ไทย ชงพม่าผ่านที่ประชุมคณะกรรมการชายแดน TBC แก้ไขข้อตกลงว่าด้วยการข้ามแดนระหว่างประเทศ ย่นระยะเวลาการพำนักในพื้นที่ชายแดน จาก 7 วัน ลดเหลือ 1 วัน สำหรับผู้ถือบัตรผ่านแดนชั่วคราว พร้อมเตรียมผลักดันให้จังหวัดเกาะสองเป็นพื้นที่การส่งกลับผู้หลบหนีเข้า เมืองจากฝั่งไทย หวังสกัดขบวนการค้าแรงงานข้ามชาติ
พ.อ.พรเทพ วัชราพันธ์ ประธานคณะกรรมการส่วนท้องถิ่นชายแดนไทย-พม่า ด้านจังหวัดระนอง-เกาะสอง หรือ TBC เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่นไทย-พม่า ด้านจังหวัดระนอง-เกาะสอง ครั้งที่ 28/51 ที่จังหวัดระนอง (Meeting Of The Thailand - Myanmar Township Border Committee 28/2008) ว่า เพื่อแก้ไขปัญหาการลักลอบขนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่ทวีความรุนแรงมากยิ่ง ขึ้น ทางฝ่ายไทยจึงได้เสนอผ่านที่ประชุม TBC ไปยังรัฐบาลพม่าถึงแนวทางการแก้ปัญหา 3 ข้อสำคัญ ประการแรก คือ การลดระยะเวลาของการพำนักในพื้นที่ชายแดนของประชาชนชาวพม่า
ตามที่ประเทศไทยและประเทศพม่าได้ทำการตกลงกัน ว่าด้วยการข้ามแดนระหว่างประเทศทั้งสอง ณ กรุงย่างกุ้ง เมื่อ 16 พฤษภาคม 2540 (ค.ศ. 1997) ซึ่งกำหนดไว้ในข้อ 7 มี 3 ข้อย่อยดังนี้ 1. ผู้ถือบัตรผ่านแดน จะได้รับอนุญาตให้พำนักในพื้นที่ชายแดนของภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งครั้งละ ไม่เกิน 2 สัปดาห์ 2. ผู้ถือบัตรผ่านแดนชั่วคราว จะได้รับอนุญาตให้พำนักในพื้นที่ชายแดนของภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งครั้งละ ไม่เกิน 1 สัปดาห์ และ3. คนชาติของภาคีคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือคนชาติของประเทศที่สามใดๆที่ถือ เอกสารเดินทางที่มีผลใช้ได้ อาจเดินทางเข้าโดยผ่านจุดผ่านแดนที่ได้รับอนุญาตและเดินทางในดินแดนของภาคี อีกฝ่ายหนึ่งเป็นเวลาไม่เกินสี่สัปดาห์ หรือเป็นระยะเวลานานกว่านั้น ตามกฎหมายระเบียบและข้อบังคับของประเทศผู้รับอนุญาต และจะได้รับอนุญาตให้เดินทางออก ณ จุดผ่านแดนได้
พ.อ.พรเทพกล่าวว่า จากข้อตกลงดังกล่าว ในทางปฏิบัติได้เกิดปัญหาโดยเฉพาะข้อที่ 1 และ 2 คือปัญหาการลักลอบขนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย โดยกลุ่มขบวนการดังกล่าวได้อาศัยช่องว่างนี้ลักลอบขนแรงงานต่างด้าวผิด กฎหมาย และส่วนใหญ่เมื่อมีการเข้ามาในประเทศไทยแล้ว มักจะหลบหนีเข้าไปทำงานในพื้นที่อื่นหรือจังหวัดอื่น ด้วยระยะเวลาที่ค่อนข้างมากทำให้กลุ่มขบวนการที่ลักลอบขนแรงงานต่างด้าว มีเวลาที่จะวางแผนและดำเนินการรวบรวมกำลังพลให้ได้ตามจำนวนยอดที่ต้องการ ซึ่งจะเห็นได้จากผลการรายงานการจับกุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย และแม้กระทั่งเกิดเหตุการณ์โศกนาฏกรรม 54 ศพเมื่อ 9 เมษายน 2551 ที่ผ่านมา
ดังนั้นไทยจะขอให้มีการลดระยะเวลาของการพำนักในพื้นที่ชายแดนลง โดยเฉพาะผู้ถือบัตรผ่านแดนชั่วคราวจากเดิมอนุญาตให้ 1 สัปดาห์ ลดเหลือเพียง 1 วัน (เช้ามาเย็นกลับ) และจำกัดเฉพาะในเขตพื้นที่อำเภอเมืองเท่านั้น หากมีความจำเป็นอยู่เกิน 1 วันให้ขออนุญาต ต.ม.เพื่อพิจารณาเป็นรายๆ ซึ่งทางคณะกรรมการชายแดนด้านจังหวัดระนองจะขอหารือกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยว ข้องก่อนทั้งฝ่ายไทยและพม่าก่อนที่จะมีการปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ประการที่สองที่มีการหารือกัน คือ การผลักดันให้จังหวัดเกาะสองเป็นพื้นที่ให้มีการส่งกลับจากฝ่ายไทยอย่างเป็น ทางการ เพราะปัจจุบันการผลักดันส่งกลับอย่างเป็นทางการในพื้นที่ของระนอง-เกาะสอง ยังไม่ได้มีการกำหนดรูปแบบของการผลักดันอย่างเป็นทางการไว้ ในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมาการผลักดันส่งกลับ เป็นการส่งกลับในลักษณะที่ทางฝ่ายไทยส่งกลับแต่เพียงฝ่ายเดียว กล่าวคือ ทางฝ่ายพม่ามิได้รับตัวอย่างเป็นทางการ ซึ่งกระบวนการในการส่งกลับปัจจุบัน ได้มีการใช้เรือส่งเข้าไปบริเวณเขตแดน ซึ่งเป็นน่านน้ำระหว่างประเทศเท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดปัญหาติดตามมา เนื่องจากแรงงานที่ถูกส่งกลับส่วนใหญ่จะหวนกลับเข้ามายังฝั่งไทยอีก ทางฝ่ายไทยขอเสนอว่าควรมีพื้นที่ในการรับตัวผู้ที่ถูกผลักดันส่งกลับซึ่งได้ ดำเนินคดีถึงที่สุด และให้เริ่มการปฏิบัติตั้งแต่ผู้ที่ถูกดำเนินคดีเหตุการณ์เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2551
อีกมาตรการซึ่งเป็นควบคุมการเข้ามาของแรงงานต่างด้าว โดยทางฝ่ายไทยได้มีการกำหนดมาตรการให้เรือหางยาวโดยสารทุกลำจอดเทียบที่ท่า เรือสะพานปลาเพียงจุดเดียว ทั้งนี้เนื่องด้วยด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดระนองได้มีการจัดระเบียบการ เข้า-ออก เพื่อให้เกิดความสะดวก ความปลอดภัยให้กับประชาชนทั้งสองฝ่ายมากยิ่งขึ้น จึงขอแจ้งมายังฝ่ายพม่าเพื่อรับทราบก่อนและช่วยชี้แจงประชาชนของท่านให้ ปฏิบัติตาม ก่อนมีผลบังคับใช้ในโอกาสต่อไป กล่าวคือ เรือหางยาวโดยสารทุกลำที่มาจากฝั่งพม่า เมื่อผ่านจุดตรวจเกาะสะระนีย์แล้ว จะผ่านมายังจุดตรวจย่อยที่อยู่กลางน้ำของด่านศุลกากร ด่านตรวจคนเข้าเมือง แล้วจะต้องมาจอดเทียบบริเวณท่าเรือสะพานปลาเท่านั้น โดยจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมนี้เป็นต้นไป
GoogleCyberSearch
Shared Items
Labels
- ႐ႊင္ျမဴးစရာ (3)
- Agri and Fishery (11)
- Art and Literature (2)
- Dhamma - Beliefs (7)
- Earth-Weather-Travel (8)
- Economy-Business-Finance (22)
- Energy (4)
- Fun/Humor (10)
- General (1)
- Health (3)
- History - Politics (11)
- Ideas - Opinions (6)
- IT (22)
- Life Style (7)
- Local (21)
- Society - Community (1)
- Technology (14)
- Travel (4)
- การเกษตร (2)
- ขำขัน (8)
- ท่องเทียว (4)
- เทคโนโลยี (11)
- เทคโนโลยี-วิทยาศาสตร์ (3)
- ธุรกิจ (4)
- บ้า้นและครอบครัว (1)
- ประวัติศาสตร์ (2)
- ปรัชญา - ธรรมะ (10)
- พม่า (11)
- พลังงาน (5)
- ระีนอง - เกาะสอง (25)
- เศรษฐกิจ (10)
- สังคม (9)
- สัตว์น้ำและอาหารทะเล (10)
- สุขภาพ - อาหาร (12)
- ကမၻာေျမ (2)
- က်န္းမာေရး (8)
- ခရီးသြားျခင္း (5)
- စားဝတ္ေနေရး (8)
- စာေပ၊ ယဥ္ေက်းမႈ (5)
- စီးပြား၊ကုန္သြယ္ (32)
- စုိက္ပ်ဳိးေရး (6)
- ဓမၼ - ဂမၺီရ (5)
- မိုးေလဝသ (1)
- ျပည္ျမန္မာ (13)
- လူမႈဘဝ (8)
- သိပၸံႏွင္႔နည္းပညာ (16)
- သီခ်င္းမ်ား (2)
- အေတြးအျမင္ (6)
- အေထြေထြ (8)
- ေဒသသတင္း (24)
- ေရလုပ္ငန္း (14)
- ႏိုင္ငံေရး (11)
Contact to Blogmaster at kawthaung@gmail.com
Vistors Stats
Sunday, May 18, 2008
ไทยชงพม่าลดเวลาอยู่ในพท.ชายแดน จาก7วันเหลือเช้ามาเย็นกลับ
Labels: พม่า, ระีนอง - เกาะสอง
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Kawthaung Glimpse 2008
Blog Archive
-
▼
2008
(172)
-
▼
May
(22)
- Crime Against Humanity?
- ပင္လယ္ ငါးဖမ္း လုပ္ငန္းမ်ား ေမလအကုန္ စတင္ႏုိင္ရန္ ...
- Let them eat frogs
- ระนองจะไม่ขาดแคลนน้ำ
- Why Thai Fuel Price 40B stills Raw Crude Oil aroun...
- ปลาหมึกเลี้ยงในกระชังได้
- Cold-fusion demonstration "a success"
- จับกระแส : โครงการปลูกต้นสบู่ดำ พลังงานทางเลือกหรื...
- Forget the bulb: world’s first illuminating glass
- DEATH-TRUCK TRAGEDY : Burmese survivors sent home
- โฆษณาน้ำยาบ้วนปาก Listerine
- Stock investment, with safety
- 'มาม่า' ซองละ 50 บาท + พม่าอ่วม! ขาดแคลนน้ำ-อาหารร...
- ไทยชงพม่าลดเวลาอยู่ในพท.ชายแดน จาก7วันเหลือเช้ามาเ...
- พม่าอัตคัดปันส่วนข้าวคนละ5กก.
- Thais invited to help build deep-sea port at Tavoy...
- Rain threatens Myanmar survivors
- ชาวพม่าเกาะสองร่วมลงประชามติ รธน.ราบรื่น
- Nargis Cyclone Hits Myanmar Aquaculture Industry
- ဆုပ္လည္း စူး စားလည္းရူး
- เมืองมะลิวัน on Thai History Record
- Myanmar Cyclone Data in Google Earth
-
▼
May
(22)
Visitors
Visitor Link
Misc Synopsis
- ကံေကာင္းေသာ လူငယ္မ်ားသည္ သူ႔ဘဝတြင္ "ဘယ္စာကိုဖတ္၊ ဘယ္စာကို မဖတ္နဲ႔" ဟူေသာ အၾကံေပးခ်က္မ်ိဳး ရ႐ွိခဲ့၏။ ကံဆိုးေသာ လူငယ္မ်ားသည္ ဘာအၾကံေပးခ်က္မွ မရွိပါ။ ထိုအမ်ိဳးအစားထဲမွ စိတ္ဓာတ္အင္အား ျပည့္စံုေသာ လူငယ္မ်ား၊ ႀကိဳးစားလိုေသာ လူငယ္မ်ား၊ ႐ွာေဖြစူးစမ္းလိုေသာ လူငယ္မ်ားသည္ မည္သူ႔အကူအညီမွ် မပါဝင္ဘဲ မိမိတို႔ဘာသာ သင့္ေတာ္ရာရာကို ေ႐ြးခ်ယ္ သြားတတ္ၾကသည္။ တခ်ိဳ႔ကေတာ့ သူတို႔ ဘာကိုလိုခ်င္မွန္း သူတို႔ကိုယ္တိုင္ မသိသူမ်ား ျဖစ္ၾကပါသည္။ ေလာကတြင္ မိမိဘာ လိုခ်င္သည္ဟု မွန္ကန္စြာသိ၍ မိမိ လိုခ်င္ေသာ အရာကို ရေအာင္ယူႏိုင္ေသာ လူငယ္မ်ားလည္း ႐ွိၾကသည္။ လူတေယာက္ မိမိဘဝတြင္ ဘာလိုခ်င္သည္ ဟု အတိအက် သိလာ ရန္ စာအုပ္မ်ားစြာက တြန္းအားေပးႏိုင္သည္ဟု ကြၽန္မ ထင္ပါသည္။ ဂ်ဴး
- ဂန္ဘာရီနဲ ့နအဖ တို ့ရဲ ့ကေလးကလား လုပ္ရပ္မ်ား - နဖအ က ေဒၚစုကို ေနအိမ္မွာအက်ယ္ခ်ဳပ္ခ်ထားတာ တကမၻာလံုးသိပါတယ္။ ဘယ္လိုေနအိမ္မွာအက်ယ္ခ်ဳပ္ခ်ထားလဲဆိုရင္ အိမ္ေရွ ့တခါးကိုေသာ့နဲ ့ခတ္ထားတယ္။ ေဒၚစုျခံ၀န္းထဲမွာ စစ္တပ္ခ်ထားတယ္။ ေဒၚစုကို ေတြ ့ခ်င္တယ္တဲ့သူေတြက သူတို ့က ၀င္ေစဆိုတဲ့အမိန္ ့ရမွာ၀င္လို ့ရတယ္။ ေဒၚစု ရဲ က်မာေရးကို တာ၀န္ခံထားတဲ့ေဒါက္တာတင္မ်ိဳး၀င္းေတာင္ ၀င္ေတြ ့ျခင္တိုင္း၀င္ေတြ ့လို ့မရဘူး။ သန္းေရြ ရဲ ့ခြင့္ျပဳခ်က္ရမွေဒၚစုကိုေတြ ့ခြင့္ရတယ္။ ေဒၚစုေရွ ေနက ေဒၚစုကို ေတြ ့ျခင္တိုင္းေတြ ့လို ့မရဘူး။ အန္အဲလ္ဒီစီအီစီ ဆိုရင္လည္း ေဒၚစုကို အိမ္မွာေတာင္ေတြ ့ခြင့္မရၾကဘူး။ ဒီလို အေျခအေနမ်ိဳးမွာ ဂန္ဘာရီ ကိုယ္စားလွယ္နဲ ့ နအဖ ကိုယ္စားလွယ္က ေဒၚစုအိမ္ေရွ ့ကိုသြားျပီး ေဒၚေအာင္ဆန္းစုၾကည္ ဂန္ ဘာရီက ေတြ ့ျခင္လို ့ပါလို ့ အိမ္ေရွ ့ကေန ေလာစပီကာနဲ ့သြားေအာ္ေနတာ အေတာ့ကို ကေလးကလားဆန္ျပီ အရူးထတဲ့လုပ္ရပ္ျဖစ္ပါတယ္။ က်ေနာ္ေမးျခင္တာက သူတို ့မွာ ေဒၚစုအိမ္ကိုခတ္ထားတဲ့ေသာ့ရိွရဲ ့သားနဲ ့ဖြင့္ျပီး ၀င္သြားလိုက္ၾကပါလား။ အိမ္ကိုေသာ့ခတ္ထားတဲ့သူက တခါးဖြင့္ေပးပါလို ့ေအာ္ေနတာကေတာ့ အေတာကိုညဏ္နည္းလွၾကပါတယ္။ Ko Moe Thee Blog
- အဲဒီသ၀ဏ္လႊာနဲ႔ ပတ္သက္ၿပီး မေလးရွား၀န္ႀကီးခ်ဳပ္ ဘာဒါ၀ီက ျမန္မာႏိုင္ငံအေနနဲ႔ အာဆီယံရဲ႕ ျပည္တြင္း ေရး မစြက္ဖက္ေရးမူကို အကာအကြယ္မယူသင့္ဘူးလို႔ မိန္႔ခြန္းမွာ ထည့္သြင္းေျပာၾကားသြားပါတယ္။ ဒါ့အျပင္ အာဆီယံရဲ႕ အဓိကအဖြဲ႔၀င္ႏိုင္ငံျဖစ္တဲ့ မေလးရွားႏိုင္ငံက အဖြဲ႔ႀကီးရဲ႕ အဓိကမူတရပ္ျဖစ္တဲ့ ျပည္တြင္းေရး မစြက္ဖက္ေရးမူကို ျပန္လည္အနက္အဓိပၸၸၸၸၸါယ္ ဖြင့္ဆိုသင့္ၿပီလို႔ ေျပာၾကားခဲ့ပါတယ္။ / Dr.LwanSwe
- ရွစ္ေလးလံုး အေရးအခင္းနဲ႔အတူ နာဂစ္မုန္တိုင္းအေပၚ စစ္အစိုးရ တံု႔ျပန္မႈဟာ ျမန္မာႏိုင္ငံတြင္း မွာရွိတဲ့ အႀကီးမားဆံုး လူ႔အခြင့္အေရး ခ်ိဳးေဖာက္မႈေတြရဲ႕ “နိဂံုး” ျဖစ္မယ္လုိ႔ လူအမ်ားစုက ေမွ်ာ္ လင့္ထားၾကတယ္။ ဒါေပမယ့္ နိဂံုးျဖစ္ျဖစ္၊ မျဖစ္ျဖစ္ ဒီတႀကိမ္ေတာ့ ျမန္မာ့အေရးဟာ ျမန္မာ ႏိုင္ငံသားေတြ (“၈၈မ်ိဳးဆက္” ေက်ာင္းသားေတြဟာ ရဲ၀ံ့စြာနဲ႔ ေရွ႕ကေန ဦးေဆာင္ေနတယ္) တင္ မကေတာ့ဘူး ကုလသမဂၢ လံုျခံဳေရးေကာင္စီနဲ႔ ျမန္မာႏိုင္ငံရဲ႕ အာရွအိမ္နီးခ်င္းႏိုင္ငံေတြရဲ႕ ႏိုင္ငံေရး ဆႏၵေပၚမွာလည္း မူတည္ေနပါတယ္။ အႏွစ္ (၂၀) ဆိုတာ ရွည္လ်ားတဲ့ အခ်ိန္ကာလ ျဖစ္ေပမယ့္ သိပ္ေတာ့ ေနာက္မက်ေသးပါဘူး။ / New Era Journal
- Failed States Index 2008 - အားလံုးေပါင္း ၁၂ ခုရွိတဲ့ စံညႊန္းေတြထဲမွာ ျမန္မာႏိုင္ငံဟာ လူ႔အခြင့္အေရးစံညႊန္းမွာ အဖိႏွိပ္ခံရဆံုး တဖက္စြန္းမွာေရာက္ေနၿပီး ျပည္ပစြက္ဖက္မႈမွာေတာ့ အေစာကေရးသလို အနည္းဆံုးပါ၊ ဒီႏွစ္ခုက အမ်ားဆံုး နဲ႔ အနည္းဆံုး အစြန္းႏွစ္ဖက္ ေရာက္ေနတာကလြဲလို႔ က်န္တာေတြက ထိပ္ဆံုးမေရာက္တေရာက္မွာ။ ၂၀၀၅ တုန္းက ထိပ္ဆံုး ၂၀ ထဲမွာ ျမန္မာမပါဘူး၊ ၂၀၀၆ က်ေတာ့ နံပါတ္ ၁၈ နဲ႔ အေရွ႔တက္လာတယ္၊ ၂၀၀၇ မွာ အဆင့္ ၁၄၊ ေဟာ၊ အခု ၂၀၀၈ မွာ အဆင့္ ၁၂ ျဖစ္သြားၿပီ။ ဒီလို တႏိုင္ငံလံုးခ်ီၿပီး ညံ့ဖ်င္းေနတာ ဦးေဆာင္လမ္းျပေနတဲ့ေခါင္းေဆာင္ တာဝန္မကင္းဘူး၊ ဒါေၾကာင့္ ႏိုင္ငံေတြစာရင္းအျပင္ ေခါင္းေဆာင္ေတြရဲ့ စာရင္းကိုလည္း ျပဳစုထုတ္ျပန္ထားတယ္။ Degolar
0 comments:
Post a Comment