ระดับราคาสินค้าและบริการ โดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน เป็นผลจากราคาน้ำมันดิบโลกไม่มีทีท่าจะลดลงอย่างง่ายๆ ตรงข้ามราคาน้ำมันกลับทำลายสถิติสูงสุดเป็นรายวัน ผลกระทบจากราคาน้ำมันดังกล่าว ได้สร้างความไม่แน่นอน และก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจประเทศในขณะนี้ โดยเฉพาะปัญหาค่าครองชีพของประชาชนและการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ รวมทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจอีกด้วย ในภาวะที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน ประเด็นที่น่าสนใจคือ เงินเฟ้อส่งผลกระทบต่อคนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ หรือส่งผลกระทบต่อคนกลุ่มใดมากกว่ากัน ภาวะเงินเฟ้อกระทบต่อคนจนมากกว่าคนรวย จากตารางที่ 1 ซึ่งอัตราเงินเฟ้อหรืออัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคในปี พ.ศ. 2550 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน ซึ่งเป็นดัชนีที่แสดงราคาสินค้าของผู้บริโภคทั้งประเทศ มีอัตราการเปลี่ยนแปลงต่ำกว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้มีรายได้น้อย และดัชนีราคาผู้บริโภคในเขตชนบท ตารางที่ 1 อัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคในปี พ.ศ. 2550 (ร้อยละเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) รายการ ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. 1.ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป 3.4 2.6 2.3 2.1 2.2 2.2 2 1.3 2.4 -1.1 หมวดอาหารและเครื่องดื่ม 7.2 6 4.4 3.9 4.7 6.3 5.9 5.1 4.5 -1.2 หมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม 1.2 0.6 1.1 1 0.6 0 -0.3 -0.8 1.2 2.ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน * 1.7 1.4 1.4 1.3 0.7 0.7 0.8 0.7 0.8 3.ดัชนีราคาผู้มีรายได้น้อย 4.6 3.6 2.9 2.7 2.9 3.3 2.9 2.3 2.8 -3.1 หมวดอาหารและเครื่องดื่ม 8.1 6.6 4.8 4.4 5.2 7 6.5 5.6 5 -3.2 หมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม 1.5 1 1.3 1.1 0.9 0.2 -0.1 -0.5 1 4.ดัชนีราคาผู้บริโภคในเขตชนบท 5.9 5.4 4.4 4.1 4.3 6 5.2 4.3 5.8 -4.1 หมวดอาหารและเครื่องดื่ม 12.5 11.8 8.5 7.5 8.1 12.9 11.4 10 10.2 -4.2 หมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม 0.7 0.5 1.1 1.5 1.5 0.6 0.4 -0.2 2.4 * ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน คือดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปที่ไม่รวมรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและพลังงาน ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ดัชนีราคาผู้บริโภคในเขตชนบทมีอัตราการเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมาคือดัชนีราคาผู้มีรายได้น้อย ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป และดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นสูงกว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในหมวดอื่นๆ จากข้อมูลข้างต้นจึงสรุปได้ว่า ภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบันเกิดจากราคาสินค้าอาหารและเครื่องดื่มเป็นสำคัญ โดยส่งผลกระทบต่อประชาชนในเขตชนบทมากกว่าในเขตเมือง และส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้มีรายได้น้อยมากกว่าผู้มีรายได้สูง ทำไมผู้มีรายได้น้อยจึงได้รับผลกระทบมากกว่า หากจะอธิบายผลกระทบของเงินเฟ้อในทางเศรษฐศาสตร์ โดยพิจารณาจาก Marginal Propensity of Consume: MPC หรือเรียกว่าความโน้มเอียงในการบริโภคหน่วยสุดท้าย (MPC คำนวณจากค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปหารด้วยรายได้ที่เปลี่ยนแปลงไป) หรือหมายความว่า หากคนมีรายได้เปลี่ยนแปลงไป 1 หน่วย เขามีแนวโน้มใช้จ่ายเงินเพื่อการบริโภคจะเปลี่ยนแปลงไปเท่าไร โดยทั่วไปค่า MPC ของคนที่มีรายได้ต่ำจะมากกว่าคนที่มีรายได้สูง ยกตัวอย่าง คนรวยมีรายได้ 1 แสนบาทต่อเดือนและมีรายจ่ายเพื่อบริโภค 9 หมื่นบาทต่อเดือน ขณะที่คนจนมีรายได้ 1 พันบาทต่อเดือน และมีรายจ่าย 900 บาทต่อเดือน หากทั้งสองคนมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 คนรวยจะใช้เงินเพื่อบริโภคเพิ่มขึ้นอีก 4 พันบาท หรือใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้น 0.4 บาททุกๆ 1 บาทของรายได้ที่เพิ่มขึ้น แต่คนจนจะใช้เงินเพื่อบริโภคเพิ่มขึ้นอีก 70 บาท หรือใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้น 0.7 บาท ทุกๆ 1 บาทของรายได้ที่เพิ่มขึ้น การที่อัตราเงินเฟ้อสูง หรือระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น หมายความว่า รายได้ที่แท้จริงของประชาชนลดลง กล่าวคือ ประชาชนมีกำลังซื้อลดลง เนื่องจากรายได้ที่เป็นตัวเงินเท่าเดิม แต่ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นทำให้ใช้เงินที่มีอยู่ซื้อสินค้าได้น้อยลง การที่คนจนมีความโน้มเอียงในการบริโภคหน่วยสุดท้ายสูงกว่าคนรวย ภาวะเงินเฟ้อจึงทำให้คนจนได้รับผลกระทบมากกว่า เพราะจะทำให้ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคลดลงมากกว่าโดยเปรียบเทียบกับคนที่มีรายได้สูงกว่า หากอธิบายอย่างง่ายๆ แม้ราคาสินค้าในท้องตลาดจะแพงขึ้น คนที่มีรายได้สูงจะไม่เดือดร้อนมากนัก เพราะโดยปกติการจัดสรรรายได้ของคนรวย นอกจากใช้ซื้อสินค้าจำเป็นแล้ว ยังมีเงินจำนวนหนึ่งเหลือไว้ซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย (สินค้าไม่จำเป็นในชีวิตประจำวัน) และเก็บออม เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น แม้ว่าจะทำให้มาตรฐานการบริโภคของคนกลุ่มนี้ลดลงไป แต่จะไม่กระทบมาตรฐานในส่วนที่จำเป็น กล่าวคือเขาสามารถลดการใช้จ่ายในส่วนที่ไม่จำเป็นเพื่อนำมาซื้อสินค้าจำเป็น ทำให้รักษาการบริโภคสินค้าจำเป็นไว้ในระดับเดิมได้ ขณะที่คนที่มีรายได้น้อยไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะรายได้เกือบทั้งหมดต้องใช้สำหรับซื้อสินค้าที่จำเป็นในชีวิต ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อจะทำให้คนที่มีรายได้น้อยบริโภคสินค้าจำเป็นได้น้อยลง เพราะไม่สามารถนำรายจ่ายในส่วนอื่นมาชดเชยการบริโภคสินค้าจำเป็นที่ลดลงไปได้ นี่คือสาเหตุที่ว่าเมื่อปัญหาเงินเฟ้อเกิดขึ้นทำไมผู้มีรายได้น้อยต่างร้องโอดครวญไปตามๆ กัน ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
Ref: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
GoogleCyberSearch
Shared Items
Labels
- ႐ႊင္ျမဴးစရာ (3)
- Agri and Fishery (11)
- Art and Literature (2)
- Dhamma - Beliefs (7)
- Earth-Weather-Travel (8)
- Economy-Business-Finance (22)
- Energy (4)
- Fun/Humor (10)
- General (1)
- Health (3)
- History - Politics (11)
- Ideas - Opinions (6)
- IT (22)
- Life Style (7)
- Local (21)
- Society - Community (1)
- Technology (14)
- Travel (4)
- การเกษตร (2)
- ขำขัน (8)
- ท่องเทียว (4)
- เทคโนโลยี (11)
- เทคโนโลยี-วิทยาศาสตร์ (3)
- ธุรกิจ (4)
- บ้า้นและครอบครัว (1)
- ประวัติศาสตร์ (2)
- ปรัชญา - ธรรมะ (10)
- พม่า (11)
- พลังงาน (5)
- ระีนอง - เกาะสอง (25)
- เศรษฐกิจ (10)
- สังคม (9)
- สัตว์น้ำและอาหารทะเล (10)
- สุขภาพ - อาหาร (12)
- ကမၻာေျမ (2)
- က်န္းမာေရး (8)
- ခရီးသြားျခင္း (5)
- စားဝတ္ေနေရး (8)
- စာေပ၊ ယဥ္ေက်းမႈ (5)
- စီးပြား၊ကုန္သြယ္ (32)
- စုိက္ပ်ဳိးေရး (6)
- ဓမၼ - ဂမၺီရ (5)
- မိုးေလဝသ (1)
- ျပည္ျမန္မာ (13)
- လူမႈဘဝ (8)
- သိပၸံႏွင္႔နည္းပညာ (16)
- သီခ်င္းမ်ား (2)
- အေတြးအျမင္ (6)
- အေထြေထြ (8)
- ေဒသသတင္း (24)
- ေရလုပ္ငန္း (14)
- ႏိုင္ငံေရး (11)
Contact to Blogmaster at kawthaung@gmail.com
Vistors Stats
Wednesday, November 14, 2007
เงินเฟ้อ..ใครเดือดร้อน?
Labels: เศรษฐกิจ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Kawthaung Glimpse 2008
Blog Archive
-
▼
2007
(201)
-
▼
November
(27)
- Thai Prisoners Released from Myanmar
- ရေနာင္းတန္ေဆာင္တုိင္ခ်စ္ၾကည္ေရးမယ္
- နယ္စပ္စီးပြား ေရလုပ္ငန္းႏွင့္ ကမ္းရိုးတန္းတိုင္းျမ...
- กินเผ็ดระวัง "มะเร็งจีสต์" ทั่วโลกป่วยปีละ 2 หมื่น
- Loy Krathong
- Stock Trading - Technical Analysis : Assist with E...
- Stock Analysis - Technical over Fundamentals
- Oceans face the acid test
- สถานการณ์น้ำมัน
- တနသၤာရီကမ္း႐ုိးတန္းထြက္ ငွက္သုိက္ေစ်းကြက္
- "สาหร่าย" คุณค่าจากใต้ทะเล
- My personal gardening tip
- Investors avoiding Thailand: report
- เงินเฟ้อ..ใครเดือดร้อน?
- ထူးအိမ္သင္ ရဲ႕ ေမွာ္သီခ်င္းမ်ား
- 4พิบัติภัยโหมซัด ธุรกิจเรือประมง 5,000ลำจอดสนิท
- The Life of Buddha(Cartoon Version)
- အခ်ိန္ေလးေတာ့ေပးလိုက္ပါ
- ေႏြေန႔လည္ခင္းအိပ္မက္
- ปลาใกล้หมดจากเอเชียอาคเนย์
- Value Added Tilapia Fish Skin
- Horn Essentials in Some Countries!
- Than Shwe's secret home (Myanmar)
- Will we soon be extinct?
- Understanding of Chinese/Asian culture vs. Western
- Video Believe it? Dick has bones!!
- น้ำมัน ทองคำ และค่าเงิน
-
▼
November
(27)
Visitors
Visitor Link
Misc Synopsis
- ကံေကာင္းေသာ လူငယ္မ်ားသည္ သူ႔ဘဝတြင္ "ဘယ္စာကိုဖတ္၊ ဘယ္စာကို မဖတ္နဲ႔" ဟူေသာ အၾကံေပးခ်က္မ်ိဳး ရ႐ွိခဲ့၏။ ကံဆိုးေသာ လူငယ္မ်ားသည္ ဘာအၾကံေပးခ်က္မွ မရွိပါ။ ထိုအမ်ိဳးအစားထဲမွ စိတ္ဓာတ္အင္အား ျပည့္စံုေသာ လူငယ္မ်ား၊ ႀကိဳးစားလိုေသာ လူငယ္မ်ား၊ ႐ွာေဖြစူးစမ္းလိုေသာ လူငယ္မ်ားသည္ မည္သူ႔အကူအညီမွ် မပါဝင္ဘဲ မိမိတို႔ဘာသာ သင့္ေတာ္ရာရာကို ေ႐ြးခ်ယ္ သြားတတ္ၾကသည္။ တခ်ိဳ႔ကေတာ့ သူတို႔ ဘာကိုလိုခ်င္မွန္း သူတို႔ကိုယ္တိုင္ မသိသူမ်ား ျဖစ္ၾကပါသည္။ ေလာကတြင္ မိမိဘာ လိုခ်င္သည္ဟု မွန္ကန္စြာသိ၍ မိမိ လိုခ်င္ေသာ အရာကို ရေအာင္ယူႏိုင္ေသာ လူငယ္မ်ားလည္း ႐ွိၾကသည္။ လူတေယာက္ မိမိဘဝတြင္ ဘာလိုခ်င္သည္ ဟု အတိအက် သိလာ ရန္ စာအုပ္မ်ားစြာက တြန္းအားေပးႏိုင္သည္ဟု ကြၽန္မ ထင္ပါသည္။ ဂ်ဴး
- ဂန္ဘာရီနဲ ့နအဖ တို ့ရဲ ့ကေလးကလား လုပ္ရပ္မ်ား - နဖအ က ေဒၚစုကို ေနအိမ္မွာအက်ယ္ခ်ဳပ္ခ်ထားတာ တကမၻာလံုးသိပါတယ္။ ဘယ္လိုေနအိမ္မွာအက်ယ္ခ်ဳပ္ခ်ထားလဲဆိုရင္ အိမ္ေရွ ့တခါးကိုေသာ့နဲ ့ခတ္ထားတယ္။ ေဒၚစုျခံ၀န္းထဲမွာ စစ္တပ္ခ်ထားတယ္။ ေဒၚစုကို ေတြ ့ခ်င္တယ္တဲ့သူေတြက သူတို ့က ၀င္ေစဆိုတဲ့အမိန္ ့ရမွာ၀င္လို ့ရတယ္။ ေဒၚစု ရဲ က်မာေရးကို တာ၀န္ခံထားတဲ့ေဒါက္တာတင္မ်ိဳး၀င္းေတာင္ ၀င္ေတြ ့ျခင္တိုင္း၀င္ေတြ ့လို ့မရဘူး။ သန္းေရြ ရဲ ့ခြင့္ျပဳခ်က္ရမွေဒၚစုကိုေတြ ့ခြင့္ရတယ္။ ေဒၚစုေရွ ေနက ေဒၚစုကို ေတြ ့ျခင္တိုင္းေတြ ့လို ့မရဘူး။ အန္အဲလ္ဒီစီအီစီ ဆိုရင္လည္း ေဒၚစုကို အိမ္မွာေတာင္ေတြ ့ခြင့္မရၾကဘူး။ ဒီလို အေျခအေနမ်ိဳးမွာ ဂန္ဘာရီ ကိုယ္စားလွယ္နဲ ့ နအဖ ကိုယ္စားလွယ္က ေဒၚစုအိမ္ေရွ ့ကိုသြားျပီး ေဒၚေအာင္ဆန္းစုၾကည္ ဂန္ ဘာရီက ေတြ ့ျခင္လို ့ပါလို ့ အိမ္ေရွ ့ကေန ေလာစပီကာနဲ ့သြားေအာ္ေနတာ အေတာ့ကို ကေလးကလားဆန္ျပီ အရူးထတဲ့လုပ္ရပ္ျဖစ္ပါတယ္။ က်ေနာ္ေမးျခင္တာက သူတို ့မွာ ေဒၚစုအိမ္ကိုခတ္ထားတဲ့ေသာ့ရိွရဲ ့သားနဲ ့ဖြင့္ျပီး ၀င္သြားလိုက္ၾကပါလား။ အိမ္ကိုေသာ့ခတ္ထားတဲ့သူက တခါးဖြင့္ေပးပါလို ့ေအာ္ေနတာကေတာ့ အေတာကိုညဏ္နည္းလွၾကပါတယ္။ Ko Moe Thee Blog
- အဲဒီသ၀ဏ္လႊာနဲ႔ ပတ္သက္ၿပီး မေလးရွား၀န္ႀကီးခ်ဳပ္ ဘာဒါ၀ီက ျမန္မာႏိုင္ငံအေနနဲ႔ အာဆီယံရဲ႕ ျပည္တြင္း ေရး မစြက္ဖက္ေရးမူကို အကာအကြယ္မယူသင့္ဘူးလို႔ မိန္႔ခြန္းမွာ ထည့္သြင္းေျပာၾကားသြားပါတယ္။ ဒါ့အျပင္ အာဆီယံရဲ႕ အဓိကအဖြဲ႔၀င္ႏိုင္ငံျဖစ္တဲ့ မေလးရွားႏိုင္ငံက အဖြဲ႔ႀကီးရဲ႕ အဓိကမူတရပ္ျဖစ္တဲ့ ျပည္တြင္းေရး မစြက္ဖက္ေရးမူကို ျပန္လည္အနက္အဓိပၸၸၸၸၸါယ္ ဖြင့္ဆိုသင့္ၿပီလို႔ ေျပာၾကားခဲ့ပါတယ္။ / Dr.LwanSwe
- ရွစ္ေလးလံုး အေရးအခင္းနဲ႔အတူ နာဂစ္မုန္တိုင္းအေပၚ စစ္အစိုးရ တံု႔ျပန္မႈဟာ ျမန္မာႏိုင္ငံတြင္း မွာရွိတဲ့ အႀကီးမားဆံုး လူ႔အခြင့္အေရး ခ်ိဳးေဖာက္မႈေတြရဲ႕ “နိဂံုး” ျဖစ္မယ္လုိ႔ လူအမ်ားစုက ေမွ်ာ္ လင့္ထားၾကတယ္။ ဒါေပမယ့္ နိဂံုးျဖစ္ျဖစ္၊ မျဖစ္ျဖစ္ ဒီတႀကိမ္ေတာ့ ျမန္မာ့အေရးဟာ ျမန္မာ ႏိုင္ငံသားေတြ (“၈၈မ်ိဳးဆက္” ေက်ာင္းသားေတြဟာ ရဲ၀ံ့စြာနဲ႔ ေရွ႕ကေန ဦးေဆာင္ေနတယ္) တင္ မကေတာ့ဘူး ကုလသမဂၢ လံုျခံဳေရးေကာင္စီနဲ႔ ျမန္မာႏိုင္ငံရဲ႕ အာရွအိမ္နီးခ်င္းႏိုင္ငံေတြရဲ႕ ႏိုင္ငံေရး ဆႏၵေပၚမွာလည္း မူတည္ေနပါတယ္။ အႏွစ္ (၂၀) ဆိုတာ ရွည္လ်ားတဲ့ အခ်ိန္ကာလ ျဖစ္ေပမယ့္ သိပ္ေတာ့ ေနာက္မက်ေသးပါဘူး။ / New Era Journal
- Failed States Index 2008 - အားလံုးေပါင္း ၁၂ ခုရွိတဲ့ စံညႊန္းေတြထဲမွာ ျမန္မာႏိုင္ငံဟာ လူ႔အခြင့္အေရးစံညႊန္းမွာ အဖိႏွိပ္ခံရဆံုး တဖက္စြန္းမွာေရာက္ေနၿပီး ျပည္ပစြက္ဖက္မႈမွာေတာ့ အေစာကေရးသလို အနည္းဆံုးပါ၊ ဒီႏွစ္ခုက အမ်ားဆံုး နဲ႔ အနည္းဆံုး အစြန္းႏွစ္ဖက္ ေရာက္ေနတာကလြဲလို႔ က်န္တာေတြက ထိပ္ဆံုးမေရာက္တေရာက္မွာ။ ၂၀၀၅ တုန္းက ထိပ္ဆံုး ၂၀ ထဲမွာ ျမန္မာမပါဘူး၊ ၂၀၀၆ က်ေတာ့ နံပါတ္ ၁၈ နဲ႔ အေရွ႔တက္လာတယ္၊ ၂၀၀၇ မွာ အဆင့္ ၁၄၊ ေဟာ၊ အခု ၂၀၀၈ မွာ အဆင့္ ၁၂ ျဖစ္သြားၿပီ။ ဒီလို တႏိုင္ငံလံုးခ်ီၿပီး ညံ့ဖ်င္းေနတာ ဦးေဆာင္လမ္းျပေနတဲ့ေခါင္းေဆာင္ တာဝန္မကင္းဘူး၊ ဒါေၾကာင့္ ႏိုင္ငံေတြစာရင္းအျပင္ ေခါင္းေဆာင္ေတြရဲ့ စာရင္းကိုလည္း ျပဳစုထုတ္ျပန္ထားတယ္။ Degolar
0 comments:
Post a Comment