การชุมนุมประท้วงต่อต้าน รัฐบาลพม่าที่ขึ้นราคาเชื้อเพลิง ซึ่งนำไปสู่การกวาดล้าง ประชาชนและพระสงฆ์อย่างรุนแรง ถึงขั้นนองเลือด และมีการควบคุม การสื่อสารทั้งหมดที่ใช ้ติดต่อกับโลกภายนอก รวมทั้งการประกาศห้ามบริษัทนำเที่ยวในพม่าจัดโปรแกรมเดินทางท่องเที่ยวไปต่างประเทศในระยะนี้ และมีการควบคุมอย่างเข้มงวดตามแนวชายแดนระหว่างประเทศไทยและพม่า เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวพม่า ซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญที่ช่วยให้พม่าประคองตัวอยู่ได้ภายใต้ภาวะการคว่ำบาตรของสหรัฐอเมริกาและยุโรปจากกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยการท่องเที่ยวพม่าสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศสูงถึงประมาณปีละกว่า 6,000 ล้านบาทในปัจจุบัน
Ref - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :
แม้ว่าการท่องเที่ยวพม่าจะมีขนาดเล็กและเติบโตช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านในอินโดจีน คือ เวียดนาม และกัมพูชา แต่ก็นับว่าพม่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูง เมื่อพิจารณาจากสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ต่างจากประเทศอื่นในอินโดจีน เนื่องจากพม่าเป็นประเทศที่ปกครองโดยรัฐบาลทหารมานานกว่า 45 ปี และเพิ่งเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไปได้เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมานี้ ประกอบกับรัฐบาลพม่าให้ความสำคัญกับการรักษาเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมประจำชาติและเน้นความรักชาติ ไม่ส่งเสริมให้ประชาชนรับวัฒนธรรมต่างชาติ โดยเฉพาะวัฒนธรรมตะวันตก ด้วยการปิดกั้นเสรีภาพของสื่อมวลชน ทั้งนี้เพื่อช่วยให้รัฐบาลสามารถควบคุมและปกครองประเทศได้อย่างมั่นคงมากขึ้น ทำให้พม่ามี “ความเป็นเอเชียในอดีต” ที่ปัจจุบันหาได้ยากในประเทศอื่นๆในภูมิภาคเดียวกัน
จุดเด่นของการท่องเที่ยวพม่าอยู่ที่เรื่องของวัฒนธรรม โบราณสถาน วัด และธรรมชาติ เหล่านี้ล้วนเป็นเสน่ห์ของพม่าที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะจากซีกโลกตะวันตก สถานที่ท่องเที่ยวของพม่าที่มีผู้ไปเยือนมากอันดับหนึ่ง คือ เจดีย์ชเวดากอง ในเมืองย่างกุ้ง ซึ่งเป็นเจดีย์ทองคำและเป็นศาสนสถานที่เก่าแก่ที่สุดของพม่าโดยมีอายุกว่า 2,500 ปี สถานที่ท่องเที่ยวที่มีผู้ไปเยือนมากเป็นอันดับสองรองลงมา คือ พุกาม เมืองเก่าซึ่งเป็นที่ตั้งเจดีย์นับพันองค์
อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่า การท่องเที่ยวพม่าได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นตามลำดับตั้งแต่ต้นปี 2548 เป็นต้นมา หลังจากภูเก็ต แหล่งท่องเที่ยวชายทะเลยอดนิยมของนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างชาติ ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากสึนามิ ขณะที่แหล่งท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอันดามันของพม่า ซึ่งมีความสมบูรณ์และสวยงามตามธรรมชาติ ไม่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากสึนามิ ส่วนหนึ่งเพราะมีเกาะขนาดใหญ่และขนาดเล็กสลับซับซ้อน ทำให้สามารถกำบังคลื่นขนาดใหญ่ไปได้ระดับหนึ่ง
นอกจากนี้ ทางการพม่ายังให้ความสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างจริงจังมากขึ้น
ดังนั้น แม้ในภาวะที่สถานการณ์ทางการเมืองของพม่าจะตึงเครียดเช่นที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงมีนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปเที่ยวพม่าจำนวนมากในแต่ละปี โดยในปี 2549 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางไปยังพม่ารวมทั้งสิ้น 630,100 คนลดลงร้อยละ 5 จากปี 2548 ที่มีจำนวน 660,206 คน สร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยวให้พม่าในปี 2549 คิดเป็นมูลค่า 164 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากปี 2548 ที่มีมูลค่า 153 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางไปยังพม่าประมาณร้อยละ 80 เดินทางข้ามพรมแดนจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามา ส่วนใหญ่เดินทางจากประเทศไทยเข้าไป รองลงมาเดินทางมาจากประเทศจีน ที่เหลืออีกร้อยละ 20 เดินทางผ่านสนามบินนานาชาติของพม่า
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมายังพม่าผ่านสนามบินนานาชาติที่เมืองย่างกุ้งรวมทั้งสิ้น 136,501 คนเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 จากช่วงเดียวกันของปี 2549 ที่มีจำนวน 111,000 คน นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไปยังพม่ามากอันดับหนึ่งในช่วงครึ่งแรกปี 2550 คือ นักท่องเที่ยวจากประเทศไทยจำนวน 20,301 คน รองลงมา คือ ฝรั่งเศสจำนวน 10,131 คน และญี่ปุ่นจำนวน 9,591 คน
สำหรับการท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทยและพม่าก็มีแนวโน้มเติบโตมาตามลำดับ และ คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 2,300 ล้านบาทในปี 2550 ทั้งนี้เนื่องจากไทยเป็นตลาดท่องเที่ยวสำคัญอันดับหนึ่งของพม่า โดยในปี 2549 มีคนไทยเดินทางเข้าไปยังพม่ารวมทั้งสิ้น 27,297 คนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 จากปี 2548 และมีการใช้จ่ายระหว่างที่พำนักอยู่ในพม่าคิดเป็นมูลค่าประมาณ 700 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 29 จากปี 2548 สำหรับในปี 2550 บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวคนไทยเดินทางเข้าไปยังพม่าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 30 เป็น 35,000 คนก่อให้เกิดรายได้เข้าประเทศพม่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21 เป็นประมาณ 850 ล้านบาท (ไม่รวมนักท่องเที่ยวจากประเทศที่สามที่เดินทางมาเที่ยวประเทศไทย และเดินทางท่องเที่ยวต่อไปยังพม่าอีกปีละจำนวนมาก)
ขณะที่พม่าก็เป็นตลาดท่องเที่ยวในอาเซียนที่สำคัญแห่งหนึ่งของไทย จากสถิติของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พบว่า ในปี 2549 มีนักท่องเที่ยวพม่าที่ขออนุญาตเดินทางเข้ามายังประเทศไทย (ไม่รวมนักท่องเที่ยวพม่าที่เดินทางข้ามมายังประเทศไทยตามด่านชายแดนซึ่งเดินทางกลับในวันเดียวกัน และแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าประเทศไทยมาอย่างผิดกฎหมาย) รวมทั้งสิ้น 67,054 คนเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 จากปี 2548 และสร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยวให้ประเทศไทยคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,150 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 จากปี 2548 สำหรับในปี 2550 บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวจากพม่าเดินทางเข้ามายังประเทศไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 เป็นประมาณ 78,000 คน สร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยวเข้าประเทศไทยคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,450 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 26
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ความไม่สงบในพม่าและการควบคุมอย่างเข้มงวดทั้งด้านการสื่อสารในประเทศและตามด่านชายแดนระหว่างไทยกับพม่า ส่งผลบั่นทอนความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวคนไทยในการเดินทางเข้าไปยังพม่าในช่วงที่เหลือของปีนี้ ขณะที่สถานการณ์ภายในประเทศพม่ายังไม่เอื้ออำนวยต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยวพม่ามายังประเทศไทย ประกอบกับทางการพม่าประกาศห้ามบริษัทนำเที่ยวจัดโปรแกรมเดินทางท่องเที่ยวไปต่างประเทศในช่วงนี้
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด จึงคาดการณ์ว่าการท่องเที่ยวระหว่างไทยและพม่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 มีแนวโน้มได้รับผลกระทบ จากการเดินทางของนักท่องเที่ยวคนไทยไปยังประเทศพม่า มีแนวโน้มลดลงเกือบร้อยละ 60 ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 ส่งผลให้โดยรวมในปี 2550 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวคนไทยเดินทางไปยังพม่าเพียง 28,000 คนจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่ 35,000 คน ส่งผลกระทบทำให้พม่ามีรายได้จากนักท่องเที่ยวคนไทยลดลงประมาณ 130 ล้านบาทเหลือเพียง 720 ล้านบาท จากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่ประมาณ 850 ล้านบาท
การเดินทางของนักท่องเที่ยวพม่ามายังประเทศไทย นักท่องเที่ยวพม่ากลุ่มที่เดินทางมาเที่ยวประเทศไทยกับบริษัทนำเที่ยวซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 20 มีแนวโน้มได้รับผลกระทบโดยตรงจากการประกาศห้ามจัดโปรแกรมท่องเที่ยวต่างประเทศของทางการพม่า ขณะที่นักท่องเที่ยวพม่ากลุ่มที่เดินทางมายังประเทศไทยกันเองมีแนวโน้มชะลอการเดินทางในช่วงนี้ออกไป ทำให้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวพม่าเดินทางเข้ามายังประเทศไทยลดลงเกือบร้อยละ 80 จากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า ส่งผลให้โดยรวมในปี 2550 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวพม่าเดินทางเข้ามายังประเทศไทยเพียง 60,000 คนจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่ 78,000 คนส่งผลให้ประเทศไทยสูญเสียรายได้จากนักท่องเที่ยวพม่าประมาณ 350 ล้านบาทเหลือเพียง 1,100 ล้านบาท จากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่ประมาณ 1,450 ล้านบาท
โดยรวมแล้วคาดว่าในปี 2550 การท่องเที่ยวระหว่างไทยและพม่าจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศพม่า ส่งผลให้ปริมาณการท่องเที่ยวระหว่างทั้ง 2 ประเทศถดถอยลงกว่าร้อยละ 60 ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ และกระทบต่อรายได้ด้านการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศทำให้มีแนวโน้มลดลงประมาณ 480 ล้านบาทเหลือเพียง 1,820 ล้านบาทจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่ประมาณ 2,300 ล้านบาท
เหตุการณ์รุนแรงในประเทศพม่ายังมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวโดยรวมของพม่าที่กำลังมีบทบาทสำคัญในการสร้างรายได้เข้าประเทศ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ซึ่งเป็นช่วงฤดูท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากประเทศในแถบยุโรป เพราะนอกจากนักท่องเที่ยวต่างชาติจะไม่มั่นใจด้านความปลอดภัยในการเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศพม่าแล้ว ยังมีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนไม่น้อยที่ต่อต้านการใช้ความรุนแรงต่อประชาชนและพระสงฆ์ ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่พำนักอยู่ในพม่าต่างรีบทยอยเดินทางออกจากพม่า ขณะที่จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไปยังพม่าในช่วงนี้น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจที่มีความจำเป็นจริงๆที่จะต้องเดินทางเข้าไปติดต่อเรื่องการค้าการลงทุนในพม่า นักท่องเที่ยวต่างชาติที่วางแผนเดินทางมาเที่ยวพม่าในช่วงปลายปีนี้ ส่วนใหญ่ต่างเปลี่ยนแผนการเดินทางท่องเที่ยวไปยังประเทศอื่นในอินโดจีนแทน อาทิ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย
คาดว่าโดยรวมตลอดทั้งปี 2550 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไปยังพม่าประมาณ 600,000 คน ลดลงร้อยละ 20 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่ประมาณ 750,000 คน ส่งผลกระทบทำให้พม่ามีรายได้ด้านการท่องเที่ยวสะพัดเข้าประเทศลดลงประมาณ 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเหลือเพียง 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่ประมาณ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
GoogleCyberSearch
Shared Items
Labels
- ႐ႊင္ျမဴးစရာ (3)
- Agri and Fishery (11)
- Art and Literature (2)
- Dhamma - Beliefs (7)
- Earth-Weather-Travel (8)
- Economy-Business-Finance (22)
- Energy (4)
- Fun/Humor (10)
- General (1)
- Health (3)
- History - Politics (11)
- Ideas - Opinions (6)
- IT (22)
- Life Style (7)
- Local (21)
- Society - Community (1)
- Technology (14)
- Travel (4)
- การเกษตร (2)
- ขำขัน (8)
- ท่องเทียว (4)
- เทคโนโลยี (11)
- เทคโนโลยี-วิทยาศาสตร์ (3)
- ธุรกิจ (4)
- บ้า้นและครอบครัว (1)
- ประวัติศาสตร์ (2)
- ปรัชญา - ธรรมะ (10)
- พม่า (11)
- พลังงาน (5)
- ระีนอง - เกาะสอง (25)
- เศรษฐกิจ (10)
- สังคม (9)
- สัตว์น้ำและอาหารทะเล (10)
- สุขภาพ - อาหาร (12)
- ကမၻာေျမ (2)
- က်န္းမာေရး (8)
- ခရီးသြားျခင္း (5)
- စားဝတ္ေနေရး (8)
- စာေပ၊ ယဥ္ေက်းမႈ (5)
- စီးပြား၊ကုန္သြယ္ (32)
- စုိက္ပ်ဳိးေရး (6)
- ဓမၼ - ဂမၺီရ (5)
- မိုးေလဝသ (1)
- ျပည္ျမန္မာ (13)
- လူမႈဘဝ (8)
- သိပၸံႏွင္႔နည္းပညာ (16)
- သီခ်င္းမ်ား (2)
- အေတြးအျမင္ (6)
- အေထြေထြ (8)
- ေဒသသတင္း (24)
- ေရလုပ္ငန္း (14)
- ႏိုင္ငံေရး (11)
Contact to Blogmaster at kawthaung@gmail.com
Vistors Stats
Thursday, October 11, 2007
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Kawthaung Glimpse 2008
Blog Archive
-
▼
2007
(201)
-
▼
October
(31)
- รวบพม่าลอบเข้าเมืองคาห้องเย็นรถสิบล้อขนปลา 51 คน
- ระนองคุมเข้มน้ำมันเถื่อนหลังราคาในประเทศพุ่งสูง
- ေကာ့ေသာင္းမွ အျဖဴအစိမ္းဝတ္ နအဖေထာက္ခံပြဲတက္သူ ေက်ာ...
- How can spam e-mail help fight HIV?
- Rising Oil High Price partly due to Hedge Funds!
- Paw Oo Thet's Paintings
- Thai employees are likely to see an average salary...
- Instant Noodle, becoming Thai Basic Commodity?
- Hoang Thuy Linh's Sex Tape Kills Her Acting Career
- WidgetBucks - Another Ads Choice
- Tips to (Automatically)Keep Your (older) Blog Posts
- ตชด.ระนองจับสาวพม่าลอบเดินทางไปทำงานที่สุราษฎร์
- ตะลึง! ภาพถ่ายม้าทรงที่ภูเก็ตหัวขาด
- Global hike likely to lift retail price of diesel
- ေကာ့ေသာင္းမွသံဃာမ်ား ရေနာင္းသုိ႕ ခရီးသြားခြင့္မျပဳ
- Foreign direct investment in Asia continues to rise
- Myeik - Islands Town
- Windows XP Genuine Problem
- Male's Special Chair
- ราคาน้ำมัน
- ေကာ့ေသာင္း ကမၻာလွည့္ ခရီးသည္ ဝင္ေပါက္တြင္ Royalty ...
- การชุมนุมประท้วงต่อต้าน รัฐบาลพม่าที่ขึ้นราคาเชื้อ...
- จีน&อินเดีย The Power of the World
- น้ำป่าไหลทะลักท่วมเขตเทศบาลระนอง
- พม่าประท้วงทำการค้าชายแดน จ.ระนอง ตกกว่า 2 ล้านบาท
- ค้าชายแดนแม่สอดอ่วม สารพัดปัญหารุมเร้า หวั่นสิ้นปี...
- Photos: Monks in Street of Kawthaung on September
- Thai investment in Burma affected
- ဆင္ေပါက္၏ပင္လယ္ေပ်ာ္သီခ်င္းမ်ား
- ASTVထိုင္းမီဒီယာသူေဌးၾကီး၏ ၿမန္မာအျမင္
- What the protest really means!
-
▼
October
(31)
Visitors
Visitor Link
Misc Synopsis
- ကံေကာင္းေသာ လူငယ္မ်ားသည္ သူ႔ဘဝတြင္ "ဘယ္စာကိုဖတ္၊ ဘယ္စာကို မဖတ္နဲ႔" ဟူေသာ အၾကံေပးခ်က္မ်ိဳး ရ႐ွိခဲ့၏။ ကံဆိုးေသာ လူငယ္မ်ားသည္ ဘာအၾကံေပးခ်က္မွ မရွိပါ။ ထိုအမ်ိဳးအစားထဲမွ စိတ္ဓာတ္အင္အား ျပည့္စံုေသာ လူငယ္မ်ား၊ ႀကိဳးစားလိုေသာ လူငယ္မ်ား၊ ႐ွာေဖြစူးစမ္းလိုေသာ လူငယ္မ်ားသည္ မည္သူ႔အကူအညီမွ် မပါဝင္ဘဲ မိမိတို႔ဘာသာ သင့္ေတာ္ရာရာကို ေ႐ြးခ်ယ္ သြားတတ္ၾကသည္။ တခ်ိဳ႔ကေတာ့ သူတို႔ ဘာကိုလိုခ်င္မွန္း သူတို႔ကိုယ္တိုင္ မသိသူမ်ား ျဖစ္ၾကပါသည္။ ေလာကတြင္ မိမိဘာ လိုခ်င္သည္ဟု မွန္ကန္စြာသိ၍ မိမိ လိုခ်င္ေသာ အရာကို ရေအာင္ယူႏိုင္ေသာ လူငယ္မ်ားလည္း ႐ွိၾကသည္။ လူတေယာက္ မိမိဘဝတြင္ ဘာလိုခ်င္သည္ ဟု အတိအက် သိလာ ရန္ စာအုပ္မ်ားစြာက တြန္းအားေပးႏိုင္သည္ဟု ကြၽန္မ ထင္ပါသည္။ ဂ်ဴး
- ဂန္ဘာရီနဲ ့နအဖ တို ့ရဲ ့ကေလးကလား လုပ္ရပ္မ်ား - နဖအ က ေဒၚစုကို ေနအိမ္မွာအက်ယ္ခ်ဳပ္ခ်ထားတာ တကမၻာလံုးသိပါတယ္။ ဘယ္လိုေနအိမ္မွာအက်ယ္ခ်ဳပ္ခ်ထားလဲဆိုရင္ အိမ္ေရွ ့တခါးကိုေသာ့နဲ ့ခတ္ထားတယ္။ ေဒၚစုျခံ၀န္းထဲမွာ စစ္တပ္ခ်ထားတယ္။ ေဒၚစုကို ေတြ ့ခ်င္တယ္တဲ့သူေတြက သူတို ့က ၀င္ေစဆိုတဲ့အမိန္ ့ရမွာ၀င္လို ့ရတယ္။ ေဒၚစု ရဲ က်မာေရးကို တာ၀န္ခံထားတဲ့ေဒါက္တာတင္မ်ိဳး၀င္းေတာင္ ၀င္ေတြ ့ျခင္တိုင္း၀င္ေတြ ့လို ့မရဘူး။ သန္းေရြ ရဲ ့ခြင့္ျပဳခ်က္ရမွေဒၚစုကိုေတြ ့ခြင့္ရတယ္။ ေဒၚစုေရွ ေနက ေဒၚစုကို ေတြ ့ျခင္တိုင္းေတြ ့လို ့မရဘူး။ အန္အဲလ္ဒီစီအီစီ ဆိုရင္လည္း ေဒၚစုကို အိမ္မွာေတာင္ေတြ ့ခြင့္မရၾကဘူး။ ဒီလို အေျခအေနမ်ိဳးမွာ ဂန္ဘာရီ ကိုယ္စားလွယ္နဲ ့ နအဖ ကိုယ္စားလွယ္က ေဒၚစုအိမ္ေရွ ့ကိုသြားျပီး ေဒၚေအာင္ဆန္းစုၾကည္ ဂန္ ဘာရီက ေတြ ့ျခင္လို ့ပါလို ့ အိမ္ေရွ ့ကေန ေလာစပီကာနဲ ့သြားေအာ္ေနတာ အေတာ့ကို ကေလးကလားဆန္ျပီ အရူးထတဲ့လုပ္ရပ္ျဖစ္ပါတယ္။ က်ေနာ္ေမးျခင္တာက သူတို ့မွာ ေဒၚစုအိမ္ကိုခတ္ထားတဲ့ေသာ့ရိွရဲ ့သားနဲ ့ဖြင့္ျပီး ၀င္သြားလိုက္ၾကပါလား။ အိမ္ကိုေသာ့ခတ္ထားတဲ့သူက တခါးဖြင့္ေပးပါလို ့ေအာ္ေနတာကေတာ့ အေတာကိုညဏ္နည္းလွၾကပါတယ္။ Ko Moe Thee Blog
- အဲဒီသ၀ဏ္လႊာနဲ႔ ပတ္သက္ၿပီး မေလးရွား၀န္ႀကီးခ်ဳပ္ ဘာဒါ၀ီက ျမန္မာႏိုင္ငံအေနနဲ႔ အာဆီယံရဲ႕ ျပည္တြင္း ေရး မစြက္ဖက္ေရးမူကို အကာအကြယ္မယူသင့္ဘူးလို႔ မိန္႔ခြန္းမွာ ထည့္သြင္းေျပာၾကားသြားပါတယ္။ ဒါ့အျပင္ အာဆီယံရဲ႕ အဓိကအဖြဲ႔၀င္ႏိုင္ငံျဖစ္တဲ့ မေလးရွားႏိုင္ငံက အဖြဲ႔ႀကီးရဲ႕ အဓိကမူတရပ္ျဖစ္တဲ့ ျပည္တြင္းေရး မစြက္ဖက္ေရးမူကို ျပန္လည္အနက္အဓိပၸၸၸၸၸါယ္ ဖြင့္ဆိုသင့္ၿပီလို႔ ေျပာၾကားခဲ့ပါတယ္။ / Dr.LwanSwe
- ရွစ္ေလးလံုး အေရးအခင္းနဲ႔အတူ နာဂစ္မုန္တိုင္းအေပၚ စစ္အစိုးရ တံု႔ျပန္မႈဟာ ျမန္မာႏိုင္ငံတြင္း မွာရွိတဲ့ အႀကီးမားဆံုး လူ႔အခြင့္အေရး ခ်ိဳးေဖာက္မႈေတြရဲ႕ “နိဂံုး” ျဖစ္မယ္လုိ႔ လူအမ်ားစုက ေမွ်ာ္ လင့္ထားၾကတယ္။ ဒါေပမယ့္ နိဂံုးျဖစ္ျဖစ္၊ မျဖစ္ျဖစ္ ဒီတႀကိမ္ေတာ့ ျမန္မာ့အေရးဟာ ျမန္မာ ႏိုင္ငံသားေတြ (“၈၈မ်ိဳးဆက္” ေက်ာင္းသားေတြဟာ ရဲ၀ံ့စြာနဲ႔ ေရွ႕ကေန ဦးေဆာင္ေနတယ္) တင္ မကေတာ့ဘူး ကုလသမဂၢ လံုျခံဳေရးေကာင္စီနဲ႔ ျမန္မာႏိုင္ငံရဲ႕ အာရွအိမ္နီးခ်င္းႏိုင္ငံေတြရဲ႕ ႏိုင္ငံေရး ဆႏၵေပၚမွာလည္း မူတည္ေနပါတယ္။ အႏွစ္ (၂၀) ဆိုတာ ရွည္လ်ားတဲ့ အခ်ိန္ကာလ ျဖစ္ေပမယ့္ သိပ္ေတာ့ ေနာက္မက်ေသးပါဘူး။ / New Era Journal
- Failed States Index 2008 - အားလံုးေပါင္း ၁၂ ခုရွိတဲ့ စံညႊန္းေတြထဲမွာ ျမန္မာႏိုင္ငံဟာ လူ႔အခြင့္အေရးစံညႊန္းမွာ အဖိႏွိပ္ခံရဆံုး တဖက္စြန္းမွာေရာက္ေနၿပီး ျပည္ပစြက္ဖက္မႈမွာေတာ့ အေစာကေရးသလို အနည္းဆံုးပါ၊ ဒီႏွစ္ခုက အမ်ားဆံုး နဲ႔ အနည္းဆံုး အစြန္းႏွစ္ဖက္ ေရာက္ေနတာကလြဲလို႔ က်န္တာေတြက ထိပ္ဆံုးမေရာက္တေရာက္မွာ။ ၂၀၀၅ တုန္းက ထိပ္ဆံုး ၂၀ ထဲမွာ ျမန္မာမပါဘူး၊ ၂၀၀၆ က်ေတာ့ နံပါတ္ ၁၈ နဲ႔ အေရွ႔တက္လာတယ္၊ ၂၀၀၇ မွာ အဆင့္ ၁၄၊ ေဟာ၊ အခု ၂၀၀၈ မွာ အဆင့္ ၁၂ ျဖစ္သြားၿပီ။ ဒီလို တႏိုင္ငံလံုးခ်ီၿပီး ညံ့ဖ်င္းေနတာ ဦးေဆာင္လမ္းျပေနတဲ့ေခါင္းေဆာင္ တာဝန္မကင္းဘူး၊ ဒါေၾကာင့္ ႏိုင္ငံေတြစာရင္းအျပင္ ေခါင္းေဆာင္ေတြရဲ့ စာရင္းကိုလည္း ျပဳစုထုတ္ျပန္ထားတယ္။ Degolar
0 comments:
Post a Comment