Sunday, May 18, 2008

พม่าอัตคัดปันส่วนข้าวคนละ5กก.

เมือง หม่องส่อเค้าวุ่น หลังโดนนาร์กิสถล่ม รัฐบาลทหารออกมาตรการห้ามส่งออกข้าว ฝ่าฝืนติดคุก 5 ปี บังคับพ่อค้าจำหน่ายข้าวให้ลูกค้าได้ไม่เกินรายละ 5 กก. ด้านเกาะสองส่อแวววิกฤติ เผยเสบียงรองรับได้แค่ 15 วัน เหตุย่างกุ้งไม่ส่งข้าวช่วย ภาคธุรกิจไทยรับปากไม่ฉวยโอกาสขายสินค้า

นายบุญธรรม ทิพย์ประสงค์ รองประธานฝ่ายการค้าชายแดน(แม่สาย) หอการค้าจังหวัดเชียงราย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าประกาศกระทรวงพาณิชย์ของสหภาพพม่าชัดเจน โดยมีจำนวน สินค้าที่ห้ามนำเข้าและส่งออก 45 รายการ โดยสินค้าที่ห้ามส่งออกอันดับที่ 1 คือข้าวสาร ปลายข้าวและแป้งข้าวเจ้า แต่ที่ผ่านมามีการผ่อนปรนให้ชาวบ้านสามารถนำข้าวออกมาขายในตลาดสดที่แม่สาย ได้บ้างในจำนวนครั้งละเล็กละน้อย แต่ระยะหลังทางการพม่าได้เข้มงวดกับประกาศนี้มากขึ้น โดยห้ามนำข้าวจากพม่าออกมาขายที่ฝั่งไทยอย่างเด็ดขาด พร้อมทั้งกำหนดโทษของการฝ่าฝืนไว้อย่างรุนแรงคือจำคุกนานถึง 5 ปี

ด้าน พ.ต.อ.เจษฎา ใยสุ่น ผู้กำกับการ ด่าน ต.ม.แม่สาย กล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงสถานการณ์การทะลักเข้ามาของแรงงานต่างด้าวชาวพม่าหลังจากนี้ไป ว่า พื้นที่อำเภอแม่สายและจังหวัดเชียงราย ปัญหาคงจะไม่รุนแรง เนื่องจากเส้นทางการลำเลียงแรงงานต่างด้าวที่มีอยู่และขบวนการค้าแรงงาน ต่างด้าวเคยใช้กัน ทางด่านต.ม.แม่สายมีข้อมูลอย่างครบถ้วน

ประกอบกับมาตรการการสกัดกั้นแรงงานต่างด้าวในจังหวัดเชียงรายและจังหวัด พะเยาซึ่งด่าน ต.ม.แม่สายดูแลอยู่ ได้มีการบูรณาการร่วมกับตำรวจภูธรและทหารชุดเฉพาะกิจ กรมทหารม้าที่สามและฝ่ายปกครองจัดตั้งจุดสกัดเป็นจำนวนมาก โอกาสที่จะลักลอบจึงมีน้อยมาก

"ทางด้านแม่สอดและระนองน่าจะมีความรุนแรงมากกว่า แต่น่าจะเป็นช่วงหลังจากนี้ไป 1 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ด่านต.ม.แม่สาย มีมาตรการด้านการป้องกันด้วยจัดชุดสืบสวนออกตรวจตามสถานที่ที่น่าสงสัยอยู่ ตลอดเวลา และในช่วงฤดูแล้งก็เป็นช่วงที่ ด่านต.ม.แม่สายเพิ่มความเข้มข้นในการตรวจค้นให้มากขึ้นอยู่แล้ว"

*พม่าแห่ซื้อข้าวไทย
นายวิศัลป์ กุลวินิจจิตร พ่อค้าข้าวรายใหญ่ในเขตพื้นที่ จ.ระนอง กล่าวว่าตนได้รับการติดต่อจากพ่อค้าชาวพม่าในจังหวัดเกาะสองเป็นจำนวนมาก เพื่อขอซื้อข้าวสาร ล่าสุดเริ่มมีคำสั่งซื้อเข้ามาเรื่อยๆ ตั้งแต่ 50 กระสอบ ถึง 300 กระสอบ แต่ในช่วงสถานการณ์เช่นนี้ทางกลุ่มพ่อค้าข้าวในเขต จ.ระนอง จะใช้วิธีให้พ่อค้าชาวพม่าวางเงินสดทันทีที่รับสินค้า เนื่องจากเป็นสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงทั้งสภาวะทางเศรษฐกิจ และความผันแปรของราคาข้าวสารภายในประเทศ

"ขณะนี้กลุ่มพ่อค้าไทยและพ่อค้าชาวพม่าตามแนวชายแดน แอบลักลอบนำเข้าข้าวเกรดต่ำจากพม่าย่านพื้นที่ตอนกลาง นำเข้าผ่านจังหวัดตาก ก่อนส่งต่อมายังจังหวัดระนอง ,สมุทรสาคร เพื่อขายต่อให้กับชาวพม่าที่อาศัยอยู่ในจังหวัดระนองในราคาถูกกว่าข้าวสาร ไทย เช่น ข้าวสารไทยขนาดกระสอบ 50 กก.ราคาซื้อขายปัจจุบันที่กระสอบละ 1,300 บาท แต่ข้าวสารจากพม่าจะขายเพียงกระสอบละ 800 บาท โดยจะมีนายหน้าคนไทย ซึ่งมีลูกค้าชาวพม่าอยู่ในมือจะมารับช่วงต่อจากกลุ่มที่ลักลอบมาจาก จ.ตาก จากนั้นจะนำไปส่งให้ตามสถานที่ก่อสร้าง,แพปลา,เรือประมง,โรงงาน,สวนผลไม้, สวนปาล์ม,สวนยางพารา ฯลฯ และผลจากราคาที่แตกต่างทำให้ขณะนี้กำลังเริ่มเป็นที่สนใจของคนไทยในอีกระดับ ที่ต้องการนำมาหุงปนกับข้าวหอมมะลิ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย"

*เสบียงข้าวเกาะสองพอแค่ 15วัน
ด้านนายโก เลียง (KO LING) อดีตประธานหอการค้าจังหวัดเกาะสองประเทศพม่า กล่าวว่า ผลกระทบจากพายุนาร์กิส เริ่มส่งผลกระทบลามไปยังทุกพื้นที่ของประเทศพม่าแล้ว แม้แต่ในจังหวัดเกาะสองที่อยู่ตอนใต้สุด ล่าสุดทางรัฐบาลทหารพม่าได้ประกาศห้ามจำหน่ายข้าวสารถุงใหญ่ขนาด 50 กก. ให้กับประชาชนทั่วไป แต่อนุญาตให้แบ่งขายเป็นถุงขนาดเล็กขนาด 5 กก.ได้ ทั้งนี้เป็นเพราะทราบว่าปริมาณสต๊อกข้าวสำรองในเขตพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศใกล้หมด

สต๊อก เช่นที่จ.เกาะสองจากการสอบถามล่าสุด ทราบว่ามีสต๊อกข้าวเหลือไม่เกิน 5 วัน

เนื่องจากทางย่างกุ้งงดส่งข้าวชั่วคราว ทำให้ต้องใช้มาตรการดังกล่าวในลักษณะแบ่งขายเพื่อยืดระยะเวลา ไม่เช่นนั้นผู้คนที่มีเงินจะกว้านซื้อไปกักตุน อาจจะส่งผลให้เกิดวิกฤติปัญหาซ้ำซ้อนขึ้นอีก โดยการใช้มาตรการดังกล่าวจะทำให้สามารถยืดระยะเวลาออกไปได้อีกอย่างน้อย 10-15 วัน กว่าที่ปริมาณข้าวใน

สต๊อกจะหมด ซึ่งเหลือเวลาเพียงพอที่จะคิดหาทางแก้

แหล่งข่าวพ่อค้าชายแดนจังหวัดตาก กล่าวว่า จังหวัดผาอัน มีโกดังและคลังสินค้าข้าวขนาดใหญ่ เป็นตลาดกลางที่นำข้าวไปส่งขายยังจังหวัดเมียวดี-กอกาเรก-ย่างกุ้ง และเมืองอื่นๆ โดยการส่งข้าวไปแต่ละเมืองนั้นจะถูกกำหนดด้วยโควตาและจำนวนประชากรแต่ละ เมือง เพื่อป้องกันและการควบคุมการนำข้าวออกไปจำหน่ายต่างประเทศ

"ปัจจุบันพม่ามีมาตรการสั่งห้ามเด็ดขาดในการนำข้าวออกนอกประเทศ โดยมีกฎหมายควบคุมห้ามส่งออกผู้ฝ่าฝืนจำคุก 10 ปี แต่ในช่วงราคาข้าวสารในเมืองไทยสูง ทำให้รัฐบาลพม่าได้เพิ่มความเข้มงวดในมาตรการดังกล่าวรวมทั้งเอาความผิดและ ลงโทษอย่างจริงจัง"

แหล่งข่าวคนเดิมกล่าวว่า แม้ว่าทางรัฐบาลจะออกมาตรการอย่างเคร่ง

ครัดแต่ยังมีพ่อค้าพม่าพยายามที่จะลักลอบนำข้าวสารจากเมืองผาอัน จังหวัด

เมียวดี มาขายส่งให้ฝั่งไทย โดยใช้วิธีนำข้าวใส่ในถุงพืชผลชนิดอื่นๆเช่น ถั่ว-ข้าวโพด ฯลฯ เมื่อสามารถลักลอบส่งออกได้ก็จะมาแยกและนำไปผสมกับข้าวไทยและพ่อค้าไทยก็จะ นำไปจำหน่ายในตลาดแม่สอด สำหรับการลักลอบนำข้าวสารออกมาจำหน่ายที่ชายแดนนั้นจะใช้วิธีทยอยขนครั้งละ ไม่เกิน 200 กระสอบ โดยไม่หวั่นกับบทลงโทษเพราะมีผลกำไรที่คุ้มและสามารถจ่ายสินบนให้ทหารพม่า บางหน่วยและบางจุดที่สามารถเคลียร์กันได้

ด้านจังหวัดเมียวดี รัฐกอทูเลย์(กะเหรี่ยง) ประเทศพม่า ตรงข้าม อ.แม่สอด จ.ตาก พบว่าทหารรัฐบาลพม่าหรือ SPDC ร่วมกับเจ้าหน้าที่ควบคุมการค้าภายในพม่า ได้จับกุมพ่อค้าและเกษตรกรชาวพม่า 3 คน ที่จังหวัดผาอัน ห่างจากจังหวัดเมียวดี ไปทางตะวันตกประมาณ 60 ไมล์ โดยพ่อค้าพม่าถูกจับกุมขณะกำลังลักลอบนำข้าวสารจำนวน 250-300 กระสอบ เพื่อนำมาส่งขายในฝั่งชายแดนไทย ที่ อ.แม่สอด ในราคากระสอบละ 600-800 บาท ต่อน้ำหนัก 55 กก. ข้าวสารดังกล่าวได้ถูกนำซุกซ่อนรวมกับกระสอบถั่วและข้าวโพดเพื่อตบตาเจ้า หน้าที่ การจับกุมครั้งนี้มีขึ้นภายหลังผู้นำรัฐบาลพม่า SPDC ได้มีประกาศขั้นเด็ดขาดในการกวดขันจับกุมและตรวจเข้มการลักลอบนำข้าวสารออก นอกประเทศ โดยกำหนดโทษจำคุกไว้สูงถึง 10 ปี

++ภาคธุรกิจไม่ฉวยโอกาสขายสินค้า
นายประพจน์ นันทวัฒน์ศิริ กรรมการผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัท สหพัฒน์พิบูล จำกัด(มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค กล่าวว่า ขณะนี้มีภาคเอกชนได้มาขอซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปภายใต้แบรนด์มาม่าในราคาถูก หรือซื้อในราคาต้นทุนจากบริษัท เพื่อนำไปบริจาคให้กับประเทศพม่า แต่ในส่วนของสินค้าอุปโภคบริโภคนั้นยังไม่มีหน่วยงานใดติดต่อมา อย่างไรก็ตามปริมาณการซื้อมาม่านั้นที่นำไปบริจาคนั้น ไม่จำเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิตแต่อย่างใด เพราะมีปริมาณรองรับพอเพียง อีกทั้งการซื้อบริจาคนั้นถือเป็นจำนวนที่เล็กน้อยมาก

นายประหยัด อนุชิราชีวะ กรรมการบริหารกลุ่มธุรกิจน้ำดื่ม บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำดื่มเนสท์เล่เพียวไลฟ์ น้ำแร่มิเนเร่ เปิดเผยว่า หากจะมีบริษัทเอกชนรายใดต้องการซื้อสินค้าน้ำดื่มจากบริษัทไปบริจาคหรือช่วย เหลือถ้าติดต่อเข้ามา ก็จะประสานงานไปยังฝ่ายบริหารของบริษัท ส่วนเหตุการณ์ดังกล่าวจะส่งผลต่อภาพรวมธุรกิจน้ำดื่มในด้านการเติบโตเพิ่ม ขึ้นหรือไม่ มองว่าไม่เป็นปัจจัยเพิ่มยอดขาย เพราะไม่ใช่ตลาดหลัก แม้ว่าในปีนี้บริษัทจะตั้งเป้าหมายการเติบโตถึง 15% ขณะที่ช่วงก่อนหน้านี้การเติบโตเพียง 8-9% ก็เป็นผลจากการขยายการตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมายใหม่ และการทำตลาดภายในประเทศอย่างจริงจังมากกว่า

ด้านนายสันต์ ภิรมย์ภักดี ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันกำลังการผลิตน้ำดื่มสิงห์มีค่อนข้างเต็มกำลังการผลิตอยู่แล้ว แต่ช่วง 1-2 เดือนนี้ สินค้าอาจจะขาดตลาดบ้างในบางช่วง เพราะปริมาณขวดมีไม่เพียงพอโดยเฉพาะขวดแก้ว และล่าสุดบริษัทยังได้บริจาคน้ำจำนวน 20,000 แพ็กมูลค่า 1.2 ล้านบาท ให้กับผู้ประสบภัยชาวพม่าด้วย ซึ่งจะมีการบริจาคเพิ่มเติมหรือไม่นั้นคงต้องดูนโยบายของบริษัทต่อไป ส่วนการติดต่อสั่งซื้อสินค้าจำนวนมากจากบริษัทเอกชนเพื่อนำไปบริจาคให้กับ ชาวพม่าในขณะนี้ยังไม่ได้รับการติดต่อเข้ามาแต่อย่างใด

0 comments:

Template by : kendhin x-template.blogspot.com