via Stock2Morrow Community by PK on 7/10/08
แซ่ (姓)
คือคำเรียกนามสกุล ของชาวจีน ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับไทยคือ ลูกใช้แซ่ตามพ่อ แต่ต่างกันที่แซ่ของชาวจีน จะวางไว้หน้าชื่อ ส่วนของไทย หรือชาติตะวันตก จะวางไว้หลังชื่อแซ่นั้นเริ่มกำเนิดขึ้น ตั้งแต่ยุคสังคมแรกเริ่มของจีน (ราว 5,000 ปีก่อน) แต่ในเวลานั้น ชาวจีนยกมารดรเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นการสืบวงศ์ตระกูล จึงสืบสายจากทางแม่ ลูกที่มาจากแม่คนเดียวกัน จะอยู่กันเป็นกลุ่ม และไม่สามารถ แต่งงานกันภายในกลุ่มได้ จะต้องแต่งข้ามกลุ่ม ต่อมาเพื่อให้ มีการแบ่งแยกกลุ่มอย่างเด่นชัด จึงได้มีการกำหนดให้ใช้ แซ่กำกับแต่ละวงศ์ตระกูล
ในชาติวงศ์ที่สืบสายจากแม่นั้น ลูกชายหญิง จะได้รับถ่ายทอดแซ่จากแม่ และแน่นอนว่า คนแซ่เดียวกันไม่สามารถแต่งงานกันได้
โดยมีแซ่ จี (姬) จี๋ (姞) ซื่อ (姒) เจียง (姜) เป็นแซ่หลักในสมัยนั้น สังเกตุได้ว่า แซ่เหล่านี้มีตัวอักษร 女 (หนี่ว์) ซึ่งแปลว่า "ผู้หญิง" กำกับอยู่ด้วย เป็นการยืนยันให้เห็นว่า แซ่เริ่มมีขึ้น ในช่วงยุคสังคม ที่สืบวงตระกูลจากสายแม่
ตามบันทึก "ทำเนียบร้อยแซ่" ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่ง ว่าด้วยเรื่องแซ่นั้น ระบุแซ่ไว้ทั้งสิ้น 494 แซ่ เมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการรวบรวมแซ่ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ปรากฏว่า รวมได้ไม่ต่ำกว่า 8,000 แซ่ แต่ปัจจุบัน ที่ชาวจีนใช้กันจริงๆ มีประมาณ 3,000 แซ่เห็นจะได้ แบ่งเป็นแซ่เดี่ยวและแซ่ 2 พยางค์ ซึ่งแซ่เดี่ยวจะมีเยอะกว่า อย่างในบันทึกทำเนียบร้อยแซ่นั้น มีแซ่เดี่ยว 434 แซ่ มีแซ่ 2 พยางค์แค่เพียง 60 แซ่เท่านั้น
โดยแซ่ 2 พยางค์ที่เห็นบ่อยที่สุด ในปัจจุบันได้แก่ จูเก๋อ (จูกัด) โอวหยัง ซือหม่า ตวนมู่ กงซุน เป็นต้น ส่วนแซ่เดี่ยวที่พบมากที่สุด ในปัจจุบันได้แก่แซ่หวัง ตามสถิติล่าสุด ที่สำรวจมามีชาวจีนใช้แซ่หวังทั้งสิ้น 93 ล้านคน ตามติดด้วยแซ่หลี่ 92 ล้านคน และแซ่จาง 88 ล้านคน ขณะที่อีก 7 แซ่ ซึ่งรวมถึง เฉิน,โจว,หลิน มีจำนวนผู้ใช้แซ่ละ 20 ล้านคน
และด้วยการที่ ชาวจีนมีแซ่นิยม ใช้อยู่เพียงไม่กี่ร้อยแซ่ จึงทำให้ปัจจุบัน เริ่มเกิดปัญหา "ชื่อแซ่ซ้ำ" ดังนั้นจึง ได้เริ่มมีการเสนอวิธี การแก้ปัญหาด้วย การให้ลูกใช้แซ่ ผสมระหว่างพ่อกับแม่ อาทิ พ่อแซ่ "จู" แม่แซ่ "โจว" ก็ผสมกันเป็นแซ่ "จูโจว" หรือ "โจวจู" เป็นต้น
0 comments:
Post a Comment