Wednesday, August 8, 2007

การผสมปุ๋ยใช้เอง

Ref :www.doae.go.th
ปัจจุบันแม้ว่าจะมีปุ๋ยสำเร็จรูปวางจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดทั่วๆไปแต่มักจะมีราคาแพง และขาดแคลนอยู่เป็นประจำโดยเฉพาะปุ๋ยเคมีสูตรที่มีการใช้มากๆ เช่น ปุ๋ยเคมี สูตร 16 – 20 – 0, 16 – 16 – 8, 15 – 15 - 15, 13 – 13 - 21 และ12 – 24 - 12 เป็นต้น ดังนั้นการผสมปุ๋ยใช้เองของเกษตรกรเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ และยังทำให้ประหยัดเงินได้อีก 10 - 20 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เวลาและแรงงานในครัวเรือน ให้เป็นประโยชน์และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การผสมปุ๋ยใช้เอง คือ การที่เกษตรกรนำเอาแม่ปุ๋ยชนิดต่างๆมาผสมกันเพื่อให้ได้สูตรตามที่ต้องการ
ก่อนที่เกษตรกรจะผสมปุ๋ยใช้เอง ควรมีความรู้พื้นฐาน ดังต่อไปนี้



สูตรปุ๋ย หมายถึง ปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P2O5) และโพแทสเซียม(K2O)
ที่มีอยู่ในปุ๋ยคิดเป็นร้อยละโดยน้ำหนักของปุ๋ยทั้งหมดและจะบอกเรียงกันตามลำดับ N-P2 O5 –K2 O เช่น ปุ๋ยสูตร 13-13-21 แสดงว่าปุ๋ยนี้มีธาตุไนโตรเจนร้อยละ 13 ฟอสฟอรัส ร้อยละ 13 และโพแทสเซียมร้อยละ 21 ของปริมาณน้ำหนักตามลำดับ หรืออาจกล่าวได้ว่าปุ๋ยสูตร 13-13-21 จำนวน 100 กิโลกรัมมีธาตุไนโตรเจน จำนวน 13 กิโลกรัม มีธาตุฟอสฟอรัส จำนวน 13 กิโลกรัม และธาตุโพแทสเซียม จำนวน 21 กิโลกรัม

เรโชปุ๋ย หมายถึง ค่าหรือข้อมูลที่บอกสัดส่วนระหว่างปริมาณของธาตุอาหาร ไนโตรเจน(N)
ฟอสฟอรัส(P2O5 ) โพแทสเซียม(K 2 O) อยู่ในสูตรปุ๋ย เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จะมีเรโชปุ๋ย 1:1:1 เป็นต้น

อัตราปุ๋ย หมายถึง ปริมารปุ๋ยแต่ละสูตรที่ใส่ให้กับพืชต่อพื้นที่ หนึ่งไร่ หรือต่อหนึ่งต้น หรือปริมาณปุ๋ย
ที่ใช้เป็นกรัมละลายน้ำจำนวนหนึ่งถัง เพื่อใช้รดหรือฉีดให้ทางใบของต้นพืช เช่น ปลูกข้าวใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ในนาดินเหนียว อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านรองพื้นก่อนปักดำ

แม่ปุ๋ย หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่นำมาใช้ทำปุ๋ยผสมสูตรต่างๆ ผลิตขึ้นมา โดยมีปริมาณธาตุอาหาร
ในสูตรเข้มข้นมาก เช่น ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (18-46-0) ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรค์ (0-0-60) ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)

สารตัวเติม หมายถึง สารที่ใช้ในการผสมปุ๋ย เพื่อจะเพิ่มน้ำหนักของปุ๋ยที่ผสมให้ครบร้อยของหน่วย
น้ำหนัก และจะทำให้ได้ปุ๋ยผสมสูตรที่ต้องการ เช่น ดินร่วน ทราย ขี้เลื่อย แป้ง โดโลไมท์ ซิลิก้า และลูกรัง

ขั้นตอนการผสมปุ๋ยใช้เอง

1. กำหนดประเภทและสูตรปุ๋ย : ควรจะพิจารณาว่าต้องการผสมปุ๋ยสูตรอะไรและใช้กับพืชอะไร
ให้สอดคล้องกับหลักทางวิชาการ เช่น ปุ๋ยสูตร 16-16-8 ใช้กับนาข้าว ดินทราย ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ใช้กับนาข้าวดินเหนียว เป็นต้น และควรจะคิดด้วยว่าจะต้องใช้ปุ๋ยสูตรที่ต้องการเป็นปริมาณเท่าไร เช่น ทำนาข้าวพันธุ์ไวแสงในดินทราย จำนวน 4 ไร่ คำแนะนำทางวิชาการให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ดังนั้นต้องการใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-8 ทั้งหมดคือ 25X4 =100 กิโลกรัม เป็นต้น

2. กำหนดชนิดของแม่ปุ๋ย : ควรมีหลักเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้
2.1 สูตรปุ๋ยและปริมาณธาตุอาหารรวม : ต้องทราบสูตรปุ๋ยที่ต้องการ เพื่อจะดูว่ามีปริมาณ
ธาตุอาหารสูงปานกลาง หรือต่ำ และมีสัดส่วนของปริมาณธาตุอาหารเป็นอย่างไร ทั้งนี้เพื่อจะได้เลือกชนิดแม่ปุ๋ยได้อย่างถูกต้อง เช่น ปุ๋ยผสมสูตร 16-16-8 แม่ปุ๋ยที่น่าเหมาะสม ได้แก่ แม่ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (18-46-0) ยูเรีย (46-0-0)และแม่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรค์ (0-0-60) , ปุ๋ยผสมสูตร 8-24-24 แม่ปุ๋ยที่เหมาะสม ได้แก่ แม่ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (18-46-0) โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต (11-48-0) และแม่ปุ๋ยโพแทสเซี่ยมคลอไรค์ (0-0-60) เป็นต้น
2.2 สมบัติความเข้ากันได้ของแม่ปุ๋ย: แม่ปุ๋ยที่จะนำมาผสมกันต้องผสมกันได้ดีและไม่ทำปฏิกิริยากัน
ความเข้ากันได้ หมายถึง แม่ปุ๋ยหรือวัตถุดิบทุกชนิดที่กำหนดโดยการคำนวณไว้ตามสูตร
เมื่อนำมาผสมกันแล้วจะต้องผสมเข้ากันได้โดยไม่เกิดปฏิกิริยาที่จะทำให้ปุ๋ยที่ผลิตผลิตได้มีคุณภาพไม่เหมาะสม หรือไม่ตรงตามที่ต้องการโดยเฉพาะอย่างยิ่งความชื้นแฉะและจับตัวเป็นก้อนแข็ง สรสิทธิ์ วัชโรทยานและปิยะ ดวงพัตรา (2535) ได้ศึกษาความสามารถความเข้ากันได้ของแม่ปุ๋ยแต่ละชนิด ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แสดงความเข้ากันได้ของแม่ปุ๋ยบางชนิดเมื่อนำมาผสมกัน


2.3 ขนาดของเม็ดปุ๋ย : แม่ปุ๋ยที่ใช้ต้องมีขนาดเม็ดปุ๋ยใกล้เคียงกันและมีการกระจายขนาด
ของเม็ดปุ๋ยที่สม่ำเสมอ เพราะเมื่อนำมาผสมกันแล้วจะได้ปุ๋ยผสมที่มีคุณภาพดี ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการแยกตัวของแม่ปุ๋ยแต่ละตัว เช่น ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรค์ (0-0-60) ชนิดเม็ด จะเหมาะสมกับการนำมาผสมปุ๋ยใช้เองมากกว่าชนิดผง เพราะว่าเมื่อนำมาผสมกับแม่ปุ๋ยชนิดอื่นมักจะตกอยู่ใต้กองและไม่เข้ากัน เป็นต้น

2.4 รูปทางเคมีของธาตุอาหารหลักในแม่ปุ๋ย : ปุ๋ยผสมที่จะผลิตออกมาใช้ต้องทราบว่า
จะนำมาใช้สำหรับพืชกลุ่มใด และควรเลือกแม่ปุ๋ยให้เหมาะสมตามหลักวิชาการ เช่น แม่ปุ๋ยไนโตรเจนที่จะนำมาใช้กับข้าวควรใช้แม่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนในรูป แอมโมเนียมไนโตรเจน (NH 4 -N) หรืออมีดไนโตรเจน ( NH2 –N) เท่านั้น ถ้านำไปใช้กับพืชไร่สามารถใช้แม่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนในรูป แอมโมเนียมไนโตรเจน (NH 4 -N) หรืออมีดไนโตรเจน (NH 2 -N) หรือ ไนเตรทไนโตรเจน (NO3 -N) ได้ เป็นต้น

2.5 ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารปุ๋ย : ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของชนิดแม่ปุ๋ย
ที่จะนำมาผสมกันควรเลือกชนิดที่มีราคาต่อหน่วยน้ำหนักต่ำที่สุด เช่น ปุ๋ยสูตร 21 – 0 - 0 ราคากระสอบละ 250 บาท กับปุ๋ยสูตร 46 – 0 - 0 ราคากระสอบละ 250 บาท เท่ากันควรเลือกใช้แม่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 เนื่องจากเมื่อคิดราคาต่อน้ำหนักธาตุอาหารที่มีอยู่ในแม่ปุ๋ยทั้งสองสูตรแล้วแม่ปุ๋ยสูตร 46 – 0 - 0 ราคากิโลกรัมละ 10.87 บาท ขณะที่แม่ปุ๋ยสูตร 21 – 0 - 0 ราคากิโลกรัมละ 23.81 บาท เป็นต้น

3. การคำนวณสูตรปุ๋ย : ปุ๋ยที่จะใช้ผสมคำนวณมาจากเปอร์เซ็นต์ธาตุไนโตรเจน ธาตุฟอสฟอรัส
และธาตุโพแทสเซียม ที่มีอยู่ในปุ๋ยผสมตามเกรดที่เราต้องการ เช่น

ตัวอย่าง ต้องการปุ๋ยสูตร 16-16-8 จำนวน 100 กิโลกรัม จะต้องใช้แม่ปุ๋ยชนิดต่างๆ อย่างละกี่กิโลกรัม

ชนิดแม่ปุ๋ยที่เหมาะสม คือ

- ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต[18-46-0 (DAP)]
- ยูเรีย [46-0-0 (U)]
- โพแทสเซียมคลอไรค์ [0-0-60 (MOP) ]

วิธีการคำนวณ
3.1 คำนวณหาธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P 2 O5 ) ก่อน เนื่องจากแม่ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต
(18-46-0) มีเปอร์เซ็นต์ธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์(P2 O5~) อยู่ในปุ๋ยสูงกว่าเปอร์เซ็นต์ธาตุไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ (N) มีวิธีคำนวณ ดังนี้

ปริมาณ P2 O5 46 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ย DAP = 100 กิโลกรัม
ปริมาณ P2 O5 1 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ย DAP = 100 x 1
46 กิโลกรัม
ปริมาณ P2 O5 16 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ย DAP = 100 x 16
46 กิโลกรัม
= 34.78 กิโลกรัม

เพราะฉะนั้นต้องใช้แม่ปุ๋ย 18-46-0 (DAP)= 35 กิโลกรัม

3.2 คำนวณหาปริมาณไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ (N) [ ปริมาณที่ต้องการ คือ 16 กิโลกรัม ] มีวิธีการคำนวณ ดังนี้

3.2.1 คำนวณหาปริมาณไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ว่าติดมากับแม่ปุ๋ย DAP ,มีจำนวนเท่าไร ดังนี้

แม่ปุ๋ย DAP จำนวน 100 กิโลกรัม มีปริมาณธาตุ N = 18 กิโลกรัม
แม่ปุ๋ย DAP จำนวน 1 กิโลกรัม มีปริมาณธาตุ N = 18 X 1
100 กิโลกรัม
แม่ปุ๋ย DAP จำนวน 35 กิโลกรัม มีปริมาณธาตุ N = 18 X 35
100 กิโลกรัม
ปริมาณปุ๋ยไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ติดมากับแม่ปุ๋ย DAP = 6.30 กิโลกรัม

3.2.2 คำนวณหาว่าปริมาณธาตุไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ยังขาดอีกเท่าไรจากที่ต้องการ ดังนี้

ต้องการใช้ปริมาณไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ = 16.00 กิโลกรัม
ปริมาณไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ติดมากับปุ๋ย DAP = 6.30 กิโลกรัม
เพราะฉะนั้นยังขาดปริมาณไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ = 9.70 กิโลกรัม

3.2.3 คำนวณหาปริมาณไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ที่ยังขาดจากแม่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ดังนี้

ปริมาณธาตุไนโตรเจน 46 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ยยูเรีย = 100 กิโลกรัม
ปริมาณธาตุไนโตรเจน 1 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ยยูเรีย = 100 x 1
46 กิโลกรัม
ปริมาณธาตุไนโตรเจน 9.7 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ยยูเรีย = 100 x 9.7
46 กิโลกรัม

=21.09 กิโลกรัม

เพราะฉะนั้นจะต้องใช้แม่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) = 22 กิโลกรัม

3.3 คำนวณหาปริมาณธาตุโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (K2O) [ ปริมาณที่ต้องการใช้ = 8 กิโลกรัม ] ดังนี้

ปริมาณธาตุโพแทสเซียม 60 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ย MOP = 100 กิโลกรัม
ปริมาณธาตุโพแทสเซียม 1 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ย MOP =100 x 1
60 กิโลกรัม
ปริมาณธาตุโพแทสเซียม 8 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ย MOP = 100x8
60 กิโลกรัม
เพราะฉะนั้นต้องใช้แม่ปุ๋ย MOP (0-0-60) = 14 กิโลกรัม

3.4 คำนวณหาน้ำหนักของสารตัวเติม (Filler) ที่ต้องใช้เพิ่มให้ได้ปุ๋ยผสมสูตร 16-16-8 มีน้ำหนักครบ
จำนวน 100 กิโลกรัม ดังนี้

ปุ๋ยผสมสูตร 16-16-8 จำนวน 100 กิโลกรัม มีปริมาณน้ำหนักธาตุอาหารดังนี้

แม่ปุ๋ยสูตร18-46-0 =35 กิโลกรัม+ แม่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 = 22 กิโลกรัม + แม่ปุ๋ยสูตร
0-0-60 = 14 กิโลกรัม รวมเป็น 71 กิโลกรัม เพราะฉะนั้นจะต้องเพิ่มน้ำหนักสารตัวเติม (Filler) จำนวน 100-71 = 29 กิโลกรัม

4. เตรียมเครื่องมือผสมปุ๋ยใช้เอง อุปกรณ์ที่ควรมีไว้ผสมปุ๋ย คือ

4.1 พื้นที่สำหรับผสมปุ๋ย ควรเป็นที่ราบเรียบเสมอและแห้ง หากเป็นไปได้ควรเป็นพื้นซีเมนต์
หรือดินแน่นเรียบ

4.2 พลั่ว หรือจอบ สำหรับตักและคลุกเคล้าผสมปุ๋ย

4.3 เครื่องชั่ง ขนาด 50 กิโลกรัม เพื่อชั่งน้ำหนักของแต่ละแม่ปุ๋ย

4.4 กระสอบปุ๋ย เพื่อเอาไว้ใส่ปุ๋ยที่ผสมได้และขนไปใส่ในไร่นา

4.5 แม่ปุ๋ยเคมีชนิดต่างๆ เช่น

- ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (18-46-0)
- ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60)
- ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)

4.6 ตารางกำหนดน้ำหนักแม่ปุ๋ย กรณีที่ใช้ปุ๋ยสูตรทั่วๆไป (ตามรายละเอียดภาคผนวก)

5. วิธีการผสมปุ๋ยใช้เอง: ควรปฏิบัติดังนี้

5.1 เลือกสูตรและปริมาณที่ต้องการใช้ปุ๋ยนั้นๆ เช่น ต้องการใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-8 เพื่อปลูกข้าว
ในนาดินทราย จำนวน 100 กิโลกรัม เป็นต้น
5.2 หาน้ำหนักแม่ปุ๋ยให้สอดคล้องกับสูตรและปริมาณที่ต้องการ จากตารางกำหนดน้ำหนัก
แม่ปุ๋ย หรือจากการคำนวณไว้
5.3 ชั่งน้ำหนักแม่ปุ๋ยแต่ละชนิดจากข้อ 2 เช่น ปุ๋ยสูตร 16-16-8 จำนวน 100 กิโลกรัม จะต้องใช้แม่ปุ๋ย
สูตร 18-46-0 จำนวน 35 กิโลกรัม แม่ปุ๋ยสูตร 0-0-60 จำนวน 14 กิโลกรัม และแม่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จำนวน 22 กิโลกรัม มาผสมรวมกันเป็นต้น
5.4 นำแม่ปุ๋ยแต่ละชนิดที่ได้ชั่งน้ำหนักไว้แล้วเทลงพื้นที่เรียบและแห้ง โดยควรนำเอาแม่ปุ๋ยที่ต้องใช้
ในปริมาณที่มากที่สุดเทไว้ชั้นล่างสุด ชั้นถัดมาใช้แม่ปุ๋ยที่ต้องการปริมาณปานกลางเทลงไป แล้วชั้นสุดท้ายควรเป็นแม่ปุ๋ยที่ใช้ในปริมาณต่ำสุด ตามลำดับ
5.5 ใช้จอบและพลั่ว ผสมคลุกเคล้าแม่ปุ๋ยแต่ละชนิดในกองให้เข้ากันเป็นอย่างดี
5.6 ตักปุ๋ยผสมใส่กระสอบ เพื่อขนย้ายไปใส่ในสวนต่อไป
5.7 ใส่ปุ๋ยผสมเพาะปลูกพืชตามปกติ

ข้อดีของการผสมปุ๋ยใช้เอง

1. ประหยัดค่าใช้จ่ายลง เช่น เกษตรกรต้องการใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จำนวน 1,000 กิโลกรัม
เมื่อผสมใช้เองจะมีต้นทุน ดังนี้ เป็นค่าแม่ปุ๋ยสูตร 18-46-0 จำนวน 330 กิโลกรัม เป็นเงิน 2,640 บาท แม่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จำนวน 200 กิโลกรัม เป็นเงิน 1,400 บาท และแม่ปุ๋ยสูตร 0-0-60 จำนวน 250 กิโลกรัม เป็นเงิน 1,250 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,290 บาท ดังตาราง




































เลขที่ แม่ปุ๋ย น้ำหนัก (กิโลกรัม) ราคา (บาท/กก.) เงิน (บาท)
1. 18-46-0 330 8.0 2,460
2. 46-0-0 200 7.0 1,400
3. 0-0-60 250 5.0 1,250
รวม 780 - 5,290


แต่ถ้าซื้อปุ๋ยเคมีสำเร็จรูปสูตร 15-15-15 จำนวน 1,000 กิโลกรัม ในท้องตลาด 8,000 บาท
เพราะฉะนั้นการผสมปุ๋ยใช้เองจะประหยัดเงินได้ จำนวนเท่ากับ 8,000-5,290 =2,710 บาทต่อ 1,000 กิโลกรัม
1. สามารถมีปุ๋ยสูตรต่างๆตามที่ต้องการใช้ได้เกือบทุกหลักสูตร
2. ตัดปัญหาเรื่องการต้องการปุ๋ยปลอม หรือปุ๋ยด้อยมาตรฐานมาใช้
3. เกษตรกรมีปุ๋ยสูตรตามที่ต้องการได้ทันเวลาใช้

ข้อจำกัดของการผสมปุ๋ยใช้เอง
1. เมื่อนำแม่ปุ๋ยมาผสมรวมกันแล้วจะชื้นง่าย และควรใช้ให้หมดภายใน 15 วัน
2. เกษตรกรต้องเสียเวลาและแรงงานเพิ่มขึ้น จาการศึกษาพบว่าการผสมปุ๋ยให้ได้สูตรต่างๆ
จำนวน 500 กิโลกรัม จะใช้เวลาประมาณ 30 นาที
3. แหล่งจำหน่ายแม่ปุ๋ยเคมียังมีจำนวนน้อยและหาซื้อได้ลำบาก นอกจากนี้การกำหนดราคา
ของแม่ปุ๋ยยังขึ้นอยู่กับพ่อค้านำเข้าส่วนใหญ่
4. ความน่าใช้และความสวยงามของแม่ปุ๋ยผสมเอง มักจะด้อยกว่าปุ๋ยเคมีสำเร็จรูป

0 comments:

Template by : kendhin x-template.blogspot.com