ผู้ประกอบการธุรกิจเรือประมงอ่วม เจอสารพัดปัญหารุมเร้า ทั้งราคาน้ำมันแพง ราคาสัตว์น้ำตกต่ำ ภัยธรรมชาติ ซ้ำร้ายแบงก์ ไม่ยอมปล่อย้ ต้องโร่หาเงินนอกระบบเจ้ามาจุนเจอ ขณะที่พวกสายป่านสั้น ทนขาดทุนไม่ไหวแห่จอดเรือทิ้งแล้วกว่า 5,000 ลำ ฝากความหวังสุดท้าย รัฐบาลใหม่ขี่ม้าขาวมาช่วย
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2268 08 พ.ย. - 10 พ.ย. 2550
นายทวี บุญยิ่ง ที่ปรึกษาสมาคมผู้ประกอบการประมงแห่งประเทศไทย อดีตนายกสมาคมประมงจังหวัดระนอง และเจ้าของกิจการเรือประมง เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ถึงสถานการณ์ธุรกิจประมงในขณะนี้ว่า อยู่ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่มาก อันเป็นผลกระทบมาจากปัญหาต่างๆ โดยปัญหาหลักที่สร้างความหนักใจ
ให้กับผู้ประกอบการประมงมากที่สุด คือ ปัญหาเรื่องราคาน้ำมัน ซ้ำร้ายในขณะนี้ราคาสัตว์น้ำที่จับได้ยังมีราคาตกต่ำ เนื่องมาจากมีสัตว์น้ำจาก
ประเทศเพื่อนบ้านทั้งพม่า และอินโดนีเซียเข้ามาตีตลาด นอกจากนี้ปัญหาภัยธรรมชาติก็กำลังกลายเป็นอีกปัญหาที่เข้ามาสร้างผลกระทบต่อ
ผู้ประกอบการประมงเช่นกัน
ขณะนี้เรือประมงทุกลำที่ออกไปจับปลาต่างประสบปัญหาขาดทุนจนไม่สามารถที่จะดำเนินกิจการต่อไปไหว ซึ่งผู้ประกอบการหลายรายพยายามที่จะหาเงินทุนเข้ามาเพื่อช่วยประคับประคองกิจการให้ดำรงต่อไปได้ แต่ปรากฏว่าปัญหาคือทางธนาคารจะไม่ปล่อย้ให้กับผู้ประกอบการประมง เนื่องจากผลประกอบการของผู้ประกอบการแต่ละราย ต่างอยู่ในภาวะที่ขาดทุน จนทำให้ผู้ประกอบการต้องหาเงินทุนจากนอกระบบเข้ามาช่วยประคับประคองสถานภาพ
จากการที่มีการประเมินในตอนนี้คาดว่า มีผู้ประกอบการประมง โดยเฉพาะผู้ประกอบการประมงขนาดเล็กและขนาดกลางเข้าไป้เงินนอกระบบแล้วกว่า 2,000-3,000 ล้านบาท ซึ่งตามความเห็นของตนคิดว่าทางรัฐบาลน่าจะมีแนวทางในการช่วยเหลือให้เป็นรูปธรรม นอกจากเรื่องของน้ำมันม่วง หรือน้ำมันเขียวแต่อย่างเดียว แต่อาจจะมีกองทุนเกี่ยวกับการประมง เพื่อจะได้เข้ามาช่วยเหลือ และผู้ประกอบการประมงจะได้มีเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ
นายทวี กล่าวต่อว่า จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ผู้ประกอบการประมงที่
ไม่สามารถทนแบกรับกับภาวะค่าต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นได้อีกต่อไปไหว ได้ทยอยนำเรือเข้ามาจอดแล้วกว่า 500 ลำ จากจำนวนเรือประมงที่จับปลาในน่านน้ำพื้นที่จังหวัดระนองที่มีกว่า 3,000 ลำ และทั่วประเทศขณะนี้ทราบว่า มีผู้ประกอบการประมงนำเรือเข้ามาจอดแล้วไม่ต่ำกว่า 5,000 ลำจากจำนวนเรือประมงทั้งขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ที่มีอยู่ทั่วประเทศประมาณ 50,000 ลำ สำหรับในส่วนของจังหวัดระนองที่ยังมีสัตว์น้ำวางจำหน่าย พบว่ากว่า 60% มาจากเรือประมงของพม่า ที่นำปลาเข้ามาขายยังฝั่งไทย เพราะได้ราคาดีกว่า ส่วนสัตว์น้ำที่จับได้จากเรือประมงไทยมีน้อยมาก โดยตอนนี้ผู้ประกอบการประมงต่างรอความหวังกับรัฐบาลชุดใหม่
ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้น
ด้านนายประพร เอกอุรุ นายกสมาคมประมงจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ตอนนี้เรือประมงในจังหวัดสงขลากว่า 7,600 ลำ ไม่สามารถทนแบกรับกับภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะต้นทุนราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นมานานถึง 14 เดือนอีกต่อไปไหว โดยเฉพาะเรือประมงขนาดเล็กต่างประสบปัญหาขาดทุนกว่าเดือนละ 60,000 บาท เรือประมงขนาดใหญ่ขาดทุนเดือนละไม่ต่ำกว่า 150,000-160,000 บาท ทำให้ขณะนี้เรือประมงทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่จำต้องหยุดกิจการไปแล้วประมาณ 3,400 ลำ ซึ่งการแก้ปัญหาที่ผ่านมาทางสมาคมประมง พยายามประสานไปยังสมาคมประมงแห่งประเทศไทยเพื่อขอให้รัฐบาลหาแนวทางในการช่วยเหลือ แต่ปรากฏว่าผู้ประกอบประมงไม่เคยได้รับการดูแลจากรัฐบาลแต่อย่างใด ซึ่งตอนนี้ความหวังสุดท้ายอยู่ที่รัฐบาลชุดใหม่หลังการเลือกตั้ง ที่หวังว่าจะช่วยเข้ามาดูแลปัญหาของชาวประมงบ้าง ซึ่งตอนนี้ถือได้ว่าอยู่ในช่วงที่วิกฤติที่สุด.
GoogleCyberSearch
Shared Items
Labels
- ႐ႊင္ျမဴးစရာ (3)
- Agri and Fishery (11)
- Art and Literature (2)
- Dhamma - Beliefs (7)
- Earth-Weather-Travel (8)
- Economy-Business-Finance (22)
- Energy (4)
- Fun/Humor (10)
- General (1)
- Health (3)
- History - Politics (11)
- Ideas - Opinions (6)
- IT (22)
- Life Style (7)
- Local (21)
- Society - Community (1)
- Technology (14)
- Travel (4)
- การเกษตร (2)
- ขำขัน (8)
- ท่องเทียว (4)
- เทคโนโลยี (11)
- เทคโนโลยี-วิทยาศาสตร์ (3)
- ธุรกิจ (4)
- บ้า้นและครอบครัว (1)
- ประวัติศาสตร์ (2)
- ปรัชญา - ธรรมะ (10)
- พม่า (11)
- พลังงาน (5)
- ระีนอง - เกาะสอง (25)
- เศรษฐกิจ (10)
- สังคม (9)
- สัตว์น้ำและอาหารทะเล (10)
- สุขภาพ - อาหาร (12)
- ကမၻာေျမ (2)
- က်န္းမာေရး (8)
- ခရီးသြားျခင္း (5)
- စားဝတ္ေနေရး (8)
- စာေပ၊ ယဥ္ေက်းမႈ (5)
- စီးပြား၊ကုန္သြယ္ (32)
- စုိက္ပ်ဳိးေရး (6)
- ဓမၼ - ဂမၺီရ (5)
- မိုးေလဝသ (1)
- ျပည္ျမန္မာ (13)
- လူမႈဘဝ (8)
- သိပၸံႏွင္႔နည္းပညာ (16)
- သီခ်င္းမ်ား (2)
- အေတြးအျမင္ (6)
- အေထြေထြ (8)
- ေဒသသတင္း (24)
- ေရလုပ္ငန္း (14)
- ႏိုင္ငံေရး (11)
Contact to Blogmaster at kawthaung@gmail.com
Vistors Stats
Saturday, November 10, 2007
4พิบัติภัยโหมซัด ธุรกิจเรือประมง 5,000ลำจอดสนิท
Labels: สัตว์น้ำและอาหารทะเล
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Kawthaung Glimpse 2008
Blog Archive
-
▼
2007
(201)
-
▼
November
(27)
- Thai Prisoners Released from Myanmar
- ရေနာင္းတန္ေဆာင္တုိင္ခ်စ္ၾကည္ေရးမယ္
- နယ္စပ္စီးပြား ေရလုပ္ငန္းႏွင့္ ကမ္းရိုးတန္းတိုင္းျမ...
- กินเผ็ดระวัง "มะเร็งจีสต์" ทั่วโลกป่วยปีละ 2 หมื่น
- Loy Krathong
- Stock Trading - Technical Analysis : Assist with E...
- Stock Analysis - Technical over Fundamentals
- Oceans face the acid test
- สถานการณ์น้ำมัน
- တနသၤာရီကမ္း႐ုိးတန္းထြက္ ငွက္သုိက္ေစ်းကြက္
- "สาหร่าย" คุณค่าจากใต้ทะเล
- My personal gardening tip
- Investors avoiding Thailand: report
- เงินเฟ้อ..ใครเดือดร้อน?
- ထူးအိမ္သင္ ရဲ႕ ေမွာ္သီခ်င္းမ်ား
- 4พิบัติภัยโหมซัด ธุรกิจเรือประมง 5,000ลำจอดสนิท
- The Life of Buddha(Cartoon Version)
- အခ်ိန္ေလးေတာ့ေပးလိုက္ပါ
- ေႏြေန႔လည္ခင္းအိပ္မက္
- ปลาใกล้หมดจากเอเชียอาคเนย์
- Value Added Tilapia Fish Skin
- Horn Essentials in Some Countries!
- Than Shwe's secret home (Myanmar)
- Will we soon be extinct?
- Understanding of Chinese/Asian culture vs. Western
- Video Believe it? Dick has bones!!
- น้ำมัน ทองคำ และค่าเงิน
-
▼
November
(27)
Visitors
Visitor Link
Misc Synopsis
- ကံေကာင္းေသာ လူငယ္မ်ားသည္ သူ႔ဘဝတြင္ "ဘယ္စာကိုဖတ္၊ ဘယ္စာကို မဖတ္နဲ႔" ဟူေသာ အၾကံေပးခ်က္မ်ိဳး ရ႐ွိခဲ့၏။ ကံဆိုးေသာ လူငယ္မ်ားသည္ ဘာအၾကံေပးခ်က္မွ မရွိပါ။ ထိုအမ်ိဳးအစားထဲမွ စိတ္ဓာတ္အင္အား ျပည့္စံုေသာ လူငယ္မ်ား၊ ႀကိဳးစားလိုေသာ လူငယ္မ်ား၊ ႐ွာေဖြစူးစမ္းလိုေသာ လူငယ္မ်ားသည္ မည္သူ႔အကူအညီမွ် မပါဝင္ဘဲ မိမိတို႔ဘာသာ သင့္ေတာ္ရာရာကို ေ႐ြးခ်ယ္ သြားတတ္ၾကသည္။ တခ်ိဳ႔ကေတာ့ သူတို႔ ဘာကိုလိုခ်င္မွန္း သူတို႔ကိုယ္တိုင္ မသိသူမ်ား ျဖစ္ၾကပါသည္။ ေလာကတြင္ မိမိဘာ လိုခ်င္သည္ဟု မွန္ကန္စြာသိ၍ မိမိ လိုခ်င္ေသာ အရာကို ရေအာင္ယူႏိုင္ေသာ လူငယ္မ်ားလည္း ႐ွိၾကသည္။ လူတေယာက္ မိမိဘဝတြင္ ဘာလိုခ်င္သည္ ဟု အတိအက် သိလာ ရန္ စာအုပ္မ်ားစြာက တြန္းအားေပးႏိုင္သည္ဟု ကြၽန္မ ထင္ပါသည္။ ဂ်ဴး
- ဂန္ဘာရီနဲ ့နအဖ တို ့ရဲ ့ကေလးကလား လုပ္ရပ္မ်ား - နဖအ က ေဒၚစုကို ေနအိမ္မွာအက်ယ္ခ်ဳပ္ခ်ထားတာ တကမၻာလံုးသိပါတယ္။ ဘယ္လိုေနအိမ္မွာအက်ယ္ခ်ဳပ္ခ်ထားလဲဆိုရင္ အိမ္ေရွ ့တခါးကိုေသာ့နဲ ့ခတ္ထားတယ္။ ေဒၚစုျခံ၀န္းထဲမွာ စစ္တပ္ခ်ထားတယ္။ ေဒၚစုကို ေတြ ့ခ်င္တယ္တဲ့သူေတြက သူတို ့က ၀င္ေစဆိုတဲ့အမိန္ ့ရမွာ၀င္လို ့ရတယ္။ ေဒၚစု ရဲ က်မာေရးကို တာ၀န္ခံထားတဲ့ေဒါက္တာတင္မ်ိဳး၀င္းေတာင္ ၀င္ေတြ ့ျခင္တိုင္း၀င္ေတြ ့လို ့မရဘူး။ သန္းေရြ ရဲ ့ခြင့္ျပဳခ်က္ရမွေဒၚစုကိုေတြ ့ခြင့္ရတယ္။ ေဒၚစုေရွ ေနက ေဒၚစုကို ေတြ ့ျခင္တိုင္းေတြ ့လို ့မရဘူး။ အန္အဲလ္ဒီစီအီစီ ဆိုရင္လည္း ေဒၚစုကို အိမ္မွာေတာင္ေတြ ့ခြင့္မရၾကဘူး။ ဒီလို အေျခအေနမ်ိဳးမွာ ဂန္ဘာရီ ကိုယ္စားလွယ္နဲ ့ နအဖ ကိုယ္စားလွယ္က ေဒၚစုအိမ္ေရွ ့ကိုသြားျပီး ေဒၚေအာင္ဆန္းစုၾကည္ ဂန္ ဘာရီက ေတြ ့ျခင္လို ့ပါလို ့ အိမ္ေရွ ့ကေန ေလာစပီကာနဲ ့သြားေအာ္ေနတာ အေတာ့ကို ကေလးကလားဆန္ျပီ အရူးထတဲ့လုပ္ရပ္ျဖစ္ပါတယ္။ က်ေနာ္ေမးျခင္တာက သူတို ့မွာ ေဒၚစုအိမ္ကိုခတ္ထားတဲ့ေသာ့ရိွရဲ ့သားနဲ ့ဖြင့္ျပီး ၀င္သြားလိုက္ၾကပါလား။ အိမ္ကိုေသာ့ခတ္ထားတဲ့သူက တခါးဖြင့္ေပးပါလို ့ေအာ္ေနတာကေတာ့ အေတာကိုညဏ္နည္းလွၾကပါတယ္။ Ko Moe Thee Blog
- အဲဒီသ၀ဏ္လႊာနဲ႔ ပတ္သက္ၿပီး မေလးရွား၀န္ႀကီးခ်ဳပ္ ဘာဒါ၀ီက ျမန္မာႏိုင္ငံအေနနဲ႔ အာဆီယံရဲ႕ ျပည္တြင္း ေရး မစြက္ဖက္ေရးမူကို အကာအကြယ္မယူသင့္ဘူးလို႔ မိန္႔ခြန္းမွာ ထည့္သြင္းေျပာၾကားသြားပါတယ္။ ဒါ့အျပင္ အာဆီယံရဲ႕ အဓိကအဖြဲ႔၀င္ႏိုင္ငံျဖစ္တဲ့ မေလးရွားႏိုင္ငံက အဖြဲ႔ႀကီးရဲ႕ အဓိကမူတရပ္ျဖစ္တဲ့ ျပည္တြင္းေရး မစြက္ဖက္ေရးမူကို ျပန္လည္အနက္အဓိပၸၸၸၸၸါယ္ ဖြင့္ဆိုသင့္ၿပီလို႔ ေျပာၾကားခဲ့ပါတယ္။ / Dr.LwanSwe
- ရွစ္ေလးလံုး အေရးအခင္းနဲ႔အတူ နာဂစ္မုန္တိုင္းအေပၚ စစ္အစိုးရ တံု႔ျပန္မႈဟာ ျမန္မာႏိုင္ငံတြင္း မွာရွိတဲ့ အႀကီးမားဆံုး လူ႔အခြင့္အေရး ခ်ိဳးေဖာက္မႈေတြရဲ႕ “နိဂံုး” ျဖစ္မယ္လုိ႔ လူအမ်ားစုက ေမွ်ာ္ လင့္ထားၾကတယ္။ ဒါေပမယ့္ နိဂံုးျဖစ္ျဖစ္၊ မျဖစ္ျဖစ္ ဒီတႀကိမ္ေတာ့ ျမန္မာ့အေရးဟာ ျမန္မာ ႏိုင္ငံသားေတြ (“၈၈မ်ိဳးဆက္” ေက်ာင္းသားေတြဟာ ရဲ၀ံ့စြာနဲ႔ ေရွ႕ကေန ဦးေဆာင္ေနတယ္) တင္ မကေတာ့ဘူး ကုလသမဂၢ လံုျခံဳေရးေကာင္စီနဲ႔ ျမန္မာႏိုင္ငံရဲ႕ အာရွအိမ္နီးခ်င္းႏိုင္ငံေတြရဲ႕ ႏိုင္ငံေရး ဆႏၵေပၚမွာလည္း မူတည္ေနပါတယ္။ အႏွစ္ (၂၀) ဆိုတာ ရွည္လ်ားတဲ့ အခ်ိန္ကာလ ျဖစ္ေပမယ့္ သိပ္ေတာ့ ေနာက္မက်ေသးပါဘူး။ / New Era Journal
- Failed States Index 2008 - အားလံုးေပါင္း ၁၂ ခုရွိတဲ့ စံညႊန္းေတြထဲမွာ ျမန္မာႏိုင္ငံဟာ လူ႔အခြင့္အေရးစံညႊန္းမွာ အဖိႏွိပ္ခံရဆံုး တဖက္စြန္းမွာေရာက္ေနၿပီး ျပည္ပစြက္ဖက္မႈမွာေတာ့ အေစာကေရးသလို အနည္းဆံုးပါ၊ ဒီႏွစ္ခုက အမ်ားဆံုး နဲ႔ အနည္းဆံုး အစြန္းႏွစ္ဖက္ ေရာက္ေနတာကလြဲလို႔ က်န္တာေတြက ထိပ္ဆံုးမေရာက္တေရာက္မွာ။ ၂၀၀၅ တုန္းက ထိပ္ဆံုး ၂၀ ထဲမွာ ျမန္မာမပါဘူး၊ ၂၀၀၆ က်ေတာ့ နံပါတ္ ၁၈ နဲ႔ အေရွ႔တက္လာတယ္၊ ၂၀၀၇ မွာ အဆင့္ ၁၄၊ ေဟာ၊ အခု ၂၀၀၈ မွာ အဆင့္ ၁၂ ျဖစ္သြားၿပီ။ ဒီလို တႏိုင္ငံလံုးခ်ီၿပီး ညံ့ဖ်င္းေနတာ ဦးေဆာင္လမ္းျပေနတဲ့ေခါင္းေဆာင္ တာဝန္မကင္းဘူး၊ ဒါေၾကာင့္ ႏိုင္ငံေတြစာရင္းအျပင္ ေခါင္းေဆာင္ေတြရဲ့ စာရင္းကိုလည္း ျပဳစုထုတ္ျပန္ထားတယ္။ Degolar
0 comments:
Post a Comment