ปี 2553 เมื่ออ่างเก็บน้ำคลองหาดส้มแป้น แล้วเสร็จ
ระนองจะไม่ขาดแคลนน้ำ
ระนองเป็นจังหวัดเล็ก ๆ มีพื้นที่เพียง 3,298 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครอง ออกเป็น 5 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอกระบุรี อำเภอกะเปอร์ อำเภอละอุ่น และอำเภอสุขสำราญ
ระนองเป็นจังหวัดที่มีฝนตกชุกมากแห่งหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากอยู่ติดกับทะเลอันดามัน ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตก เฉียงใต้ แต่ด้วยเพราะความลาดชันของลักษณะ ภูมิประเทศ ทำให้น้ำฝนที่ตกลงมาเป็นปริมาณมากไหลลงสู่ทะเลอย่างรวดเร็ว ประกอบกับมีเพียงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก เช่น การขุดลอกคลอง ขุดสระ ทำเหมืองฝายกั้นน้ำ ที่มีจำนวนมากกว่า 100 โครงการ แต่ก็ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ในปริมาณที่มากเพียงพอกับความต้องการ ฤดูแล้งจึงขาดแคลนน้ำโดยเฉพาะในเขตเทศบาลเมืองระนอง บางแห่งต้องใช้น้ำบ่อ น้ำบาดาล หรือ ซื้อน้ำจากรถที่นำมาเร่ขาย ส่วนฤดูฝนจะเกิดน้ำหลากท่วมอย่างฉับพลัน
การพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำให้เต็มศักยภาพตามความเหมาะสมจึงเป็นวิธีการหนึ่ง ที่จะแก้ไขปัญหาในเรื่องน้ำที่เกิดขึ้นที่จังหวัดระนอง ซึ่งกรมชลประทานได้วางแผนสร้างแหล่ง เก็บกักน้ำขนาดกลาง 8 โครงการ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำคลองเคียนงาม อ่างเก็บน้ำคลองจั่น อ่างเก็บน้ำคลองละอุ่น อ่างเก็บน้ำคลองวัน อ่างเก็บน้ำคลองกระบุรีตอนล่าง อ่างเก็บน้ำคลองบางริ้น อ่างเก็บน้ำคลองกะเปอร์ และอ่างเก็บน้ำคลองหาดส้มแป้น
สำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำในคลองหาดส้มแป้น ปัจจุบันมีเพียงการก่อสร้างฝายขนาดเล็ก จำนวน 7 แห่ง ซึ่งลักษณะของฝายเก็บน้ำได้เพียงเล็กน้อยประชาชนในพื้นที่จึงขาดแคลนน้ำแม้ แต่การอุปโภคบริโภค ขณะเดียวกันคลองหาดส้มแป้นยังเป็นลุ่มน้ำขนาดเล็ก มีลำน้ำแคบ แต่มีความสูงชันทำให้น้ำไหลแรง ช่วงฤดูฝนปริมาณน้ำจะมากเกินความจำเป็นจนเกิดภาวะน้ำท่วม ส่วนฤดูแล้งปริมาณน้ำจะลดลงอย่างมาก น้ำที่มีอยู่ไหลออกสู่ทะเลฝั่งอันดามันในเวลารวดเร็ว จึงทำให้สภาพน้ำแห้งขอด
นอกจากนี้ยังมีการก่อสร้างเหมืองแร่ดินขาวในพื้นที่ต้นน้ำทำให้น้ำมีการปน เปื้อนของตะกอนและมีความขุ่นสูง ซึ่งการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองหาดส้มแป้นจะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้
จุดเริ่มต้นของการสร้างอ่างเก็บน้ำคลองหาดส้มแป้นเกิดจากที่การประปาส่วน ภูมิภาคได้ขอให้กรมชลประทานช่วยดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อเป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปาการบรรเทาอุทกภัยและการเกษตรในเขต เทศบาลเมืองระนองและพื้นที่รอบนอกเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2527 และต่อมาในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จฯจังหวัดระนอง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2530 นายกเทศมนตรีเมืองระนองและราษฎร ได้เฝ้ารับเสด็จและถวายฎีกาขอพระราชทานก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองหาดส้มแป้น
มาจนถึงวันนี้ กรมชลประทานน้อมรับฎีกาทุ่มงบกว่า 324 ล้านบาท ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองหาดส้มแป้นเป็นโครงการที่สามารถเก็บน้ำได้มากถึง 10 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำให้ชาวระนอง ลักษณะเป็นเขื่อนดินตั้งอยู่ที่บ้านทอนเรียน ต.หาดส้มแป้น อ.เมือง จ.ระนอง กำหนดแล้วเสร็จในปี 53 มั่นใจจะช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำประปารวมทั้งบรรเทาน้ำท่วมในฤดูฝนและมีน้ำ สนับสนุนด้านอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวได้เพิ่มมากขึ้น
นายธีรวัฒน์ ตั้งพานิชย์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า “เมื่อการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองหาดส้มแป้นแล้วเสร็จจะทำให้จังหวัดระนองมี แหล่งน้ำต้นทุนในการส่งน้ำดิบให้กับการประปาเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคการ อุตสาห กรรม และรักษาระบบนิเวศได้ตลอดทั้งปี ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำในอนาคตได้ในระดับหนึ่ง รวมทั้งยังจะเป็นแหล่งกักเก็บน้ำที่สามารถช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดู น้ำหลากได้”
โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหาดส้มแป้นเมื่อแล้วเสร็จนอกจากจะเอื้ออำนวยต่อเป้า หมายหลักของการก่อสร้างโดยตรงดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว โครงการฯ ยังสามารถใช้ประโยชน์ในการ เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดระนองได้อีกด้วย ขณะเดียวกันยังใช้ประโยชน์ในการเป็นแหล่งประมงน้ำจืดและแหล่งขยายพันธุ์ปลา ให้กับพื้นที่ ซึ่งจะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ตลอดทั้งใช้ประโยชน์ในการผลักดันน้ำเค็มพื้นที่บริเวณปากคลองหาดส้มแป้นที่ สองฝั่งคลองจะเป็นพื้นที่การเพาะปลูกพืชทางการเกษตรที่สำคัญของจังหวัดระนอง อีกด้วย.
GoogleCyberSearch
Shared Items
Labels
- ႐ႊင္ျမဴးစရာ (3)
- Agri and Fishery (11)
- Art and Literature (2)
- Dhamma - Beliefs (7)
- Earth-Weather-Travel (8)
- Economy-Business-Finance (22)
- Energy (4)
- Fun/Humor (10)
- General (1)
- Health (3)
- History - Politics (11)
- Ideas - Opinions (6)
- IT (22)
- Life Style (7)
- Local (21)
- Society - Community (1)
- Technology (14)
- Travel (4)
- การเกษตร (2)
- ขำขัน (8)
- ท่องเทียว (4)
- เทคโนโลยี (11)
- เทคโนโลยี-วิทยาศาสตร์ (3)
- ธุรกิจ (4)
- บ้า้นและครอบครัว (1)
- ประวัติศาสตร์ (2)
- ปรัชญา - ธรรมะ (10)
- พม่า (11)
- พลังงาน (5)
- ระีนอง - เกาะสอง (25)
- เศรษฐกิจ (10)
- สังคม (9)
- สัตว์น้ำและอาหารทะเล (10)
- สุขภาพ - อาหาร (12)
- ကမၻာေျမ (2)
- က်န္းမာေရး (8)
- ခရီးသြားျခင္း (5)
- စားဝတ္ေနေရး (8)
- စာေပ၊ ယဥ္ေက်းမႈ (5)
- စီးပြား၊ကုန္သြယ္ (32)
- စုိက္ပ်ဳိးေရး (6)
- ဓမၼ - ဂမၺီရ (5)
- မိုးေလဝသ (1)
- ျပည္ျမန္မာ (13)
- လူမႈဘဝ (8)
- သိပၸံႏွင္႔နည္းပညာ (16)
- သီခ်င္းမ်ား (2)
- အေတြးအျမင္ (6)
- အေထြေထြ (8)
- ေဒသသတင္း (24)
- ေရလုပ္ငန္း (14)
- ႏိုင္ငံေရး (11)
Contact to Blogmaster at kawthaung@gmail.com
Vistors Stats
Friday, May 30, 2008
ระนองจะไม่ขาดแคลนน้ำ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Kawthaung Glimpse 2008
Blog Archive
-
▼
2008
(172)
-
▼
May
(22)
- Crime Against Humanity?
- ပင္လယ္ ငါးဖမ္း လုပ္ငန္းမ်ား ေမလအကုန္ စတင္ႏုိင္ရန္ ...
- Let them eat frogs
- ระนองจะไม่ขาดแคลนน้ำ
- Why Thai Fuel Price 40B stills Raw Crude Oil aroun...
- ปลาหมึกเลี้ยงในกระชังได้
- Cold-fusion demonstration "a success"
- จับกระแส : โครงการปลูกต้นสบู่ดำ พลังงานทางเลือกหรื...
- Forget the bulb: world’s first illuminating glass
- DEATH-TRUCK TRAGEDY : Burmese survivors sent home
- โฆษณาน้ำยาบ้วนปาก Listerine
- Stock investment, with safety
- 'มาม่า' ซองละ 50 บาท + พม่าอ่วม! ขาดแคลนน้ำ-อาหารร...
- ไทยชงพม่าลดเวลาอยู่ในพท.ชายแดน จาก7วันเหลือเช้ามาเ...
- พม่าอัตคัดปันส่วนข้าวคนละ5กก.
- Thais invited to help build deep-sea port at Tavoy...
- Rain threatens Myanmar survivors
- ชาวพม่าเกาะสองร่วมลงประชามติ รธน.ราบรื่น
- Nargis Cyclone Hits Myanmar Aquaculture Industry
- ဆုပ္လည္း စူး စားလည္းရူး
- เมืองมะลิวัน on Thai History Record
- Myanmar Cyclone Data in Google Earth
-
▼
May
(22)
Visitors
Visitor Link
Misc Synopsis
- ကံေကာင္းေသာ လူငယ္မ်ားသည္ သူ႔ဘဝတြင္ "ဘယ္စာကိုဖတ္၊ ဘယ္စာကို မဖတ္နဲ႔" ဟူေသာ အၾကံေပးခ်က္မ်ိဳး ရ႐ွိခဲ့၏။ ကံဆိုးေသာ လူငယ္မ်ားသည္ ဘာအၾကံေပးခ်က္မွ မရွိပါ။ ထိုအမ်ိဳးအစားထဲမွ စိတ္ဓာတ္အင္အား ျပည့္စံုေသာ လူငယ္မ်ား၊ ႀကိဳးစားလိုေသာ လူငယ္မ်ား၊ ႐ွာေဖြစူးစမ္းလိုေသာ လူငယ္မ်ားသည္ မည္သူ႔အကူအညီမွ် မပါဝင္ဘဲ မိမိတို႔ဘာသာ သင့္ေတာ္ရာရာကို ေ႐ြးခ်ယ္ သြားတတ္ၾကသည္။ တခ်ိဳ႔ကေတာ့ သူတို႔ ဘာကိုလိုခ်င္မွန္း သူတို႔ကိုယ္တိုင္ မသိသူမ်ား ျဖစ္ၾကပါသည္။ ေလာကတြင္ မိမိဘာ လိုခ်င္သည္ဟု မွန္ကန္စြာသိ၍ မိမိ လိုခ်င္ေသာ အရာကို ရေအာင္ယူႏိုင္ေသာ လူငယ္မ်ားလည္း ႐ွိၾကသည္။ လူတေယာက္ မိမိဘဝတြင္ ဘာလိုခ်င္သည္ ဟု အတိအက် သိလာ ရန္ စာအုပ္မ်ားစြာက တြန္းအားေပးႏိုင္သည္ဟု ကြၽန္မ ထင္ပါသည္။ ဂ်ဴး
- ဂန္ဘာရီနဲ ့နအဖ တို ့ရဲ ့ကေလးကလား လုပ္ရပ္မ်ား - နဖအ က ေဒၚစုကို ေနအိမ္မွာအက်ယ္ခ်ဳပ္ခ်ထားတာ တကမၻာလံုးသိပါတယ္။ ဘယ္လိုေနအိမ္မွာအက်ယ္ခ်ဳပ္ခ်ထားလဲဆိုရင္ အိမ္ေရွ ့တခါးကိုေသာ့နဲ ့ခတ္ထားတယ္။ ေဒၚစုျခံ၀န္းထဲမွာ စစ္တပ္ခ်ထားတယ္။ ေဒၚစုကို ေတြ ့ခ်င္တယ္တဲ့သူေတြက သူတို ့က ၀င္ေစဆိုတဲ့အမိန္ ့ရမွာ၀င္လို ့ရတယ္။ ေဒၚစု ရဲ က်မာေရးကို တာ၀န္ခံထားတဲ့ေဒါက္တာတင္မ်ိဳး၀င္းေတာင္ ၀င္ေတြ ့ျခင္တိုင္း၀င္ေတြ ့လို ့မရဘူး။ သန္းေရြ ရဲ ့ခြင့္ျပဳခ်က္ရမွေဒၚစုကိုေတြ ့ခြင့္ရတယ္။ ေဒၚစုေရွ ေနက ေဒၚစုကို ေတြ ့ျခင္တိုင္းေတြ ့လို ့မရဘူး။ အန္အဲလ္ဒီစီအီစီ ဆိုရင္လည္း ေဒၚစုကို အိမ္မွာေတာင္ေတြ ့ခြင့္မရၾကဘူး။ ဒီလို အေျခအေနမ်ိဳးမွာ ဂန္ဘာရီ ကိုယ္စားလွယ္နဲ ့ နအဖ ကိုယ္စားလွယ္က ေဒၚစုအိမ္ေရွ ့ကိုသြားျပီး ေဒၚေအာင္ဆန္းစုၾကည္ ဂန္ ဘာရီက ေတြ ့ျခင္လို ့ပါလို ့ အိမ္ေရွ ့ကေန ေလာစပီကာနဲ ့သြားေအာ္ေနတာ အေတာ့ကို ကေလးကလားဆန္ျပီ အရူးထတဲ့လုပ္ရပ္ျဖစ္ပါတယ္။ က်ေနာ္ေမးျခင္တာက သူတို ့မွာ ေဒၚစုအိမ္ကိုခတ္ထားတဲ့ေသာ့ရိွရဲ ့သားနဲ ့ဖြင့္ျပီး ၀င္သြားလိုက္ၾကပါလား။ အိမ္ကိုေသာ့ခတ္ထားတဲ့သူက တခါးဖြင့္ေပးပါလို ့ေအာ္ေနတာကေတာ့ အေတာကိုညဏ္နည္းလွၾကပါတယ္။ Ko Moe Thee Blog
- အဲဒီသ၀ဏ္လႊာနဲ႔ ပတ္သက္ၿပီး မေလးရွား၀န္ႀကီးခ်ဳပ္ ဘာဒါ၀ီက ျမန္မာႏိုင္ငံအေနနဲ႔ အာဆီယံရဲ႕ ျပည္တြင္း ေရး မစြက္ဖက္ေရးမူကို အကာအကြယ္မယူသင့္ဘူးလို႔ မိန္႔ခြန္းမွာ ထည့္သြင္းေျပာၾကားသြားပါတယ္။ ဒါ့အျပင္ အာဆီယံရဲ႕ အဓိကအဖြဲ႔၀င္ႏိုင္ငံျဖစ္တဲ့ မေလးရွားႏိုင္ငံက အဖြဲ႔ႀကီးရဲ႕ အဓိကမူတရပ္ျဖစ္တဲ့ ျပည္တြင္းေရး မစြက္ဖက္ေရးမူကို ျပန္လည္အနက္အဓိပၸၸၸၸၸါယ္ ဖြင့္ဆိုသင့္ၿပီလို႔ ေျပာၾကားခဲ့ပါတယ္။ / Dr.LwanSwe
- ရွစ္ေလးလံုး အေရးအခင္းနဲ႔အတူ နာဂစ္မုန္တိုင္းအေပၚ စစ္အစိုးရ တံု႔ျပန္မႈဟာ ျမန္မာႏိုင္ငံတြင္း မွာရွိတဲ့ အႀကီးမားဆံုး လူ႔အခြင့္အေရး ခ်ိဳးေဖာက္မႈေတြရဲ႕ “နိဂံုး” ျဖစ္မယ္လုိ႔ လူအမ်ားစုက ေမွ်ာ္ လင့္ထားၾကတယ္။ ဒါေပမယ့္ နိဂံုးျဖစ္ျဖစ္၊ မျဖစ္ျဖစ္ ဒီတႀကိမ္ေတာ့ ျမန္မာ့အေရးဟာ ျမန္မာ ႏိုင္ငံသားေတြ (“၈၈မ်ိဳးဆက္” ေက်ာင္းသားေတြဟာ ရဲ၀ံ့စြာနဲ႔ ေရွ႕ကေန ဦးေဆာင္ေနတယ္) တင္ မကေတာ့ဘူး ကုလသမဂၢ လံုျခံဳေရးေကာင္စီနဲ႔ ျမန္မာႏိုင္ငံရဲ႕ အာရွအိမ္နီးခ်င္းႏိုင္ငံေတြရဲ႕ ႏိုင္ငံေရး ဆႏၵေပၚမွာလည္း မူတည္ေနပါတယ္။ အႏွစ္ (၂၀) ဆိုတာ ရွည္လ်ားတဲ့ အခ်ိန္ကာလ ျဖစ္ေပမယ့္ သိပ္ေတာ့ ေနာက္မက်ေသးပါဘူး။ / New Era Journal
- Failed States Index 2008 - အားလံုးေပါင္း ၁၂ ခုရွိတဲ့ စံညႊန္းေတြထဲမွာ ျမန္မာႏိုင္ငံဟာ လူ႔အခြင့္အေရးစံညႊန္းမွာ အဖိႏွိပ္ခံရဆံုး တဖက္စြန္းမွာေရာက္ေနၿပီး ျပည္ပစြက္ဖက္မႈမွာေတာ့ အေစာကေရးသလို အနည္းဆံုးပါ၊ ဒီႏွစ္ခုက အမ်ားဆံုး နဲ႔ အနည္းဆံုး အစြန္းႏွစ္ဖက္ ေရာက္ေနတာကလြဲလို႔ က်န္တာေတြက ထိပ္ဆံုးမေရာက္တေရာက္မွာ။ ၂၀၀၅ တုန္းက ထိပ္ဆံုး ၂၀ ထဲမွာ ျမန္မာမပါဘူး၊ ၂၀၀၆ က်ေတာ့ နံပါတ္ ၁၈ နဲ႔ အေရွ႔တက္လာတယ္၊ ၂၀၀၇ မွာ အဆင့္ ၁၄၊ ေဟာ၊ အခု ၂၀၀၈ မွာ အဆင့္ ၁၂ ျဖစ္သြားၿပီ။ ဒီလို တႏိုင္ငံလံုးခ်ီၿပီး ညံ့ဖ်င္းေနတာ ဦးေဆာင္လမ္းျပေနတဲ့ေခါင္းေဆာင္ တာဝန္မကင္းဘူး၊ ဒါေၾကာင့္ ႏိုင္ငံေတြစာရင္းအျပင္ ေခါင္းေဆာင္ေတြရဲ့ စာရင္းကိုလည္း ျပဳစုထုတ္ျပန္ထားတယ္။ Degolar
0 comments:
Post a Comment