Friday, November 23, 2007

สถานการณ์น้ำมัน

เท่าที่ดูสถานการณ์น้ำมันขณะนี้มองว่าโลกน่าจะยังมีน้ำมันใช้ต่อไปได้อีกยาวนาน แต่ราคาน้ำมันคงจะไม่สามารถปรับลดลงไปเท่ากับเมื่อ 3-4 ปีก่อนที่อยู่ในระดับ 20-30 เหรียญต่อบาร์เรลได้อีกต่อไป โดยคาดว่าราคาน้ำมันดิบในมิดเดิลอีสท์โดยเฉลี่ยในอนาคตจะอยู่ที่ 70 เหรียญต่อบาร์เรล ส่วนกรณีที่มีหลายฝ่ายออกมาระบุกันว่าราคาน้ำมันดิบจะพุ่งไปแตะและยืนอยู่ในระดับ 100 กว่าเหรียญต่อบาร์เรล ก็ยังไม่น่าจะเป็นไปได้ เนื่องจากเมื่อพิจารณาจากปริมาณความต้องการกับกำลังการผลิตยังสอดคล้องกันและเพียงพอ
Ref comment from : อนนต์ สิริแสงทักษิณ รองกรรมการผู้จัดการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยคงต้องจับตามองสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศผู้ผลิตน้ำมัน เช่น ไนจีเรีย อิรัก อิหร่าน ที่อาจจะเกิดสงคราม หรือคำขู่สหรัฐอเมริกา เป็นพิเศษ แต่เชื่อว่าคงจะไม่มีเหตุการณ์รุนแรงใดๆ เกิดขึ้นจนทำให้ราคาน้ำมันขึ้นไปยืนที่ 100 เหรียญต่อบาร์เรลได้ เพราะเป็นสิ่งที่ทุกคนเฝ้าระวังและคาดการณ์กันไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว โดยเฉพาะนักเก็งกำไร (เฮดจ์ฟันด์) ประกอบกับสถานการณ์การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ประเมินแล้วว่าจะชะลอตัวแน่นอน ก็น่าจะช่วยลดความร้อนแรงของราคาน้ำมันลงได้บ้าง

"จากการประเมินสถานการณ์และปริมาณความต้องการน้ำมันในโลก พบว่าในแต่ละวันทั่วโลกจะมีความต้องการใช้น้ำมันโดยรวม 85 ล้านบาร์เรล ขณะที่กำลังการผลิตก็มีปริมาณใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ การตรวจสอบยังพบว่าปริมาณความต้องการในแต่ละปีจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1 ล้านบาร์เรล ซึ่งก็จะยังเป็นไปตามที่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันระบุไว้ ดังนั้น จึงคิดว่าประเทศไทยเดินมาถูกทางแล้วที่ปล่อยให้ราคาน้ำมันเป็นไปตามกลไกตลาดโลก แม้ว่าจะยังมีในเรื่องของแอลพีจีที่รัฐบาลขอให้ ปตท.ช่วยเหลือประชาชนด้วยการตรึงราคาให้อยู่ที่ 16.80 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาในตลาดโลกถึง 50% ส่วนที่รัฐบาลจะเป็นผู้อุดหนุนให้ และมีผลให้มีการใช้แอลพีจีเพิ่มขึ้นปีละ 2 แสนตัน"

อย่างไรก็ตาม ยังดีกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย เช่น จีน ที่ยังคงอุดหนุนราคาพลังงานทุกประเภทต่ำกว่าความเป็นจริง เกือบ 50% ให้กับประชาชนในประเทศ สำหรับประเทศไทย แม้ว่ารัฐบาลจะปล่อยให้ราคาน้ำมันเป็นไปตามกลไกตลาดโลกที่สูงขึ้นและมีผลกับค่าครองชีพของประชาชน แต่โดยส่วนตัวเชื่อว่าทุกคนน่าจะสามารถปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ได้ เพราะการที่รัฐให้ประชาชนรับรู้สถานการณ์จริงน่าจะเป็นทางออกที่ดีและเหมาะสมกว่าการเข้าไปอุ้มราคาบางส่วน เพราะจะทำให้คนไม่ประหยัด และยังคงใช้พลังงานตามปกติ เนื่องจากเห็นว่าพลังงานมีราคาถูก และตัวเองไม่มีผลกระทบ

0 comments:

Template by : kendhin x-template.blogspot.com