- Agri and Fishery (11)
- Art and Literature (2)
- Dhamma - Beliefs (7)
- Earth-Weather-Travel (8)
- Economy-Business-Finance (22)
- Energy (4)
- Fun/Humor (10)
- General (1)
- Health (3)
- History - Politics (11)
- Ideas - Opinions (6)
- IT (22)
- Life Style (7)
- Local (21)
- Society - Community (1)
- Technology (14)
- Travel (4)
- การเกษตร (2)
- ขำขัน (8)
- ท่องเทียว (4)
- เทคโนโลยี (11)
- เทคโนโลยี-วิทยาศาสตร์ (3)
- ธุรกิจ (4)
- บ้า้นและครอบครัว (1)
- ประวัติศาสตร์ (2)
- ปรัชญา - ธรรมะ (10)
- พม่า (11)
- พลังงาน (5)
- ระีนอง - เกาะสอง (25)
- เศรษฐกิจ (10)
- สังคม (9)
- สัตว์น้ำและอาหารทะเล (10)
- สุขภาพ - อาหาร (12)
- ကမၻာေျမ (2)
- က်န္းမာေရး (8)
- ခရီးသြားျခင္း (5)
- စားဝတ္ေနေရး (8)
- စာေပ၊ ယဥ္ေက်းမႈ (5)
- စီးပြား၊ကုန္သြယ္ (32)
- စုိက္ပ်ဳိးေရး (6)
- ဓမၼ - ဂမၺီရ (5)
- မိုးေလဝသ (1)
- ျပည္ျမန္မာ (13)
- လူမႈဘဝ (8)
- သိပၸံႏွင္႔နည္းပညာ (16)
- သီခ်င္းမ်ား (2)
- အေတြးအျမင္ (6)
- အေထြေထြ (8)
- ေဒသသတင္း (24)
- ေရလုပ္ငန္း (14)
- ႏိုင္ငံေရး (11)
Contact to Blogmaster at kawthaung@gmail.com
Vistors Stats
Wednesday, October 10, 2007
จีน&อินเดีย The Power of the World
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Kawthaung Glimpse 2008
Blog Archive
-
▼
2007
(201)
-
▼
October
(31)
- รวบพม่าลอบเข้าเมืองคาห้องเย็นรถสิบล้อขนปลา 51 คน
- ระนองคุมเข้มน้ำมันเถื่อนหลังราคาในประเทศพุ่งสูง
- ေကာ့ေသာင္းမွ အျဖဴအစိမ္းဝတ္ နအဖေထာက္ခံပြဲတက္သူ ေက်ာ...
- How can spam e-mail help fight HIV?
- Rising Oil High Price partly due to Hedge Funds!
- Paw Oo Thet's Paintings
- Thai employees are likely to see an average salary...
- Instant Noodle, becoming Thai Basic Commodity?
- Hoang Thuy Linh's Sex Tape Kills Her Acting Career
- WidgetBucks - Another Ads Choice
- Tips to (Automatically)Keep Your (older) Blog Posts
- ตชด.ระนองจับสาวพม่าลอบเดินทางไปทำงานที่สุราษฎร์
- ตะลึง! ภาพถ่ายม้าทรงที่ภูเก็ตหัวขาด
- Global hike likely to lift retail price of diesel
- ေကာ့ေသာင္းမွသံဃာမ်ား ရေနာင္းသုိ႕ ခရီးသြားခြင့္မျပဳ
- Foreign direct investment in Asia continues to rise
- Myeik - Islands Town
- Windows XP Genuine Problem
- Male's Special Chair
- ราคาน้ำมัน
- ေကာ့ေသာင္း ကမၻာလွည့္ ခရီးသည္ ဝင္ေပါက္တြင္ Royalty ...
- การชุมนุมประท้วงต่อต้าน รัฐบาลพม่าที่ขึ้นราคาเชื้อ...
- จีน&อินเดีย The Power of the World
- น้ำป่าไหลทะลักท่วมเขตเทศบาลระนอง
- พม่าประท้วงทำการค้าชายแดน จ.ระนอง ตกกว่า 2 ล้านบาท
- ค้าชายแดนแม่สอดอ่วม สารพัดปัญหารุมเร้า หวั่นสิ้นปี...
- Photos: Monks in Street of Kawthaung on September
- Thai investment in Burma affected
- ဆင္ေပါက္၏ပင္လယ္ေပ်ာ္သီခ်င္းမ်ား
- ASTVထိုင္းမီဒီယာသူေဌးၾကီး၏ ၿမန္မာအျမင္
- What the protest really means!
-
▼
October
(31)
Visitors
Visitor Link
Misc Synopsis
- ကံေကာင္းေသာ လူငယ္မ်ားသည္ သူ႔ဘဝတြင္ "ဘယ္စာကိုဖတ္၊ ဘယ္စာကို မဖတ္နဲ႔" ဟူေသာ အၾကံေပးခ်က္မ်ိဳး ရ႐ွိခဲ့၏။ ကံဆိုးေသာ လူငယ္မ်ားသည္ ဘာအၾကံေပးခ်က္မွ မရွိပါ။ ထိုအမ်ိဳးအစားထဲမွ စိတ္ဓာတ္အင္အား ျပည့္စံုေသာ လူငယ္မ်ား၊ ႀကိဳးစားလိုေသာ လူငယ္မ်ား၊ ႐ွာေဖြစူးစမ္းလိုေသာ လူငယ္မ်ားသည္ မည္သူ႔အကူအညီမွ် မပါဝင္ဘဲ မိမိတို႔ဘာသာ သင့္ေတာ္ရာရာကို ေ႐ြးခ်ယ္ သြားတတ္ၾကသည္။ တခ်ိဳ႔ကေတာ့ သူတို႔ ဘာကိုလိုခ်င္မွန္း သူတို႔ကိုယ္တိုင္ မသိသူမ်ား ျဖစ္ၾကပါသည္။ ေလာကတြင္ မိမိဘာ လိုခ်င္သည္ဟု မွန္ကန္စြာသိ၍ မိမိ လိုခ်င္ေသာ အရာကို ရေအာင္ယူႏိုင္ေသာ လူငယ္မ်ားလည္း ႐ွိၾကသည္။ လူတေယာက္ မိမိဘဝတြင္ ဘာလိုခ်င္သည္ ဟု အတိအက် သိလာ ရန္ စာအုပ္မ်ားစြာက တြန္းအားေပးႏိုင္သည္ဟု ကြၽန္မ ထင္ပါသည္။ ဂ်ဴး
- ဂန္ဘာရီနဲ ့နအဖ တို ့ရဲ ့ကေလးကလား လုပ္ရပ္မ်ား - နဖအ က ေဒၚစုကို ေနအိမ္မွာအက်ယ္ခ်ဳပ္ခ်ထားတာ တကမၻာလံုးသိပါတယ္။ ဘယ္လိုေနအိမ္မွာအက်ယ္ခ်ဳပ္ခ်ထားလဲဆိုရင္ အိမ္ေရွ ့တခါးကိုေသာ့နဲ ့ခတ္ထားတယ္။ ေဒၚစုျခံ၀န္းထဲမွာ စစ္တပ္ခ်ထားတယ္။ ေဒၚစုကို ေတြ ့ခ်င္တယ္တဲ့သူေတြက သူတို ့က ၀င္ေစဆိုတဲ့အမိန္ ့ရမွာ၀င္လို ့ရတယ္။ ေဒၚစု ရဲ က်မာေရးကို တာ၀န္ခံထားတဲ့ေဒါက္တာတင္မ်ိဳး၀င္းေတာင္ ၀င္ေတြ ့ျခင္တိုင္း၀င္ေတြ ့လို ့မရဘူး။ သန္းေရြ ရဲ ့ခြင့္ျပဳခ်က္ရမွေဒၚစုကိုေတြ ့ခြင့္ရတယ္။ ေဒၚစုေရွ ေနက ေဒၚစုကို ေတြ ့ျခင္တိုင္းေတြ ့လို ့မရဘူး။ အန္အဲလ္ဒီစီအီစီ ဆိုရင္လည္း ေဒၚစုကို အိမ္မွာေတာင္ေတြ ့ခြင့္မရၾကဘူး။ ဒီလို အေျခအေနမ်ိဳးမွာ ဂန္ဘာရီ ကိုယ္စားလွယ္နဲ ့ နအဖ ကိုယ္စားလွယ္က ေဒၚစုအိမ္ေရွ ့ကိုသြားျပီး ေဒၚေအာင္ဆန္းစုၾကည္ ဂန္ ဘာရီက ေတြ ့ျခင္လို ့ပါလို ့ အိမ္ေရွ ့ကေန ေလာစပီကာနဲ ့သြားေအာ္ေနတာ အေတာ့ကို ကေလးကလားဆန္ျပီ အရူးထတဲ့လုပ္ရပ္ျဖစ္ပါတယ္။ က်ေနာ္ေမးျခင္တာက သူတို ့မွာ ေဒၚစုအိမ္ကိုခတ္ထားတဲ့ေသာ့ရိွရဲ ့သားနဲ ့ဖြင့္ျပီး ၀င္သြားလိုက္ၾကပါလား။ အိမ္ကိုေသာ့ခတ္ထားတဲ့သူက တခါးဖြင့္ေပးပါလို ့ေအာ္ေနတာကေတာ့ အေတာကိုညဏ္နည္းလွၾကပါတယ္။ Ko Moe Thee Blog
- အဲဒီသ၀ဏ္လႊာနဲ႔ ပတ္သက္ၿပီး မေလးရွား၀န္ႀကီးခ်ဳပ္ ဘာဒါ၀ီက ျမန္မာႏိုင္ငံအေနနဲ႔ အာဆီယံရဲ႕ ျပည္တြင္း ေရး မစြက္ဖက္ေရးမူကို အကာအကြယ္မယူသင့္ဘူးလို႔ မိန္႔ခြန္းမွာ ထည့္သြင္းေျပာၾကားသြားပါတယ္။ ဒါ့အျပင္ အာဆီယံရဲ႕ အဓိကအဖြဲ႔၀င္ႏိုင္ငံျဖစ္တဲ့ မေလးရွားႏိုင္ငံက အဖြဲ႔ႀကီးရဲ႕ အဓိကမူတရပ္ျဖစ္တဲ့ ျပည္တြင္းေရး မစြက္ဖက္ေရးမူကို ျပန္လည္အနက္အဓိပၸၸၸၸၸါယ္ ဖြင့္ဆိုသင့္ၿပီလို႔ ေျပာၾကားခဲ့ပါတယ္။ / Dr.LwanSwe
- ရွစ္ေလးလံုး အေရးအခင္းနဲ႔အတူ နာဂစ္မုန္တိုင္းအေပၚ စစ္အစိုးရ တံု႔ျပန္မႈဟာ ျမန္မာႏိုင္ငံတြင္း မွာရွိတဲ့ အႀကီးမားဆံုး လူ႔အခြင့္အေရး ခ်ိဳးေဖာက္မႈေတြရဲ႕ “နိဂံုး” ျဖစ္မယ္လုိ႔ လူအမ်ားစုက ေမွ်ာ္ လင့္ထားၾကတယ္။ ဒါေပမယ့္ နိဂံုးျဖစ္ျဖစ္၊ မျဖစ္ျဖစ္ ဒီတႀကိမ္ေတာ့ ျမန္မာ့အေရးဟာ ျမန္မာ ႏိုင္ငံသားေတြ (“၈၈မ်ိဳးဆက္” ေက်ာင္းသားေတြဟာ ရဲ၀ံ့စြာနဲ႔ ေရွ႕ကေန ဦးေဆာင္ေနတယ္) တင္ မကေတာ့ဘူး ကုလသမဂၢ လံုျခံဳေရးေကာင္စီနဲ႔ ျမန္မာႏိုင္ငံရဲ႕ အာရွအိမ္နီးခ်င္းႏိုင္ငံေတြရဲ႕ ႏိုင္ငံေရး ဆႏၵေပၚမွာလည္း မူတည္ေနပါတယ္။ အႏွစ္ (၂၀) ဆိုတာ ရွည္လ်ားတဲ့ အခ်ိန္ကာလ ျဖစ္ေပမယ့္ သိပ္ေတာ့ ေနာက္မက်ေသးပါဘူး။ / New Era Journal
- Failed States Index 2008 - အားလံုးေပါင္း ၁၂ ခုရွိတဲ့ စံညႊန္းေတြထဲမွာ ျမန္မာႏိုင္ငံဟာ လူ႔အခြင့္အေရးစံညႊန္းမွာ အဖိႏွိပ္ခံရဆံုး တဖက္စြန္းမွာေရာက္ေနၿပီး ျပည္ပစြက္ဖက္မႈမွာေတာ့ အေစာကေရးသလို အနည္းဆံုးပါ၊ ဒီႏွစ္ခုက အမ်ားဆံုး နဲ႔ အနည္းဆံုး အစြန္းႏွစ္ဖက္ ေရာက္ေနတာကလြဲလို႔ က်န္တာေတြက ထိပ္ဆံုးမေရာက္တေရာက္မွာ။ ၂၀၀၅ တုန္းက ထိပ္ဆံုး ၂၀ ထဲမွာ ျမန္မာမပါဘူး၊ ၂၀၀၆ က်ေတာ့ နံပါတ္ ၁၈ နဲ႔ အေရွ႔တက္လာတယ္၊ ၂၀၀၇ မွာ အဆင့္ ၁၄၊ ေဟာ၊ အခု ၂၀၀၈ မွာ အဆင့္ ၁၂ ျဖစ္သြားၿပီ။ ဒီလို တႏိုင္ငံလံုးခ်ီၿပီး ညံ့ဖ်င္းေနတာ ဦးေဆာင္လမ္းျပေနတဲ့ေခါင္းေဆာင္ တာဝန္မကင္းဘူး၊ ဒါေၾကာင့္ ႏိုင္ငံေတြစာရင္းအျပင္ ေခါင္းေဆာင္ေတြရဲ့ စာရင္းကိုလည္း ျပဳစုထုတ္ျပန္ထားတယ္။ Degolar
1 comments:
ขอบคุณมากครับ สำหรับบทความดีๆ
Post a Comment