Saturday, July 28, 2007

Martyrs' Day - Fading Memories

Ref Photo : kthwe.blogspot.com

Once remembered in young that "Arzarni Nay" was filled with plenty of celebrations, talks, people celebrations with sorrow and a strong sound of "OatAaw" from factories to remind people to pause for a while on the time our leaders was assassinated.

Nowadays, all of these things become faded, that it come to my mind that it was just a dream.

A day before 19 July, I called one of friends in Yangon Office from Thailand. She said that "lucky you called me today, if you call tomorrow I will miss(I know only office number). I asked with suprise "Why, tomorrow is Thursday, you take a leave?" She said "No, tomorrow is "Arzarni Nay". I only just can exclaimed "Ohhh, right, I totally forget".

Even worse, the next day I went to Myanmar side Kawthaung, to meet with one partner. We sat at Tea Shop for the chit chat. He said "I tried to call Yangon(Office) for many times this morning, it rings, but nobody pick up. May be because of bad weather, line is not good". We, the rest 2, smiled and said "Hey you, today is "ARZARNI NAY".

The talks just stop and quiet for a while, only some thoughts passing in the minds of 3 of us. I wondered what my 2 colleages are thinking, but with some feeling, I had never asked them.

Read More......

Friday, July 27, 2007

Tropical Cool: How cold that night sky

http://www.nationmultimedia.com/webblog/view_blog.php?uid=552&bid=2537 On April 22 2007

People who write learned papers and books about tropical architecture and comfort --Floridians, Singaporeans, Australians, and, God knows why, even some Norwegians -- talk of "dumping" building heat, ie trying to find places where the enthalpy is low to which unwanted building heat can be efficiently transferred.

Alas, this is not easily done in Thailand because there aren't any cool places to be found. With a mean temp over the year of nearly 28 degrees, the earth itself is warm -- about 28 degrees, which does not provide much of a "sink" for heat. (One night I walked into a bar in Pnom Penh and started taking the radiant temperature of the palms of all the girls in the bar. I told them that I was measuring what kind of a wife they would be. I leave what one girl did it to the reader's imagination )

The sky, which cools the overheated brow and roof in the night desert (or in places like Hollywood, where I lived a rather disappointing life, but for other reasons than heat, until recently) is fairly warm, and efforts to radiate heat into the sky from buildings are not usually considered to yield much benefit, especially in the hot season.

But since we have recently seen that we are not asking for much cooling, just a few degrees, I've been taking some night sky temperature measurements* with my little radio Shack radiant thermometer. Here are the results on the left. Evidently the night sky temperature is a function of sky moisture, or dew point. And in the hot season, when there is a lot of moisture in the air, the night sky becomes less effective as a heat sink.

But still. How much can we get from a night sky of 15 degrees?

According to radiant heat theory, we should be able to transfer about

k*(Troof^4-Tsky^4) watts/m2

where k= 5.6697xlO-8 w/m2-°K. T

which comes to about 50 to 80 watts per square meter of roof. This is enough to lower the roof temperture, suppress it as we say, by two or three degrees.

Can we use this natural cooling to some good end?

-------------------------------

* I know that this instrument is not really measuring the temperature of anything in the sense of say a thermometer, rather it is feeling how much radiation is being emitted by whatever you point it at. Or whatever you point it's 30 degree "eye" at. It thinks that the emittance of everything is the same, maybe 0.9, which is not true or things like aluminum and skies. But since radiation is what we are talking about here, I'm just going to go ahead and figure the heat transfer as if the "temperature" of the sky was what the radiant thermometer says it is.

Read More......

Thursday, July 26, 2007

คุณลักษณะของผีไว้เป็น Standard Night Time Ghost หรือ SNG

ที่ต่างประเทศมีกลุ่มที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของ “ผี” หรือ Ghost (ผมว่าเขาคงจะว่างจัด) โดยได้สรุปคุณลักษณะของผีไว้เป็น Standard Night Time Ghost หรือ SNG ไว้ดังนี้

ที่ต่างประเทศมีกลุ่มที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของ “ผี” หรือ Ghost (ผมว่าเขาคงจะว่างจัด) โดยได้สรุปคุณลักษณะของผีไว้เป็น Standard Night Time Ghost หรือ SNG ไว้ดังนี้
1. ชอบปรากฏตัวในเวลากลางคืน โดยในแต่ละครั้งจะใช้เวลา 2 วินาที ถึง 10 นาที การมาแต่ละครั้งต้องใช้พลังงาน
2. มักปรากฏตัวในที่มืด ส่วนสาเหตุที่คนเห็นได้ ก็เพราะผีมีแสงในตัวเอง เปล่งแสงประมาณ 1-20 วัตต์
3. มีรูปร่างสีขาว มักนุ่งห่มด้วยผ้าห่อศพ หรือถ้าเป็นชุดคนก็จะเป็นสีขาว โดยจะแสดงเป็นภาพจางๆ
4. 99% มักหันหน้าเข้าหาผู้ที่พบเจอ
5. 90% เป็นผีคน ที่เหลือเป็นลิง หมา หรือสัตว์อื่นๆ
6. ผู้ที่มีโอกาสเจอผีแบบประชิดตัว มักจะพบว่าอากาศรอบๆ จะเย็นลง
7. ผีมักแสดงแค่ตัว หรือ เสียง หรือกลิ่น โอกาสที่จะแสดงพร้อมกันหมดมีน้อยมาก เพราะต้องใช้พลังงานสูงมาก

Read More......

เมื่อจีนร่ำรวย ไฉนจึงมาเกี่ยวกับค่าเงินบาทไทย?

เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากมายอย่างนี้, ต้องไม่มองเฉพาะปัจจัยเงินดอลลาร์เท่านั้น, แต่ต้องเหลียวไปดูเงินหยวนของจีน และเงินเยนของญี่ปุ่นด้วย

เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากมายอย่างนี้, ต้องไม่มองเฉพาะปัจจัยเงินดอลลาร์เท่านั้น, แต่ต้องเหลียวไปดูเงินหยวนของจีน และเงินเยนของญี่ปุ่นด้วย
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ตัวเลขอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนล่าสุด ที่ยังร้อนแรงถึงร้อยละ 11 ประกอบกับดุลการค้าที่ได้เปรียบอย่างสูงกับประเทศคู่ค้าอื่น และเงินสำรองต่างประเทศที่สูงถึงหนึ่งล้านล้านดอลลาร์ (คูณ 35 เข้าไป จะรู้ว่านี่คือเศรษฐีใหม่)
เงินสำรองระหว่างประเทศของจีนที่สูงมากเช่นนี้อย่านึกว่าไม่เกี่ยวกับไทย...ความจริง หากมองให้ลึกจะเห็นว่าเราต้องเฝ้ามองความเคลื่อนไหวของจีนในประเด็นอย่างใกล้ชิด
เพราะความร่ำรวยของจีน อาจจะมีผลต่อเงินบาทก็ได้
นักข่าวถามนายกรัฐมนตรีเวินเจียเป่าของจีน เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า เมื่อจีนมีเงินสำรองระหว่างประเทศเต็มกระเป๋าอย่างนี้ จะทำอย่างไรกับเงินทองล้นตู้เซฟอย่างนี้?
เชื่อไหมว่า แทนที่จะคุยโม้โอ้อวดถึงความสำเร็จทางเศรษฐกิจของจีน นายกฯ เวินเจียเป่า กลับตอบอย่างน่าพิศวง (อย่างน้อยก็สำหรับชาวบ้านทั่วไป) ว่า
"นี่แหละเป็นปัญหา...นี่เป็นปัญหาใหม่และปัญหายากสำหรับเรา..."
แปลว่าอะไร? เพราะพอมีเงินเต็มบ้าน สิ่งที่ต้องห่วงก็คือจะทำอย่างไรคุณค่าของเงินสำรองระหว่างประเทศเยอะๆ นั้น จึงไม่เสื่อมราคา?
ตอนยากจน ไม่มีข้าวกินนั้น เงินสกุลไหนของใครจะแข็งหรืออ่อนอย่างไรก็เป็นปัญหาของคนอื่น ไม่ได้เกี่ยวกับตัวเองแต่อย่างไร...แต่พอเริ่มเป็น "อาเสี่ย" แล้ว ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป ยิ่งมีเงินคนอื่นเขามาเป็นเงินสำรองของเรา เวลาเขาไม่สบาย เสี่ยก็พลอยต้องเดือดร้อนไปด้วย
เป็นที่รู้กันว่า ร้อยละ 70 ของเงินสำรองระหว่างประเทศของจีนวันนี้ ได้เอาไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐ ซึ่งแปลว่าจีน จะชอบหรือไม่ชอบนโยบายของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ก็ตาม ถ้าเงินสกุลดอลลาร์อ่อนปวกเปียก ก็จะพลอยทำให้จีนมีปัญหาไปด้วย
จึงไม่ต้องแปลกใจ ถ้าหากธนาคารกลางจีน จะเริ่ม "กระจายความเสี่ยง" ด้วยการหันไปซื้อเงินสกุลเยนของญี่ปุ่นมาแทนดอลลาร์
ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร เพราะธนาคารกลางของหลายประเทศที่เผชิญกับปัญหานี้ก็ได้ดำเนินนโยบายนี้มาแล้วเหมือนกัน...เรื่องอะไรจะไปเอาชีวิตไปแขวนเอาไว้กับมะกันแต่เพียงผู้เดียว?
แต่เมื่อลดปัญหาดอลลาร์ ก็ต้องไปเจอปัญหาเยน...เพราะเมื่อใครต่อใครหันไปซื้อเยนแทนดอลลาร์ เยนก็แข็งขึ้นเป็นธรรมดา เพราะความต้องการสูงขึ้น
ไม่ต้องแปลกใจเช่นกันถ้าหากเงินสกุลเยน ซึ่งเพิ่งเจอกับสภาพอ่อนที่สุดใน 20 ปีเมื่อต้นปีนี้ อยู่ดีๆ ก็เกิดอาการแข็งปั๋งขึ้นมา
เพราะธนาคารชาติของจีน และประเทศอื่นหันไปซื้อเงินเยนกันมากขึ้นอย่างชัดเจน...(และไม่ว่าจีนจะชอบนโยบายของนายกฯ ชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่นคนใหม่หรือไม่ก็ตาม กระเป๋าสตางค์ใคร ใครก็ต้องปกปักรักษา)
ที่บอกว่าไทยเราต้องจับความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจจีนอย่างตาไม่กะพริบก็ตรงนี้
เพราะเงินบาทนั้น มักจะ "ขี่" ไปกับเงินเยนเสมอ...พอเยนแข็ง บาทก็แข็งตาม และนี่คือหนึ่งในหลายๆ สาเหตุ ที่ทำให้เงินบาทแข็งขึ้นมาเรื่อยๆ จนผู้ส่งออกร้องจ๊ากกันทั้งเมืองขณะนี้
หากเป็นไปตามคำทำนายของนักวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์หลายคน เงินสำรองระหว่างประเทศของจีนก็คงจะยังสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะการส่งออกยังคาดว่าจะเฟื่องฟูต่อเนื่อง ซึ่งก็แปลว่าจีนจะกระจายความเสี่ยงของตัวเองด้วยการลดการถือครองอะไรที่เป็นดอลลาร์และหันมาซื้อเยน (กับเงินยูโร) มากขึ้น
และหากเป็นไปตามแนวโน้มเดิมที่ผ่านมา เงินบาทก็จะแข็งตามเงินเยนด้วย
นี่ย่อมตอกย้ำหลักการที่ว่า "ไม่มีข่าวต่างประทศชิ้นไหนไกลตัวคนไทยเลย"...จีนร่ำรวยขึ้น ข้อดีก็คือเขาจะซื้อของเรามากขึ้น และเมื่อเขามีสตางค์มากขึ้น ก็จะส่งคนมาท่องเที่ยวมากขึ้น...
แต่เมื่อเขารวยแล้ว เขาต้องแก้ปัญหาของเขาไม่ให้อิงอยู่กับดอลลาร์มากขึ้น พอหันไปตุนเงินเยน ก็อ้อมมาทำให้เงินบาทแข็งขึ้นตามไปด้วย...ทำให้ความสามารถในการแข่งขันในการส่งออกลดน้อยลง...และนี่คือวงจรที่ทำให้ทุกอย่างมีความเกี่ยวพันกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในเศรษฐกิจโลกวันนี้ ไม่มีอะไรไม่โยงใยกันอีกต่อไปแล้ว...คนไทยจึงต้องสร้างสังคมความรู้ให้เท่าทันคนอื่นๆ ทั้งหมด ชั่วโมงต่อชั่วโมง วันต่อวัน...

Read More......

ျမဝတီနယ္စပ္ကဏန္းအေရာင္းကုန္စည္ဒိုင္ဖြင့္လွစ္ရန္ စီစဥ္

ျမန္မာ-ထိုင္း နယ္စပ္ကုန္သြယ္ ေရး ဇုန္တစ္ခုျဖစ္ေသာ ျမဝတီနယ္စပ္ကုန္သြယ္ ေရးဇုန္တြင္ ကဏန္းအေရာင္းကုန္စည္ဒိုင္ကို ဇူလိုင္လကုန္ပိုင္းမွစ၍ ဖြင့္လွစ္ရန္ စီစဥ္ လ်က္ရွိေၾကာင္းႏွင့္ ထိုင္းႏိုင္ငံမွဝယ္လက္ မ်ားႏွင့္ ညွိႏိႈင္း၍ ကုန္ခ်ိန္အလိုက္ စာခ်ဳပ္ ကာ ေရာင္းခ်သြားမည္ျဖစ္ေၾကာင္း ျမန္မာ ႏိုင္ငံကဏန္းလုပ္ငန္းရွင္မ်ားအသင္းတာဝန္ ရွိသူထံမွ သတင္းရရွိပါသည္။

ယခင္က ျမဝတီၿမိဳ႕မွ ကဏန္းတင္ပို႔ရာ တြင္ လုပ္ငန္းရွင္မ်ားက ထိုင္းႏိုင္ငံမွကုန္ သည္မ်ားထံ အေရာက္တင္ပို႔ေပးရၿပီး ၎ တို႔ထံ၌ပင္ ခ်ိန္တြယ္ရေၾကာင္းႏွင့္ ယခုအခါ ကုန္စည္ဒိုင္၌ပင္ ေရြးခ်ယ္ခ်ိန္တြယ္ရမည္ ျဖစ္ရာ အေလးခ်ိန္မွားယြင္းေလ့ရွိမႈမွ ကင္း လြတ္ႏိုင္မည္ျဖစ္ေၾကာင္းလည္း သိရသည္။ ``ကဏန္းအေရာင္းကုန္စည္ဒိုင္ ဖြင့္ လွစ္ႏိုင္ရင္ ကဏန္းတင္ပို႕တဲ့ လုပ္ငန္းရွင္ ေတြအတြက္ အဆင္ေျပသြားမွာပါ။ ဆိုလို တာက အရင္တုန္းက သူတို႔ဆီေရာက္ေအာင္ ပို႔ရေတာ့အခ်ိန္ၾကာတယ္။ ကဏန္းက ခရီး ရွည္ေလ ေသတဲ့ရာခိုင္ႏႈန္းကမ်ားေလပဲ။ ဒီေတာ့ေသလို႔ေလလြင့္တာနဲ႕ ေနာက္ သူတို႔ ဆီမွာခ်ိန္ေတာ့ အေလးခ်ိန္မွားယြင္းမႈက ရွိတယ္။ အခုကုန္စည္ဒိုင္ဖြင့္ရင္ အဲဒီလိုေလ လြင့္မႈမရွိေတာ့ဘူး။ ေရာင္းဝယ္တဲ့စနစ္က ေတာ့ ႏွစ္ဖက္စလံုးညွိႏိႈင္းေနၿပီး သူတို႔ဘက္ ကလည္း သေဘာတူထားပါတယ္။ ဥပမာ-၁ဝ တန္ကို ေဒၚလာႏွစ္ေထာင္နဲ႔ စာခ်ဳပ္ ထားတယ္ဆိုရင္ ၁ဝ တန္ကို ဒီေဈးပဲပို႔။ေနာက္ ၁ဝ တန္ျပည့္သြားရင္တစ္ခါျပန္ခ်ဳပ္ မယ္။ အဲဒီအခါ ေဈးကိုျပန္ညွိၿပီး စာျပန္ ခ်ဳပ္ ေရာင္းပါတယ္´´ဟု ရွင္းလင္းေျပာျပ ပါသည္။ ျမန္မာ့ကဏန္းမ်ားကို ျပည္ပသို႔ တင္ ပို႔ရာတြင္ မူဆယ္ ၁ဝ၅ မိုင္မွတရုတ္ႏိုင္ငံသို႔ ေလလံစနစ္ျဖင့္လည္းေကာင္း၊ ယခုျမဝတီမွ ထိုင္းႏိုင္ငံသို႔ ကုန္ခ်ိန္အလိုက္စာခ်ဳပ္သည့္ စနစ္ျဖင့္လည္းေကာင္း အသီးသီးေရာင္းဝယ္ လ်က္ရွိၾကသည္။ ၁ဝ၅ မိုင္မွေလလံစနစ္ျဖင့္ တရုတ္ႏိုင္ငံသို႔ ေရာင္းခ်သည့္လုပ္ငန္းရွင္မ်ား အေနျဖင့္ ကုန္စည္ဒိုင္သို႔ ၄ ရာခိုင္ႏႈန္းေပး ေဆာင္ရၿပီး ျမဝတီကုန္သြယ္ေရးဇုန္မွတင္ပို႔ ရာတြင္ ၂ ရာခိုင္ႏႈန္းေကာက္ခံရန္ စီစဥ္ ထားေၾကာင္းလည္း သိရသည္။ လက္ရွိကဏန္းတင္ပို႔ေရာင္းဝယ္မႈမွာ သြက္လ်က္ရွိၿပီး မူဆယ္ ၁ဝ၅ မိုင္သို႔ တစ္ရက္လွ်င္ ကား ကိုးစီးႏွင့္အထက္ ပံုမွန္ တင္ပို႔ေနၿပီး ျမဝတီနယ္စပ္သို႔တစ္ရက္လွ်င္ ကား ငါးစီးႏွင့္အထက္တင္ပို႔လ်က္ရွိေၾကာင္း ႏွင့္တစ္တန္လွ်င္ အေမရိကန္ေဒၚလာ ၁၆ဝဝ မွ ၂၂ဝဝ ဝန္းက်င္ရရွိေနေၾကာင္းသိရသည္။ ယခုအခါနယ္စပ္မွတစ္ဆင့္ တစ္ဖက္ ႏိုင္ငံမ်ားသို႔ တင္ပို႔ေရာင္းခ်ရာတြင္ ယခုကဲ့ သို႔ ေရာင္းခ်သူေဈးကြက္အသြင္ေဆာင္ၿပီး အက်ိဳးအျမတ္မ်ားသည့္စနစ္မ်ားက်င့္သံုး ျခင္းအေပၚ အနိမ့္ေဈးမ်ားႏွင့္ ဝယ္သူ စိတ္ ႀကိဳက္ေဈးကြက္ျဖင့္ ေရာင္းဝယ္ေနရသည့္ လုပ္ငန္းရွင္မ်ားမွ ႀကိဳဆိုေၾကာင္း ၎တို႔က ဆိုပါသည္။

Read More......

ပုိႛကုန္သၾင္းကုန္လုပ္ငန္း ရႀင္ မဵားအေနဴဖင့္ နယ္စပ္ထၾက္ေပၝက္ အသီးသီးမႀ LC/TT ဖၾင့္လႀစ္ဴခင္း ကုိ ဴမန္မာ့စီးပၾားေရးဘဏ္(MEB) ၏ဘဏ္ခၾဲမဵားမႀတစ္ဆင့္ ေဆာင္ ရၾက္သၾားေတာ့မည္ဴဖစ္ေဳကာင္းႎႀင့္ ေလာေလာဆယ္တၾင္ဴမန္မာ-ထုိင္း နယ္စပ္ထၾက္ေပၝက္မဵားတၾင္ ေရ ထၾက္ပစၤည္းမဵားႎႀင့္ ပတ္သက္၍ လက္ရႀိေဆာင္ရၾက္ေနေသာစနစ္ အစား ႓မိတ္၊ ေကာ့ေသာင္းရႀိ MEB ဘဏ္တၾင္ Credit Advice ထုတ္ေပးေသာစနစ္အား ေဴပာင္း လဲကဵင့္သံုးေန႓ပီဴဖစ္ေဳကာင္း စီး ပၾားေရးႎႀင့္ကူးသန္းေရာင္းဝယ္ေရး ဝန္႒ကီးဌာနမႀရရႀိေသာသတင္းမဵား အရ သိရႀိရသည္။

Read More......

Sunday, July 22, 2007

Just Fun


Sexy & Romantic glitter graphics from S e x i l u v . c o m

Read More......

Evidence of Global Warming

Read More......

เยือนไทยพลัดถิ่นในพม่า --> คนไทยในมะลิวัลย



เช้าวันใหม่ เรา ๗ คนรวมล่าม บริกรตัวเล็กและคนขับรถมุ่งหน้าสู่มะลิวัลย์ ตามประวัติศาสตร์ที่ฝรั่งเขียนเมื่อปลายศตวรรษที่ ๑๙ มะลิวัลย์พม่าเรียกมะลิยุน ตอนอังกฤษปกครองพม่า มะลิวัลย์มีฐานะเป็นเมืองเป็นศูนย์กลางการปกครอง แต่เมื่อมะลิวัลย์กลายเป็นพื้นที่ทำเหมือง ศูนย์การปกครองเลยย้ายไปตั้งที่เกาะสอง คนทั้งหมดในมะลิวัลย์ เป็นลูกผสมไทย-จีน คนสยามหรือไทย และไทยมุสลิม พม่าในเมืองมะลิวัลย์มีเพียงข้าราชการและครอบครัวจำนวนน้อยนิด ปัจจุบันมะลิวัลย์มีสถานะเป็นตำบล อยู่ในเขตอำเภอเกาะสอง มณฑลตะนิ้นตายีอยู่ใกล้ฝั่งไทยมาก พวกเราได้ข้อมูลจากฝั่งไทยว่า “ยังมีคนไทยอาศัยอยู่” มะลิวัลย์จึงเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่เราจะไป

เราออกจากโรงแรมโดยการเช่ารถตู้ รถตู้คันเล็กนี้เป็นของโรงแรมที่ไปรับเราที่ตม. เป็นรถเก่าแก่ไม่น้อยกว่า ๒๐ ปี แต่วันนี้รถคันนี้ไม่มีป้าย “MR. JO”

ก่อนออกจากเมือง โซขอเวลาแวะชื้อตั๋วเครื่องบิน และประสานการเดินทางไปมะริดให้กับเรา รถวิ่งไปตามเส้นทางที่เราเดินไปกินข้าวเย็นเมื่อวาน รถวิ่งผ่านบริษัท “Siam Jonathan” กัง ลำเลียงและโซบอกเราว่า สยามโจนาธานเป็นบริษัทคนไทย ได้สัมปทานการประมงในพม่า รถวิ่งไปถึงบริษัทขายตั๋วของ Air Bagan ร้านขายตั๋วแอร์บากันอยู่ในร้านเดียวกับร้านขายเสื้อผ้า อุปกรณ์เครื่องใช้ กระเป๋า สบู่ ยาสระและนวดผม ยาสีพัน สินค้าส่วนใหญ่ที่เห็นล้วนมาจากฝั่งไทย

เรายังนั่งรออยู่บนรถ เพราะฝนตก โจ้บอกและชี้ให้ดูคนขายโรตี “บังทำโรตีก้นเปียก” พร้อมถ่ายภาพ เรามองตาม เห็นบังกำลังร่อนโรตี อยู่ใต้ชายคาร้านค้าแห่งหนึ่ง หันก้นให้ถนน ก้นโดนฝนเปียก แต่บังไม่แยแส

ฝนเริ่มซาลง แต่โซยังไม่กลับจากถ่ายเอกสาร เราจึงลงจากรถ เดินดูตลาดเกาะสองตอนเช้า เห็นพ่อค้าแม่ค้าขายของริมถนน ทั้งหมาก ขนมจีนแบบพม่า และของกินอื่น เดินดูอยู่พักหนึ่ง มองเห็นโจ้และกังกำลังสนใจการทำหมากของแม่ค้ารายหนึ่ง ที่ตั้งร้านเล็ก ๆ อยู่ข้างซอย เลยเดินมาสมทบ แม่ค้ากำลังห่อหมากทีละคำ โดยปูใบพูลงกับไม้รอง แล้วแตะปูนจากถุงด้วยไม้เรียวยาว มาแปะใบพู หยิบหมากและอะไรอื่นวาง แล้วห่อขายคำละบาท แม่ค้าทำด้วยความคล่องแคล่วว่องไวอย่างมืออาชีพ

แม่ค้าเป็นมุสลิม คลุมผมด้วยผ้าดำ เราถามโดยรู้คำตอบอยู่แล้ว แม่ค้าตอบเป็นภาษาไทยว่า “ใช่ มุสลิม” นอกจากขายหมาก เธอยังขายบุหรี่ ฮอลล์ แฮ็คส์และลูกอมประเภทอื่นจากฝั่งไทย ดูอยู่สักครู่โซก็กลับมา

รถพาเราวิ่งออกจากตลาด ไปจนถึง ๓ ไมล์ คนขับรถบอกเราผ่านล่าม “รู้จักกับคนไทยคนหนึ่งที่นี้” พวกเราจึงพร้อมใจกันแวะคุย เมื่อลงจากรถก็ได้ยินเสียงพูดไทยปักษ์ใต้ที่มิใช่เสียงเชษฐ์และกัง เจ้าของบ้านซื่อโกฮอง โกฮอง “เกิดที่เกาะสอง อยู่เกาะสองมาแต่รุ่นปู่-ย่า ปู่-ย่าเป็นคนทับหลี จังหวัดระนอง หนีมาเกาะสองช่วงสงคราม พ่อเกิดที่เกาะสอง ส่วนแม่มาจากฝั่งไทย เป็นคนบางนอน จังหวัดระนอง”

“เมื่อมาอยู่ ปู่สร้างสวน สร้างหลักปักฐาน เมื่อก่อนเกาะสองมีแต่คนไทย ไม่มีพม่า เกาะสองเป็นของไทย เป็นถิ่นที่อยู่ของคนไทย คนไทยมาอยู่ก่อน มีพวกมอร์แกน มุสลิม ฮินดูและคนไทยอยู่ แต่หลังจากปากน้ำระนองเจริญ เกาะสองก็เจริญ คนพม่าจึงเข้ามา และมาอยู่เกาะสอง อย่างเร็วที่สุดปี ๒๕๒๐”

โกฮองมีพี่น้องอยู่ที่ระนอง สมัยเด็กโกเรียนที่ระนอง “เรียนไป ขายขนมไป โตมาหน่อยก็ข้ามไป ๆ มา ๆ ระหว่างเกาะสองกับระนอง” ปัจจุบัน ๓ ไมล์มีคนไทยอยู่ “๕-๖ ครอบครัว เป็นคนในเครือญาติ เป็นตระกูลจีนฮกเกี้ยน”
นอกจากเกาะสอง คนไทยยังอยู่ที่ “มะลิวัลย์ อ่าวจีน อ่าวบ้า อ่าวใหญ่ แมะปูเตะ เป็นกลุ่มคนไทยมุสลิม” โกฮองกล่าว

ฐานะของโกฮองค่อนข้างมั่นคง บ้านตึกปูน ๓ ชั้น ทำใหม่และเป็นเจ้าของเรือประมง ตอนพวกเราไปเห็นคนงานกำลังซ่อมอวนประมง คุยได้ไม่นาน โกฮองก็ให้คนไปตามพี่สาวคือสมพร สมพรมีสามมีเป็นลูกผสมไทย-จีน เธอพูดภาษาไทยใต้ชัดเจนดุจเดียวกับโกฮองผู้น้อง แต่มีความเป็นไทยเข้มข้นกว่า เธอยืนยันอย่างหนักแน่นเป็นภาษาใต้ว่า “มะลิวัลย์และเกาะสองเป็นของไทยเพ” (เพ = ทั้งหมด) “คนมะลิวัลย์ เกาะสองเป็นไทยเพ” ตอนหลัง “พม่ามาเป็นนาย พ่อแม่มีดินมาก พม่ามันเอาหมด เอาไปเฉย ๆ…คนไทยเกาะสอง มะลิวัลย์ไปอยู่ฝั่งไทย เขาไม่ให้เป็นไทย...ตนเองอยากไปอยู่ฝั่งไทย”

คุยได้พักใหญ่เรากลับมาที่รถ และบอกให้โจ้เก็บภาพบ้านและถ่ายรูปกิ้งก่าใส่หมวก สายตาเราสะดุจที่ “กิ้งก่าใส่หมวก” และเกิดคำถามในใจ “ทำไมกิ้งก่าพม่าใส่หมวก”

เรารู้ในตอนหลังจากบริกรตัวเล็ก “ป้ายรณรงค์ถุงยางอนามัย” ถึงกระนั้นเรายังสงสัยอยู่ดี “ทำไมกิ้งก่าจึงเท่ากับไอ้นั่น” กิ้งก่าคือตัวอันตรายหรือไม่ กิ้งก่าในป้ายโฆษณามีหนามแผงหลัง ที่สร้างความเจ็บปวดได้

ในหนังสือ Reconceptualizing the Peasantry ไมเคิล เคียร์นีย์ นักมานุษยาวิทยาระบือนาม เปรียบชาวนายุคโลกาภิวัตน์เป็นประดุจกิ้งก่า สามารถปรับสีเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ได้อย่างดี

“ไอ้นั่น” ของพม่าปรับสีได้ด้วยหรือ...
แต่ไม่ว่าจะปรับสีได้หรือไม่ ป้ายโฆษณานี้ก็มีค่า น่าทึ่งและสมควรเป็นโฆษณา “คลาสสิกแห่งปี” ออกจากป้ายกิ้งก่า รถตู้ราคาหลายล้านพาเราวิงไปตามเส้นทางลาดยาง โจ้ยังคงทำหน้าที่ของตนอย่างต่อเนื่อง ถ่ายภาพพระพม่าเดินเรียงแถวบิณฑบาต คนขี่จักรยานยนต์ เณรแบกถังอาหาร รถพาเราวิ่งเรียบไปตามริมทะเล ผ่านสะพานข้ามไปยังเกาะซุนตงหรือชินตง “เป็นหมู่บ้านไทยมุสลิมในพม่า” คนขับรถบอกเราผ่านโซ เกาะแห่งนี้เรารู้มาก่อนจากไทยมุสลิมพลัดถิ่น และรู้อีกว่าคนเกือบครึ่งของเกาะซุนตง อพยพไปอยู่เกาะสินไห กลายเป็นไทยพลัดถิ่นในแดนไทย

รถวิ่งเลยไปถึง ๗ ไมล์ ทิวทัศน์ริมทางเป็นสวนปาล์ม สวนยางพาราและพืชพรรณอื่น ที่ใกล้เคียงกับในภาคใต้ของไทย เชษฐ์ลูกหลานดำ หัวแพร โจรชาวนานามกระเดื่องแห่งพัทลุงในอดีต ถ่ายภาพริมทาง ทั้งภาพสวนยาง สวนมะพร้าว บ้านเรือน รถรา วัวควายและสวนปาล์ม

ปาล์มเป็นพืชเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในพม่า ปลูกมากในตะนิ้นตายี รัฐบาลทหารพม่าต้องการให้มณฑลตะนิ้นตายีกลายเป็น “ชามน้ำมันปาล์มของพม่า” โดยการสนับสนุนเอกชนปลูกปาล์มนับแสนไร่ รถวิ่งผ่าน ๑๙ ไมล์และ ๒๒ ไมล์ เรามองออกนอกหน้าต่าง เห็นบ้านและการแต่งกายก็รู้ได้ทันทีว่า “บ้านคนไทย” วิ่งไปจนถึง ๒๓ ไมล์ แลเห็นป้ายบอกทางแยกเล็ก ๆ มีลูกศรชี้ทิศ เขียนข้อความ “วัด(ไทย)มะลิวัลย์”

การเขียนชื่อวัดไทยเป็นภาษาไทยในฝั่งพม่า เรารับรู้มานาน จากคำบอกเล่าของไทยพลัดถิ่น พวกเขาย้ำเสมอว่า “คนไทยฝั่งนั้น ยังเป็นไทย รักษาความเป็นไทย เรียนภาษาไทย มีวัดไทย บวชแบบไทย”

เหมือนคนขับรู้ใจ เลี้ยวซ้ายตามป้ายบอกทางอย่างไม่รีรอ รถวิ่งไปได้สักครู่ ป้ายวัดขนาดใหญ่ก็ปรากฏต่อสายตาพวกเรา ข้างบนเขียนเป็นภาษาพม่า ข้างล่างเขียนเป็นภาษาไทยตัวโตและชัดเจน “วัดไทยมะลิวัลย์” เข้าถึงเขตวัดเราแวะลงที่ศาลาวัด ด้านหน้ามีป้ายข้อความ “ยินดีต้อนรับ” เป็นภาษาไทย ลึกเข้าไปข้างในมีข้อความเขียนเป็นภาษาไทย “๒๕๔๙ วันเข้าพรรษา ๑๑-๗-๒๐๐๖”

เราเดินไปห้องน้ำ โดยการนำของเณรรูปหนึ่ง ที่บอกเราว่า “เป็นพม่า” แต่พูดไทยได้ ห่มสบงจีวรแบบพระไทย สีสบงจีวรแบบพระไทย และพระทั้งวัดบวชแบบพระไทย สบง จีวรสีเหลือง ไม่แดงเข้มแบบพระพม่า โกนคิ้ว ไม่ไว้คิ้วเหมือนพระพม่า และเป็นพระวัดเดียวในบรรดาอีกหลายวัดที่เราเห็นตลอด ๗ วันที่อยู่ในแดนพม่า ที่แต่งองค์และบวชในลักษณะนี้

หน้าห้องน้ำ แลเห็นข้อความภาษาไทยเต็มไปหมด หลังเข้าห้องน้ำ แวะเข้าโรงครัว แลเข้าไปภายในเห็นทิวแถวของป้ายภาษาไทยแจงรายนามผู้บริจาคเงินสร้างวัด สร้างห้องน้ำและโรงครัว ผู้บริจาคมีทั้งชื่อพระในวัด พุทธศาสนิกในฝั่งพม่าและจากฝั่งไทย

โจ้และเชษฐ์ยังทำหน้าที่ของตนคือถ่ายภาพ โจ้เดินไปถ่ายป้ายข้อความที่ติดไว้ตามต้นไม้ เพื่อเชิญชวนให้มนุษย์กิเลสหนาทำความดี ป้ายมีพื้นสีเขียวและน้ำเงินหลากหลายป้าย เขียนเป็นภาษาไทยและภาษาพม่า ราวกับพระวัดนี้ตั้งใจจะบอกว่า วัดไม่เคยแยกคนไทย คนพม่า ความดีไม่แบ่งเชื้อชาติ ป้ายข้อความที่โจ้เลือกถ่ายคือ “ผู้มีปัญญา ย่อมรักษาตนได้” “ถ้าทำใจให้สงบ จะพบความสุขเยือกเย็น” เชษฐ์เลือกบันทึกป้าย “ทำดีไม่ได้ผล เพราะทำตนลุ่ม ๆ ดอน ๆ” และ “เศษแก้วบาดคม เศษคารมบาดใจ”

โจ้และสิทธิเดินดูกุฏิพระ นามพระและนามกุฏิล้วนเขียนนามเป็นภาษาไทย บางกุฏิเขียนชื่อผู้สร้างถวาย เช่น กุฏิอาจารย์เตี้ยม แต่กุฏิที่เราให้ความสนใจมากที่สุดคือกุฏิเจ้าอาวาส หน้ากุฏิมีข้อความเขียนว่า “กุฏิเจ้าอาวาส พระอาจารย์โทนชัย สุธมฺโม” และวงเล็บในตอนล่างว่า “เจ้าอาวาส”

โจ้ถ่ายรูปศาลาปู่เจ้าสงฆ์ ที่มีข้อความภาษาไทยเขียนบอกว่า “นางกิ้มชายและครอบครัวสร้างถวาย” ถ่ายรูปโบสถ์ที่เป็นทรงไทยอย่างชัดเจน ป้ายรายนามญาติของเจ้าเมืองมะลิวัลย์ ที่ถวายที่ดินสร้างวัดไทยมะลิวัลย์ ภาพตาลปัตรกฐินสามัคคี ทอด ณ วัดไทยมะลิวัลย์ จัดโดยคณะศึกษาและปฏิบัติธรรม ตามพระไตรปิฎกจากกรุงเทพ ฯ เมื่อ ๒๐ ต. ค. ๒๕๔๔ เชษฐ์ถ่ายภาพต่าง ๆ คล้ายโจ้ และเลือกเก็บภาพปฏิทินที่มีพระบรมฉายาลักษณ์ ปี ๒๕๔๖ ที่ยังคงใหม่และสมบูรณ์ รวมทั้งรูปพระพุทธรูปที่สร้างถวายโดยพุทธศาสนิกจากฝั่งไทย

กัง ลำเลียงพูดคุยอยู่กับน้ำอ้อย น้ำอ้อยมีเชื้อสายไทย พูดไทยได้ชัดเจนและเป็นคนแนะนำให้เราไปซิมก๋วยเตี๋ยวไทยฝั่งพม่า ส่วนโซและบริกรตัวเล็กกำลังนั่งคุยกับเจ้าอาวาส ที่คนไทยในมะลิวัลย์เรียก พระอาจารย์

ฝนยังตกไม่ขาดสาย แต่เราก็เดินจุ้นทั้งวัด สักครู่พระอาจารย์เรียกพวกเราเข้าไปนั่งคุย พระอาจารย์เป็นคนเชื้อสายมอญ พูดไทยกลาง ไทยปักษ์ใต้ พม่า อังกฤษ เคยมาเรียนที่ฝั่งไทย ที่วิทยาลัยสงฆ์ วิทยาเขตกำแพงแสน พระอาจารย์บอกว่า คนไทยมาทำบุญที่วัดมะลิวัลย์เป็นประจำ มาจากกรุงเทพฯ ก็มาก จากระนองก็มี มาทอดผ้าป่า ทอดกฐิน กฐินปีนี้จะจัดวันที่ ๒๒ ตุลาคม และ “เชิญโยมมาร่วมทำบุญ”

ก่อนจากลา พระอาจารย์ให้หนังสือพวกเราคนละ ๒ เล่ม คือ หนังสือชื่อ โสตถิธรรม (๑๕) และ โสตถิธรรม (๑๖) ทั้งสองเล่มจัดพิมพ์ในเมืองไทย โดยชมรมศึกษาและปฏิบัติธรรม สโมสรกระทรวงอุตสาหกรรม กรุงเทพฯ ในปี ๒๕๔๒ และ ๒๕๔๓ ตามลำดับ เรากราบลาพระอาจารย์ ด้วยเหตุผลสองประการ ประการแรก

เราหิวข้าว ประการที่สอง

ถึงเวลาที่พระอาจารย์ฉันอาหารเพล

ออกจากวัด รถพาเราเลี้ยวซ้าย วิ่งไปไม่ไกลนัก ผ่านบ้านผู้คน เรามองเห็นบ้านและการแต่งกาย เห็นร้านขายขนมครก เรามั่นใจว่า นั้นคือคนไทยและบ้านคนไทย พวกเรารีบลงจากรถ ทักทายเจ้าของร้านและบ้านเป็นภาษาไทย และได้รับการตอบรับเป็นภาษาไทยเช่นกัน แต่ดูเหมือนเจ้าของบ้านจะไม่ตื่นเต้นกับการมาของพวกเรา สิ่งนี้อาจเป็นเพราะ “พื้นที่ตรงนี้มีคนไทยผ่านมาบ่อย” เราคิด

เราสั่งก๋วยเตี๋ยว แต่เจ้าของร้านแถมขนมครก ไม่พูดคุยกับเจ้าของร้านมากมาย เพราะเกรงใจและรบกวนเวลา เราบอกลาและขอบคุณ แต่ก่อนขึ้นรถ เราได้พบสาวสวยอนงค์หนึ่ง แม้เธอจะมิได้เข้าร่วมขบวนการ “ยิกทักษิณ ยิกคนหน้าเหลี่ยม” แต่เธอก็ใส่เสื้อเหลืองที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ

เธอใส่เสื้อเหลืองฉลอง “การครองราชย์ครบ ๖๐ ปี” ตัวใหม่เอี่ยม

รถวิ่งไปสักพัก เราบอกให้รถหยุด แล้วเข้าไปทักทายเจ้าของบ้าน แรกสุดเราได้คุยกับน้องนิด น้องนิดพึ่งกลับจากฝั่งไทย เธอบอกว่า “เป็นลูกคนสุดท้อง” ปัจจุบันเธอเรียนอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคระนอง เธอเรียนโดยใช้นามสกุลของคนอื่น นิดมีพี่น้องรวมทั้งเธอสามคน อีกสองคนเป็นชาย

บ้านของเธอมีสองชั้น บ้านปูนหลังใหญ่และมั่นคง หน้าบ้านแขวนกรงนกกรงหัวจุกคล้ายกับคนปักษ์ใต้ฝั่งไทย ภายในบ้านมีเฟอร์นิเจอร์ เครื่องประดับประดาต่าง ๆ ที่มาจากฝั่งไทย รวมทั้งนาฬิกาปลุก ตุ๊กตา ถังก๊าชหุงต้ม ทีวี ตู้เย็น สเตริโอและอื่น ๆ

สิ่งที่เราต้องการเห็นก็คือ รูปในหลวง ที่ไทยพลัดถิ่นจากประจวบ ฯ บอกว่า ”บ้านไหนมีรูปในหลวงคือบ้านคนไทย บ้านพม่าหามีรูปในหลวงไม่” สิ่งที่เราเห็นบนผนังบ้านด้านบน สูงจากเก้าอี้ที่เรานั่งคุยกัน คือ รูป “หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” พระดังผู้มีอิทธิพลสูงล้นต่อคนไทยปักษ์ใต้ ถัดจากหลวงปู่ทวดเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของ “สมเด็จ ร. ๕ ทรงม้า” ถ่ายจากลานพระบรมรูปทรงม้าในกรุงเทพ ฯ ถัดมาเป็นรูปกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ผนังด้านตรงข้ามมีกระจกเงาบานใหญ่ เหนือกระจกเงา มีนาฬิกาเรือนใหญ่ ภายในมีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบทสมเด็จประเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันและสมเด็จพระราชินี ถัดมาเป็นรูปดาราชื่อดังของไทย ปฎิทินที่มีพระฉายาลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน และต่ำลงมาเป็นรูปถ่ายที่บันทึกความทรงจำของครอบครัว

เรามีโอกาสคุยกับแม่ของนิด แม่นิดเกิดที่มะลิวัลย์ ตาของนิดเกิดที่มะลิวัลย์ เป็นคนไทย ส่วนปู่เป็นคนทับหลี จังหวัดระนอง สมัยแม่ของนิดเป็นเด็กในมะลิวัลย์มีแต่คนไทย ไม่มีพม่าปน “ผืนดินตรงนี้เป็นไทย แต่ถูกพม่าเอาไป ถูกอังกฤษยึดไป ตอนหลังตกเป็นของพม่า”

คนไทยในมะลิวัลย์ปัจจุบันมี “๔๐-๕๐ ครอบครัว ส่วนใหญ่เป็นคนเฒ่าคนแก่ เด็กหนุ่มสาวถูกส่งไปเรียนที่ฝั่งไทย” แม่นิดไม่ย้ายไปฝั่งไทย เพราะไปแล้ว “ฝั่งไทยไม่ให้เป็นไทย ไม่ให้บัตร ไม่มีที่ดิน หากินลำบาก” แม่นิดเล่า บ้านของนิดเลี้ยงหมูและมีสวน พ่อของนิดเป็นคนไทย แต่ไม่ร่วมพูดคุยกับเรา เพราะกินยามากเลยทำให้ “หูหนัก” ฟังผู้อื่นไม่ได้ยิน

ออกจากบ้านนิด เราเดินต่อไปที่บ้านโกอ่าง พบโกขณะกำลังนอนอ่านนิตยสารชีวิตรัก โกพูดไทยกลาง ไทยปักษ์ใต้ เป็นคนมะลิวัลย์โดยกำเนิด เป็นลูกผสมไทยจีน เตี่ยของโกมามะลิวัลย์เพื่อทำเหมืองสมัยอังกฤษปกครองพม่า สมัยเด็กโกไปเรียนหนังสือที่ฝั่งไทย ที่โรงเรียนละอุ่นใต้ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ปัจจุบันโกอ่างมีลูก ๓ คน อยู่ที่ระนองและอยู่กรุงเทพ ฯ

โกยืนยันเช่นคนอื่น “มะลิวัลย์และเกาะสองเป็นผืนดินไทย เกาะสองคือคนไทยที่ย้ายไปจากมะลิวัลย์ เมื่ออังกฤษเปลี่ยนศูนย์การปกครอง เจ้าเมืองมะลิวัลย์เป็นเพื่อนกับเจ้าเมืองระนอง โกซิมก้อง โกซิมก้องสร้างเมืองระนอง เจ้าเมืองมะลิวัลย์สร้างเมืองมะลิวัลย์ แต่ฝรั่งแยกเมืองระนองและมะลิวัลย์ออกจากกัน” วัดมะลิวัลย์ที่พวกเราเห็น โกบอกว่า “เป็นวัดสร้างใหม่ สร้างมาประมาณ ๓๐ ปี วัดเก่าตั้งอยู่ที่ริมท่าน้ำ ทางเข้าลำบาก ยังพอเห็นว่าเป็นวัด วัดเก่าเป็นวัดไทย ชื่อไทย พระไทยล้วน ที่ดินวัดใหม่บริจาคโดยญาติของเจ้าเมืองมะลิวัลย์ ทั้งที่อยู่มะลิวัลย์ ระนองและกรุงเทพฯ”

มะลิวัลย์เป็นเขตที่ปลอดภัยไม่มีกระเหรี่ยงอยู่ คนไทยกับพม่าอยู่ด้วยกันอย่างดี “ใครปกครองมะลิวัลย์” คือคำถามจากพวกเรา “เท่าที่จำได้” โกเล่า “มะลิวัลย์หลังลดฐานะเป็นตำบล มีกำนันหรือจางวางปกครอง เป็นคนไทยผสมจีนชื่อบุญสิ้ว แช่ตัน เป็นคนที่เกิดในมะลิวัลย์ พ่อแม่เป็นคนที่เกิดในมะลิวัลย์...ถัดจากโกสิ้ว คือ โกอ่าย เป็นกำนัน เป็นลูกครึ่งไทยจีน เป็นลูกหลานของเจ้าเมืองมะลิวัลย์ โกอ่ายมีแม่เป็นคนไทย มาจากฝั่งไทย หลังโกอ่าย โกก้ำเป็นกำนัน”

โกก้ำยังมีชีวิตอยู่ โกก้ำ “เป็นกำนันอยู่ ๘ ปีก็ลาออก...รับใช้พม่านานไม่ดี รับใช้พม่านานไม่ไหว” มะลิวัลย์ช่วงหลัง “มีคนหลายเชื้อชาติ มอญ พม่า ไทย...เห็นว่าคนไทย เข้ากับคนอื่นได้ดี พม่าจึงให้เป็นผู้นำ หลังโกก้ำ กำนันมะลิวัลย์เป็นพม่า”

เมือถามถึงยาเลสุข โกอ่างบอก “ไม่รู้จัก” แต่จำเรื่องราวเกี่ยวกับจอมขี้หกได้ “คน ๆ นี้เป็นคนที่โกหกเก่ง เป็นเจ้าเป็นจอมโกหก วันหนึ่งยาเลสุขขี่ช้างมาและท้าให้จอมโกหกโกหกให้ยาเลสุขลงจากหลังช้าง ตอนนั้นเขาขี่ช้างกัน ‘ไหนแน่จริงโกหกให้กูลงจากหลังช้างที’ จอมโกหกบอกว่า ‘ไม่สามารถโกหกให้ใครลงจากหลังช้างได้ แต่โกหกให้คนขึ้นช้างได้’ ยาเลสุขลงจากหลังช้างและท้าจอมโกหกอีก ‘ไหนแน่จริงโกหกให้กูขึ้นหลังช้างที’ จอมโกหกบอกว่า เขาได้โกหกให้ยาเลสุขลงจากหลังช้างแล้ว ยาเลสุขจะขึ้นช้างอีกหรือไม่ก็ตามใจ” นั่นคือเรื่องราวของยาเลสุขที่โกอ่างจำได้ และบอกพวกเราเพิ่มเติมอีกว่า “ยาเลคือตำแหน่งทางตำรวจของพม่า เท่ากับผู้กอง”
สิ่งนี้เรารู้มาก่อน เรารู้เรื่องของยาเลสุข และตำแหน่งยาเลจากการอ่าน เที่ยวเมืองพม่า ของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่สำนักพิมพ์มติชนนำมาพิมพ์ใหม่

แม้จะอยู่ฝั่งพม่า แต่โกอ่างก็อ่านนิตยสารชีวิตรัก นิตยสารดาราทีวีไทยที่มีกองเป็นพะเนินในบ้าน ดูทีวีไทยซ่องเจ็ดสีและซ่องอื่น ๆ ที่ดูได้ในมะลิวัลย์ บ้านของโกอ่างเองติดจานรับยูบีซีและฟรีทีวี มีความสุขอยู่กับการทำสวนและเลี้ยงนกกรงหัวจุก ที่มีนับสิบตัว

ก่อนจากลา โกอ่างแนะให้เราไปดูบ่อน้ำร้อนที่อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก เราเชิญโกอ่างนำทาง รถวิ่งต่อไปตามเส้นทางไปปกเปี้ยน แต่ทางลาดยางไปสิ้นสุดในอีก ๒-๓ กิโลเมตรข้างหน้า ก่อนสิ้นสุดถนนลาดยาง เราแวะลงด้านขวามือ เข้าสู่บ่อน้ำร้อน ถึงบ่อน้ำร้อน เชษฐ์ หัวแพร อุทานอย่างสุภาพว่า “แมร่ง เหมือนบ่อน้ำร้อนระนอง ไม่รู้ใครลอกแบบใคร”

บ่อน้ำร้อนโบกหิน/ปูนรูปวงกลมด้วยปูน เราอยากรู้ว่า ร้อนจริงมั้ย เลยเอามือลงสัมผัส และต้องชักมือกลับรวดเร็ว ที่จริงน้ำไม่ร้อนอะไร เป็นน้ำอุ่น สถานที่แห่งนี้โกอ่างบอกว่าสร้างสมัยที่โกสิ้วเป็นกำนัน เดิมเป็นเหมืองแร่ ถัดจากบ่อน้ำร้อนไม่ไกลเป็น “สถานที่ศักดิ์สิทธิ์” สร้างเป็นรูปวงกลม มีสามแฉกตรงกลาง แต่ “ศักดิ์สิทธิ์” ยังไง ไม่ได้ถามและลืมถาม

โกอ่างขอที่อยู่พวกเรา พวกเราขอเบอร์โทร เป็นเบอร์มือถือของฝั่งไทย ในเขตเกาะสองและมะลิวัลย์ ยันช้างฟังที่อยู่ไกลออกไป ชาวบ้านดูทีวีไทยและใช้มือถือไทย ซิมไทย โกอ่างบอกทิ้งท้าย “คนมะลิวัลย์กับระนองเป็นญาติพี่น้อง คนมะลิวัลย์กลายเป็นคนไทยตกหล่นในแดนพม่า...คนสองฟากไปมาหาสู่กันทุกวัน…งานบุญ ประเพณี วัฏฏะปฏิบัติของคนมะลิวัลย์เหมือนกันทุกประการกับระนอง ไม่ผิดเพี้ยน” รถวิ่งกลับทางเดิม ผ่านเลยมะลิวัลย์สู่ ๒๒ ไมล์ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดของโกอ่าง ถึง ๒๒ ไมล์เราแวะบ้านขวามือ ที่เราหมายตาตั้งแต่ขาไป เพราะป้ายผ้าภาษาไทยหน้าบ้านล่อใจ บ้านหลังนี้คือบ้านโกก่าย บานประตูบ้านโกก่ายมี “บทกวีข้างฝา” ภาษาไทยและอังกฤษ “รักเธอแต่เธอไม่รู้…รัก…Vit…I love you Vittaya…กระท่อมชายโสด…”

แต่โกก่ายมิใช่ชายโสด เค้าหน้าโกก่ายออกจีน ๆ เตี่ยของโกก่ายเป็นคนกระบุรี บ้านอยู่แถวบางกุ้ง เตี่ยข้ามมาฝั่งพม่าช่วงสงคราม โกก่ายเกิดที่ ๒๒ ไมล์ สมัยเป็นหนุ่มไปทำงานขับรถที่สุราษฎร์ “ไปได้ไง” พวกเราถาม สมัยนั้น “ไม่มีใครสนใจ ไม่มีใครตรวจบัตร” เมียโกก่ายตอบ ขับรถอยู่สุราษฎร์ ๕ ปี ไปพบรักกับน้าน้อย สาวกาญจนดิษฐ์ ทั้งสองตกลงแต่งงานกัน อยู่สุราษฎร์ ๓ ปี มาเยี่ยมญาติที่ ๒๒ ไมล์ เมื่อมาถึง พ่อแม่ฝ่ายชายไม่ให้กลับ น้าน้อยและโกก่ายจึงต้องอยู่ที่ ๒๒ ไมล์จนถึงปัจจุบัน

วันที่เราไปเยี่ยม น้าน้อยพึ่งกลับจากกาญจนดิษฐ์ “ไปทำบุญเดือนสิบ” ซึ่งเป็นงานใหญ่และสำคัญของภาคใต้ ที่คนภาคใต้ไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของประเทศไทย ส่วนใหญ่ต่างกลับบ้านเพื่อเลี้ยงส่ง(ผี)ตายาย รวมถึงน้าน้อยที่ข้ามฟากจาก ๒๒ ไมล์ในฝั่งพม่าไปร่วมงาน น้าน้อยอยู่พม่ากว่า ๔๐ ปี มีลูก ๖ คน ทุกคนเรียนหนังสือที่ฝั่งไทย คนหนึ่งเป็นช่างไฟฟ้าที่ระนอง อีกคนอยู่อำเภอละอุ่น อีกคนทำงานที่กรุงเทพ ฯ ลูกอีกคนกำลังเรียนหนังสือที่ฝั่งไทย ลูกชายที่ไม่ได้เรียนต่อ ทำงานอยู่บ้านกับพ่อแม่ที่ ๒๒ ไมล์

บ้านโกก่ายและน้าน้อยทำด้วยไม้ สองชั้น อยู่ริมถนน หลังบ้านเป็นสวน ที่สองสามีภรรยาสร้างสมมานาน
“บ้านในพม่าสร้างใหญ่ไม่ได้ เพราะเสียภาษีแพง นายพม่าจะทำอะไรก็เก็บภาษีคนไทย” น้าน้อยเล่าและเล่าต่อ “มาอยู่แรก ๆ ไม่มีพม่า มีแต่คนไทยอยู่กันเป็นแถบ พม่าเข้ามาทีหลัง” เดี่ยวนี้พม่ากวน “คนไทยหนีไปอยู่ฝั่งไทย เหลืออยู่ฝั่งนี้ราว ๕๐ ครัว”

อุปกรณ์ เครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่งบ้านน้าน้อยคล้ายกับบ้านนิด ส่วนใหญ่มาจากฝั่งไทย ปฎิทินจากฝั่งไทย รวมทั้งปฏิทินรูปพระเจ้าตากสินมหาราชที่เก่าและติดไว้นาน ปุ๋ยและอุปกรณ์เคมีการเกษตรจากฝั่งไทย หนังสือหนังหา หยูกยาจากฝั่งไทย ทั้งหนังสือการ์ตูนมหาสนุก ขายหัวเราะ การ์ตูนนิยายเริงรมย์ เช่น ผัวอย่างนี้มีเป็นร้อย, เฮี้ยวสุด ๆ รักสุด ๆ รวมถึงการ์ตูนทวีปัญญา เช่น ป่าพิสดาร

บ้านหลังนี้ “กำลังบอกขาย จะไปฝั่งไทย” เพราะไม่เคยคิดว่าตนเป็นพม่า เกลียดพม่า ไม่ยอมให้ลูกรักชอบและแต่งงานกับพม่า “ไม่ไหว พม่าขี้ลัก อาหารการกินลักของชาวบ้าน มีของลักของชาวบ้าน นายอะไรรักของชาวบ้าน ไม่ชอบ ขี้ลัก ไม่ฟัง เอาลูกเดียว”

“เวลาไทย” โซที่นั่งฟังเราสนทนามานานพูดทักท้วง “บ้านนี้คนไทย ไม่มีบัตรพม่า” น้าน้อยพูดขณะที่เราทุกคนหันไปมองนาฬิกาที่แขวนบนบันไดขึ้นชั้นสองของบ้าน ก่อนจากลาน้าน้อยบอกกับเรา “แต่นี้ไป บ้านเรือนที่อยู่ด้านซ้ายมือจนถึงค่ายทหาร เป็นบ้านคนไทย” ค่ายทหารในพม่ามีมาก “จากมะลิวัลย์ถึงปกเปี้ยนมีอยู่ ๑๐ กองพัน” คือ ข้อมูลที่โกอ่างบอกกับเราก่อนหน้า

รถวิ่งกลับตามเส้นทางเดิม ฝนยังคงโปรยลงมา โรงเรียนเลิกแล้ว เด็กตัวน้อยสวมชุดเสื้อขาว กางเกง-โสร่งหรือผ้านุ่งเขียวกำลังเดินกลับบ้าน รถวิ่งเลย ๑๙ ไมล์ไปแล้ว น้ำตกมะลิวัลย์อยู่ขวามือ โซถาม “จะไปดูไหม” เราบอก “ไม่” การปฎิเสธครั้งนี้ ไม่ทราบผิดหรือถูก แต่ตอนหลังได้อ่านหนังสือ Ma Kyone Galet ของ Ma Ohmar ซึ่งเขียนเล่าว่า น้ำตกมะลิวัลย์แห่งนี้เป็นน้ำตกเตี้ย ไม่มีสิ่งใดน่าตื่นเต้น

เราไม่ได้กลับไป ๑๙ ไมล์ รถยังคงวิ่งต่อไปเรื่อย ๆ สิ่งที่อยู่ในใจเราคือ “เวลาไทย” และ “บ้านนี้เป็นไทย” เวลาพม่าที่ลิบอกเราช้ากว่าเวลาไทย ๓๐ นาที แต่เวลาที่บ้านน้าน้อยเทียบกับนาฬิกาบนข้อมือ นาฬิกาน้าน้อยเป็นเวลาไทย ดูเผิน ๆ เวลาเป็นเรื่องของนาฬิกา แต่ในทางมานุษยวิทยา เวลาเป็นอะไรอื่นที่มากกว่านาฬิกา เวลาคือมิติของสังคม เป็นจังหวะหรือท่วงทำนองของชีวิต “แม้จะอยู่ในพม่า แต่ใช้เวลาไทย หมายความว่ากระไร” หมายถึง “การใช้ชีวิตแบบไทย ผูกพันอยู่กับข่าว ทีวี พิธีกรรม หรือวิถีชีวิตแบบไทย ใช่หรือไม่” “บ้านน้าน้อยมีจินตนาการร่วมกับรัฐและชาติไทย และคนไทยใช่หรือไม่” เหล่านี้คือโจทย์และคำถามใหญ่ ที่เลยกรอบพรมแดนของรัฐและประเทศ และเป็นประเด็จที่รัฐดัดจริตของไทยไม่เคยคิดหรือตระหนัก เราเห็นหนังสือ เจริญธรรมภวนา ที่บ้านน้าน้อยและขอติดมือมา ที่สนใจหนังสือเล่มนี้หาใช่เพราะเป็นคนธรรมะ ธรรมโม หรือเป็นหนอนหนังสือธรรม แต่เพราะมีเรื่องวัดไทยมะลิวัลย์ ความในหนังสือเขียนว่า “วัดไทยมะลิวัลย์ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเมืองมะลิวัลย์ บนเกาะวิกตอเลียปอย (เกาะสอง) ประเทศสหภาพเมียนมาร์...เป็นเกาะที่อยู่ใกล้จังหวัดระนองของประเทศไทย มี...ทะเลอันดามันขั้นระหว่างกัน ใช้เวลาในการเดินทางจากท่าเรือระนองไปเกาะสองประมาณ ๓๐ นาที” “ลูกหลานตระกูลเจ้าเมืองมะลิวัลย์มีดำริที่จะปรับปรุงและซ่อมแซมวัดไทยเก่าแก่ของเมืองมะลิวัลย์ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ของวงศ์ตระกูล เพื่อเป็นการสร้างมหากุศล เพื่อให้ชาวพุทธในเมืองมะลิวัลย์ได้มีวัดเพื่อจัดกิจกรรมบำเพ็ญกุศล... จึงได้ชักชวนลูกหลานของเจ้าเมืองมะลิวัลย์ที่เป็นชาวมะลิวัลย์ ชาวเกาะสอง ชาวระนองร่วมกันซ่อมแซมและบำรุงวัดไทยมะลิวัลย์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ แล้วนิมนต์พระภิกษุจากเมืองไทย (วัดตโปทาราม จังหวัดระนอง ไปเป็นเจ้าอาวาส) ต่อมาในปลายปีพุทธศักราช ๒๕๔๑ ได้ดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถ”

หนังสือเล่าต่อว่าในปี ๒๕๔๓ อาจารย์สุชาติ นาคอ่อน อาจารย์ที่สอนพระธรรมตามพระไตรปิฎก ได้นำคณะศึกษาและปฏิบัติธรรมตามพระไตรปิฎก ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดระนอง เพื่อไปทอดผ้าป่าที่วัดไทยมะลิวัลย์ เมื่ออาจารย์สุชาติ ทราบว่าวัดกำลังสร้างพระอุโบสถและยังไม่มีพระประธานในพระอุโบสถ จึงปวารณาที่จะสร้างพระประธานให้วัด เมือกลับจากทอดผ้าป่า อาจารย์สุชาติก็เริ่มโครงการสร้างพระพุทธคันธราชปางตรัสรู้ และในวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ อาจารย์สุชาติ นาคอ่อนได้นำ “คณะศึกษาและปฏิบัติธรรมตามพระไตรปิฎกจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดระนอง ทำพิธีน้อมถวายพระพุทธคันธราชปางตรัสรู้ ให้วัดไทยมะลิวัลย์ ซึ่งมีการจัดดอกไม้ มาลามาลัย เป็นเครื่องสักการะไตรรัตนะบูชาอย่างงดงาม”

“ชาวบ้านมะลิวัลย์-เกาะสอง-ระนองเป็นชุมชนข้ามพรมแดน เขามองไม่เห็นชายแดน เขาทำบุญข้ามพรมแดน เป็นพี่น้องข้ามพรมแดน” คือข้อความที่เรานึกได้ ข้อความนี้จำได้ว่าอ่านจากบทความ “ถิ่นพลัดไทยไป-ไทยพลัดถิ่นมา” ของสิริพร สมบูรณ์บูรณะ เพื่อนร่วมงานของเราคนหนึ่ง ซึ่งเขียนไว้ในหนังสือมุ่งสู่มานุษยวิทยาประยุกต์
“พวกเขาปฏิบัติความเป็นไทยข้ามพรมแดน พวกเขาไม่ใช่พม่า แต่เป็นไทย เพียงแต่รัฐไทยไม่ให้เขาเป็นไทย คลื่นโทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์มือถือไทยไม่เคยแบ่งพรมแดน แต่รัฐไทยหยุดยั้งความเป็นไทยไว้ที่พรมแดน” เราคิด

รถวิ่งถึง ๑๐ ไมล์ คนขับแวะจอดถามบังคนหนึ่งถึงไทยมุสลิม บังขึ้นรถและพารถย้อนกลับไปร้านขายของและกาแฟ พวกเราลงและทักทายกับเจ้าของบ้าน เจ้าของบ้านเป็นหญิงสองคนสองวัย เราถามคนแม่ “พูดไทยได้มั้ย” ผู้เป็นแม่ยังไม่ตอบ ลูกสาววัยกำลังเริ่มสาวรีบตอบ “ได้คะ”

ยังมิได้พูดคุย บังก็ขี่จักรยานยนต์เข้าบ้านมา สองแม่ลูกที่เราคุยด้วยคือภรรยาและลูกของบังอาจ บังอาจทักทายพวกเรา เราบอกว่ามาจากฝั่งไทย มาเยี่ยมชมหมู่บ้านไทย คุยกับไทยพุทธมาแล้ว อยากพูดคุยกับไทยมุสลิม
บังบอก “๑๐ ไมล์เป็นตำบลกินพื้นที่จากแหลมแรตถึง ๘ ไมล์ มีคนไทยอยู่ไม่มาก ประมาณ ๑๕๐ ครัว…ไทยมุสลิมส่วนใหญ่อยู่ตำบลช้างพัง ตำบลช้างพังคนไทยเรียกอ่าวจีน เป็นตำบลที่ใหญ่สุดในอำเภอเกาะสอง ประชากรร้อยละ ๘๐ เป็นไทย ส่วนใหญ่เป็นมุสลิม ไทยพุทธที่ช้างฟังก็มี เป็นคนไปจากมะลิวัลย์ มุสลิมช้างพังร้อยละ ๙๙ เรียนภาษาไทย บางคนไปเรียนฝั่งไทยแล้วกลับมาเรียนพม่า มุสลิมที่ ๑๐ ไมล์มีน้อย...ประมาณ ๔๐๐-๕๐๐ ครัวย้ายไปอยู่ฝั่งไทย”

ฝนเทลงมาอย่างหนักและหนาเหมือนตราช้าง ลูกชายเล็ก ๆ ของบังกลับจากโรงเรียน ลูกบังสะพายย่าม สวมเสื้อขาว กางเกงเขียวตามแบบฟอร์มนักเรียนของพม่าและอยู่ในสภาพที่เปียกปอน “ที่บ้านพูดจา ๓ ภาษา ไทย มาลายูและพม่า” บังเล่าและเล่าต่อ “เกิดที่สิบไม้ พ่อแม่มาจากฝั่งไทยตอนสงครามญี่ปุ่น…ญาติพี่น้องอยู่ที่หินช้าง ระนอง ฝ่ายแม่มาจากเกาะยาวใหญ่-ยาวน้อย จังหวัดพังงา...ตอนเด็กไปเรียนที่กระบี่ปี ๒๕๑๗ กลับมาอยู่ฝั่งนี้ปี ๒๕๒๐ คนอื่นก็ไป ๆ มา ๆ สมัยก่อนคนไทยมาทำงานที่นี่ คนจากหินช้าง กำผวนในฝั่งไทย มาทำงานที่นี่ เป็นคนไทยแท้ ๆ ไม่ต้องทำบัตร ทำอะไร พ่อค้ากุ้งค้าปลาที่นี่ก็ไปขายที่ระนอง คนฝั่งระนองก็มาทำงานที่นี่ พอมีปัญหาก็กลับ บางคนพ่ออยู่ฝั่งไทย แม่อยู่ฝั่งนี้ แต่ทำบัตรฝั่งนี้ไม่ได้”

“อยู่พม่าต้องใช้จิตสำนึก อยู่ด้วยการพึ่งตนเอง มันเก็บภาษีเยอะ อยู่ต้องพิจารณา ถ้าทนไม่ได้ก็ต้องไป...ไปฝั่งไทย เหมือนไปเกิดใหม่ ก็ต้องไป…ผมก็ไม่แน่ เราอยู่ตามพ่อแม่ อยู่ไปดูไป บางทีมันมาแบบพายุ มันเป็นรัฐบาลทหาร คนที่นี่ไป ก็ไปอยู่หินช้าง สะพานปลา และสินไห ที่สินไหมีคนจากชินตงไปอยู่กันเยอะ...”

“จะไปไหนต่อ” บังถาม “มะริด” ใครคนหนึ่งของพวกเราตอบ บังบอกว่า “เคยไปที่มะริด มีคนไทยจากสิงขรมาเปิดร้านขายของในมะริด แต่ก่อนในสิงขรมีคนไทยมากกว่าร้อยละ ๘๐” บังหวนกลับมาพูดถึงเกาะสองว่า “เดิมคนในเกาะสองพูดภาษาไทยทั้งนั้น ไม่พูดพม่า...คนมุสลิมฝั่งพม่าอยู่ที่บ้านเหนือ ปากคลอง แมะปูเตะ บ้านควน บ้านท่านา อ่าวจีน อ่าวจาก อ่าวจากนอก อ่าวจากใน อ่าวใบ บ้านทอน มีคนไทยนับหมื่น ทรัพยากรทะเลและสวนมีมาก”

“แต่ถิ่นที่อยู่เหล่านี้ เราไม่อาจจะไปถึงได้ เพราะรัฐบาลพม่าไม่อนุญาต ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย ซึ่งไม่แน่ใจว่าความปลอดภัยของใคร ของพวกเราหรือของรัฐบาลพม่า” เราคิดในใจ

บอกลาบัง แล้วเดินทางต่อ รถวิ่งกลับเกาะสอง ใจหนึ่งอยากไปต่อที่เกาะซุนตง แต่เวลาจวนมืดค่ำ ฝนยังเทมายังไม่หยุด เราจึงตัดสินใจไม่ไปซุนตง ถึงทางแยกรถนำเราไปยังอีกฟากของเกาะสอง รถวิ่งตามเส้นทางขรุขระ บางแห่งมีน้ำท่วมขัง เด็กๆ กำลังสนุกกับการเล่นน้ำที่ไหลนองตามท้องถนน รถพาเราวิ่งขึ้นไปบนวัดที่ตั้งอยู่บนเนินสูง เพื่อถ่ายภาพและเพื่อชมชุมชนที่ตั้งใหม่ตามริมฝั่งทะเลของเกาะสอง “บ้านเหล่านี้พึ่งตั้งใหม่ เป็นคนพม่า” โซบอกเราพร้อมชี้ไปยังหมู่บ้านที่อยู่เบื้องล่าง

ถ่ายภาพเสร็จ รถนำเราเข้าสู่ตลาดเกาะสอง เพื่อชื้อเสื้อผ้า แต่เสื้อผ้าที่เราเห็นส่วนใหญ่มาจากฝั่งระนองและราคาสูง โจ้จึงทนใส่กางเกงตัวเดียวตลอด ๖-๗ วัน จากนั้นรถแวะร้านหนังสือ หนังสือส่วนใหญ่เป็นภาษาพม่า เราเลือกชื้อหนังสือประวัติศาสตร์พม่า ๓ เล่ม แม้ไม่สามารถอ่าน และหนังสือ Ma Kyone Galet ของมา โอมาร์ที่กล่าวถึงแล้ว

จากนั้นรถนำเราไปยังร้านอาหาร เป็นอาหารไทย เจ้าของร้านพูดและเขียนไทยได้ แต่ไม่ทราบว่าเป็นคนระนองหรือคนเกาะสอง เราสั่งอาหารแบบไทย ๆ ร้านอาหารอยู่ไม่ไกลจากร้านโมบีดิคเรสเตอรอง (Moby Dick Restaurant) ที่เราไปกินคืนวันแรกที่พักในเกาะสอง

รถวิ่งผ่านแผ่นป้ายรณรงค์ขนาดใหญ่ ให้เกาะสองเป็นพื้นที่ปลอดยาเสพติด เห็นป้ายนี้แล้วชวนสงสัย ข้อความรณรงค์มีทั้งภาษาพม่าและอังกฤษ ข้อความภาษาอังกฤษเท่าที่จำได้ คงเขียนประมาณ “Let us free drug zone” ข้อความที่ป้ายรณรงค์สื่อความหมายอะไร เป็นข้อความประจานหรือข้อความเชิญชวน หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ข้อสงสัยนี้กลายเป็นภาระของล่าม “โซ ที่เกาะสองมีปัญหายาเสพติดหรือไม่” “มี” โซตอบ ด้วยเหตุนี้ “Let us free drug zone” จึงเป็นทั้งสองอย่างรวมกัน--มียาเสพติดอยู่เกลื่อน พวกเราจงมาช่วยกันขจัดให้มันหมดไป ทำให้แผ่นดินของเราปราศจากยาเสพติด

Read More......

เยือนไทยพลัดถิ่นในพม่า --> วันแห่งการรอคอย

ฝนยังตกพรำ ๆ มาตั้งแต่เช้า พวกเรานั่งรอนอนรอไปจนถึง ๑๑ โมงซึ่งเลยเวลาเที่ยวบิน เครื่องบินยังไม่มา และมีข่าวแว่วมาว่า เครื่องบินลงไม่ได้ เราทนรอ ระหว่างที่รอ มีโอกาสพูดคุยกับคนไทย คนหนึ่งอายุประมาณ ๕๐ เศษ อีกคนอายุระหว่าง ๓๐-๔๐ คนอายุมากทำประมง คนอายุน้อยทำอะไรไม่ได้สอบถาม เรารู้จักซื่อคนที่มีอายุมากในภายหลังว่าชื่อโกคิน
เราแปลกใจจึงถาม “ทำไมพูดไทยได้” ชายทั้งสองตอบ “เพราะเกิดที่เกาะสอง” ซึ่งเป็นคำตอบเดียวกับคำตอบเจ้าหน้าที่สนามบินเกาะสองเมื่อ ๒ วันก่อน

ชายอายุน้อยเล่าว่า “มะริด มะลิวัน เกาะสอง เดิมเป็นของไทย มีประวัติเขียนไว้ บนเกาะที่มีพระนอน พระนอนสร้างใหม่ วัดเดิมเป็นวัดไทย ประวัติเขียนไว้… มะลิวัลย์กับเกาะสองเดิมมีคนไทยกับมุสลิม พม่าอพยพเข้าทีหลัง พม่ามาจากภาคเหนือ ภาคเหนือขาดความอุดมสมบูรณ์ จึงอพยพมาอยู่ภาคใต้…

“เดิมคนไทยอยู่ที่มะลิวัลย์ ตอนหลังย้ายมาเกาะสอง คนระนอง เกาะสอง มะลิวัลย์เป็นพี่น้องกัน ไปมาหาสู่กันตลอด เมื่อทำบัตร คนระนองก็ทำบัตรไทย คนฝั่งนี้ก็ทำบัตรพม่า...

ก่อนหน้านี้ “ไปมาหาสู่กันสะดวก ไม่ต้องทำบัตร ไม่ต้องตรวจมาก เขียนแค่ชื่อเท่านั้น ฝั่งไทยก็ยังไม่ทำบัตร ไม่ต้องทำวีซ่า ใบผ่านทาง วีซ่าและใบผ่านทางพึ่งมาทำตอนหลัง ตอนพลเอกเชาวลิต [ยงใจยุทธ] เป็นนายกรัฐมนตรี มาเจราจาตกลงกับผู้นำพม่า การตรวจบัตรจึงมากขึ้น เข้มขึ้น”

ชายทั้งสองเป็นบาบาร์ไทย-จีน โกคินมีญาติอยู่กระบุรี ปู่อยู่ที่ตลาดแขก ระนอง คนอายุน้อยมีลูก ๒ คน ชายหนึ่ง หญิงหนึ่ง แม่เป็นพม่า แต่ลูกสาวพูดไทยได้ เพราะชอบดูทีวีไทย

โกคินบอก “ปัจจุบัน คนเกาะสองพูดไทย เป็นคนไทยและบาบาร์ยังมีมาก ไทยมะริดดั้งเดิมในมะริดไม่มีแล้ว คนในมะริดที่พูดไทย เป็นคนที่มาจากเกาะสองหรือที่อื่น คนไทยดั้งเดิมถูกกลืนไปแล้ว ปัจจุบัน คนทวาย คนตะนาวศรี ที่เป็นคนไทยยังมีอยู่ แต่น้อย”

คุยยังไม่จบโซบอกให้เรานำกระเป๋าไปตรวจ เพื่อรอการบิน เจ้าหน้าที่สนามบินตรวจคล้ายกับที่สนามบินเกาะสอง แต่โชคดีเราไม่โดนตรวจทั้งกระเป๋าและร่างกาย ตรวจเสร็จ เข้าไปนั่งรอด้านใน โซยังเฝ้ารอพวกเราอยู่ข้างนอก
ระหว่างรอเครื่องบิน กังสงสัยว่าเครื่อง X-Ray สนามบินพม่าใช้การได้หรือไม่ เพราะกระเป๋าของเชษฐ หัวแพรมีมีดยาวอยู่เล่ม แต่เครื่องตรวจไม่มีปฏิกริยาใด ๆ “สงใสเป็นเครื่อง X-ray หลอก” กังสรุป

ผ่านไป ๑ ชั่วโมง ฝนยังตกไม่หยุด พวกเราลุ้นให้เครื่องบินลง “มันบินมาดูสนามแล้ว” เดี๋ยวคงบินกลับมาลงจอด” โกคินบอกกับเรา เราใจชื้น

แต่เครื่องบิน บินไปตั้งหลักเป็นเวลานาน เรานั่ง นอน ยืนรอ รอ...รอ...และรอเครื่องบินไปจนถึงบ่ายโมง เจ้าหน้าที่สนามบินมาแจ้งว่า เครื่องบินไปลงที่เกาะสองแล้ว

โซสีหน้าวิตกกังวล และเชิญให้เรากลับออกมาจากห้องพัก

ออกมาถึงพวกเราถามโซถึงเที่ยวบินอื่น ๆ และเรือ โซบอก “เรือวันนี้ไม่มี พรุ่งนี้ก็ไม่มี ต้องรอถึงวันอาทิตย์ เที่ยวบินจะมีอีกทีก็วันจันทร์” พวกเราหมดแรง

“บริษัทการบินจะรับผิดชอบผู้โดยสารอย่างไร เขาจะเช่าโรงแรมให้ผู้โดยสารหรือไม่” กังถาม โดยยึดแบบแผนปฏิบัติของสายการบินในไทย

โซตอบ “ไม่ เครื่องบินลงไม่ได้เป็นเรื่องปกติในพม่า ผู้โดยสารต้องรับผิดชอบตนเอง”
“ไหนว่านักบินพม่าเก่ง ทำไมไม่น้ำเครื่องบินลง” เรานึกในใจ
“นึกถึงการบินไทย” เชษฐ์เปรย
“นึกถึงอะไร เห็นผิดเวลา ๒๐ หรือ ๓๐ นาทีก็ด่าเขา” เราเย้า

โซให้เรารอที่สนามบิน เขาเดินไปโทรศัพท์ให้รถคันเดิมมารับ รถมาแล้ว แต่คนขับเข้าไปคุยกับเจ้าหน้าที่สนามบิน และกลับออกมา โซบอกว่าคนขับเป็นตัวแทนขายตั๋วเครื่องบิน เขาให้ความหวังว่า เครื่องบินเที่ยวย่างกุ้ง-เกาะสองจะแวะเติมน้ำมันที่มะริด เขาจะจัดการเรื่องเดินทางให้

โซพาเรากลับไปกินอาหารเที่ยงตอนบ่ายที่ร้านยะดานา อาหารมื้อนี้กินอย่างไรก็ไร้รส กินเสร็จเราได้แต่รอ...รอ...และรอ โซบอกว่าเดี๋ยวจะมีตัวแทนบริษัทขายตั๋วมาบอก ในที่สุดเด็กหนุ่มที่เป็นตัวแทนบริษัทขายตั๋วก็มา พูดกับโซเป็นภาษาพม่า

พวกเราจับจ้องการพูดคุยตาไม่กระพริบและลุ้นตัวโก่ง เชษฐ์ลุ้นหนักกว่าเพื่อน พร้อมพูดลุ้นสุดตัว “อย่าผายมือ อย่างผายมือ อย่าผายมือซี”

เหมือนถูกลุ้น ตัวแทนขายตั๋วผายมือตามจังหวะการห้ามของเชษฐ์

“เครื่องบินลงที่เกาะสองแล้ว” คือคำตอบสุดท้ายของโซ พวกเรานั่งนิ่ง ยิ้มไม่ออก ครู่ใหญ่โซถาม “เอากาแฟไหม” เราบอก “ไม่...จะไปนอน”

ระหว่างนั่งรถกลับโรงแรมเดิม โจ้เสนอให้โซเจรจากับลิ โซ อนุญาตให้เราบินไปย่างกุ้งและบินต่อไปกรุงเทพ ฯ
กลับถึงโรงแรม เราและกังได้ห้องพักเดิม โจ้และเชษฐ์ย้ายมาอยู่ห้อง ๔๐๒ ติดห้องเรา

บ่าย ๓ โมงแล้วเราได้แต่รอ...รอ...และรอ รอข่าวจากโซ ส่วนกังหลับไปแล้ว นอนพักอยู่ชั่วครู่ โจ้มาเคาะประตูเรียกให้ไปห้อง

ไปถึงห้อง เชษฐ์และโซรออยู่แล้ว ทั้งสามคนบอกว่าเรา ต้องอยู่มะริดต่ออีก ๓ วันเพราะตม. ไม่ให้เดินทางไปย่างกุ้ง เครื่องบินอีกทีในวันพุธหน้า เราบอกว่าส่วนตัวไม่มีปัญหา ปัญหาใหญ่คือ พวกเราไม่มีเงินอยู่ถึงวันพุธ
คุยไปคุยมาโซถาม “เรือไปไหม เรือมีพรุ่งนี้เช้า ที่นั่งไม่พอ” เราบอก “ไม่เป็นไร สลับกันนั่ง รีบไปชื้อตั๋ว”

ท้ายสุดโซ โจ้ เชษฐ์บอกว่า “มีเรือพรุ่งนี้ ๗ โมง ตั๋วชื้อแล้ว ที่นั่งครบ” เรานึกในใจ “แมร่งโดนอำ”
“พรุ่งนี้เรือจะออกแน่นอน มีฝรั่งไปด้วย ๓ คน” โซบอก

เวลาเกือบ ๔ โมง โจ้กับเชษฐ์บอก “หลับไม่ลง จึงมาชวนไปเดินดูท่าเรือ” ถึงท่าเรือทวาย มะริด เกาะสอง เดินลงไปเล่นที่ท่าเรือ มีเรือข้ามฟากจากเกาะที่บาบาร์บอกตอนอยู่สนามบินว่า “เป็นวัดเก่าของไทย” เข้ามาเทียบฝั่ง
เราเดินเข้าไปถามคนขับจักรยานยนต์รับจ้าง ที่ลงมาท่าเรือด้วยภาษามือ “ใช่เรือข้ามฟากหรือไม่” เขาตอบ “ใช่” บอก “เมียเป็นคนไทยเลยพูดไทยได้นิดหน่อย”

ช่วงที่คุยนั้น ลุงแขกฮินดูเข้ามาร่วมคุยด้วย เราดีใจ “คงได้คุยภาษาอังกฤษ” แต่แขกฮินดูพูดภาษาอังกฤษไม่คล่อง เราพูดกับลุงแขกว่า “ปกติคนแขกพูดอังกฤษได้ดี ทำไมลุงพูดไม่คล่อง” “เป็นฮินดู อยู่ในพม่า” แกว่า

จากนั้นขึ้นจากท่าเทียบเรือกลับเข้าสู่ตัวเมือง เดินเลียบถนนทางด้านตะวันออกของวัดประจำเมือง บ้านที่อยู่ใกล้วัดกำลังทำขนมโค เรียกให้เราไปกินด้วย รวมทั้งให้ชิมสลัดมะละกอ เรากินแต่ขนม พร้อมพูดคุยกับชาวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่กำลังอยู่ในวัยหนุ่มสาวและส่วนใหญ่เป็นพวกบาบาร์ จีนผสมพม่า

ระหว่างกิน หนุ่มพม่า ๓ คนเดินมา เจ้าของบ้านเชิญชวน ชายทั้งสามนั่ง เรานั่งคุย หนุ่มพม่าคนหนึ่งรู้ว่าเราเป็นคนไทยเลยคุยด้วย เขาเป็นพม่า เกิดที่มะริด แต่เคยเดินทางไปทำงานในประจวบฯ กว่า ๑๖ ปีจึงพูดภาษาไทยได้แคล่วคล่อง

ก่อนจากลาเราขอที่อยู่ของเด็กกลุ่มนั้น บอกจะส่งรูปมาให้ เด็กคนหนึ่งถามพวกเรามาทำอะไร เราบอกว่ามาศึกษาวัฒนธรรมไทยในพม่า เราอ้างประวัติศาสตร์ว่า “ศตวรรษที่ ๑๗ มะริดเป็นส่วนหนึ่งของไทย” เด็กคนนั้นถาม “จะมาเอาแผ่นดินตรงนี้คืนหรือ” เราบอก “ไม่ แค่มาศึกษา” ในใจคิดว่า “นายมองคนผิดแล้ว อย่าว่าแต่เอาแผ่นดินคืนเลย แค่ขอคืนสัญชาติให้ไทยพลัดถิ่นยังไม่มีปัญญา”

บอกลาเด็กกลุ่มนั้น แล้วเดินกลับโรงแรม พักครู่หนึ่งก็เดินทางไปกินข้าวในที่ที่โซเรียกว่าแบล็ก มาร์เก็ต แต่ที่จริงคือตลาดกลางคืน เปิดขายประมาณ ๖ โมงถึง ๔ ทุ่ม ทุกวัน

พื้นที่ของตลาดกลางคืนก็คือถนนเรียบอ่าวมะริด พ่อค้า แม่ค้าจำนวนมาก นำของมาขาย หลายหลาก เช่น อาหาร เสื้อผ้า เทป วีซีดี บริการสักยันต์ ชา กาแฟ และอื่น ๆ

เรากินอาหารในตลาดกลางคืน กินแบบผู้ดีตกยาก ไม่เหมือนกับวันก่อน ๆ วันก่อน ๆ เชษฐ หัวแพร ในฐานะผู้ถือเงินของกลุ่ม โม้ว่า “แมร่ง เงินเป็นฟ่อน ๆ เป็นเศรษฐีในพม่า” โม้แล้วเขาก็หัวเราะเสียงแหบ ๆ เหมือนรถสตาร์ทไม่ติดอย่างเคย

“วันนี้ทำไมเชษฐ หัวแพร ไม่ไปกินข้าวร้านอาหารวะ เบียร์ก็ไม่สั่ง เลือกมากินข้าวข้างถนน เหมือนพจมานตอนตกยาก” เรานึกในใจ

กินข้าวเสร็จ พวกเราเดินตลาดกลางคืน แล้วเดินกลับมาเส้นทางเดิม ผ่านกลุ่มเด็กใจดีกลุ่มเดิม และมายืนอยู่ตรงถนนเพื่อชมแสงไฟ และความสวยงามของวัดใหญ่ประจำเมืองในยามค่ำคืน

วันนั้นเป็นวันออกพรรษา ผู้คนทั้งเมืองร่วมใจกันทำบุญ เดินผ่านบ้าน ร้านรวงต่าง ๆ ต่างประดับโคมไฟและแสงเทียนกันทั้งเมือง ตามถนนหนทางชาวบ้านเปิดร้านเลี้ยงแขก เลี้ยงผู้คนที่เดินผ่านไปมา ดูชาวบ้านน่ารักดี แต่พระพม่าไม่น่ารักเท่าไร ตอนเรามานั่งกินนขนมที่เด็กและน้องสาวใจดีเลี้ยง พระมายื่นหยุดตรงพวกเรา เพรียกหาเงินตราเสียงแข็ง “มันนี่ มันนี่ มันนี่”

โซบอกว่า “คนพม่าให้ความสำคัญมากกับการทำบุญ”

เราตอบ “คงดุจเดียวกับเมืองไทยเมื่อ ๕๐ – ๖๐ ปีก่อน แต่สิ่งที่เราเรียกว่าการพัฒนา ได้ทำให้สิ่งเหล่านี้สูญสลาย”

Read More......

เยือนไทยพลัดถิ่นในพม่า

Pagoda, India Buddhagaya style at Thai Monastry, Maliwan, Kawthaung






ปัจจุบันเรามีหนังสือ ภาพยนตร์ สารคดีเกี่ยวกับพม่าไม่น้อยแต่เรื่องราวไทยพลัดถิ่นในดินแดนดังกล่าวแทบไม่มีใครกล่าวถึง การไม่กล่าวถึง จึงเป็นที่มาของการเยือน

เราวางแผนเดินทางสู่พม่ามานาน แต่ประสบปัญหาหลายประการ นับตั้งแต่วีซ่า เวลาที่ลงตัว ความปลอดภัย แต่สุดท้าย เรากำหนดเดินทาง ๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ และกลับออกมา ๖ ตุลาคมเดือนเดียวกัน

ใน ๕ วัน เราวางแผนจะไป ๗-๘ แห่ง และยึดแบบแผนการเดินทางในไทยเป็นหลัก เรากางแผนที่ แลเห็นเส้นทางหลวงสีแดงต่อเนื่องจากเกาะสอง (Kawthaung) มะลิวัลย์ (Maliwan) ตลาดสุหรี (Karathuri) ปกเปี้ยน (Bokpyin) ลังเคี๊ยะหรือเล็งย่า (Lenya) สิงขรหรือเทียนขุน (Theinkun) ตะนาวศรี (Tenessarim) และมะริด (Mergui) เราจึงวางแผนว่าจะเหมารถขึ้นไปแล้ววิ่งย้อนกลับ หรือไม่ก็บินไปมะริดและนั่งรถไล่ลงมาจนถึงเกาะสอง ใน ๗-๘ แห่งนี้ เรารู้โดยแน่ชัดว่า พื้นที่ที่มีไทยพลัดถิ่นอาศัยอยู่ คือ มะลิวัลย์ ตลาดสุหรี ปกเปี้ยน เล็งย่า สิงขรและตะนาวศรี

พื้นที่ทั้งหมดอยู่ในมณฑลตะนาวศรีหรือตะนิ้นตายี (Tanintharyi Division) ตะนิ้นตายีแบ่งเป็น ๓ อำเภอ คือ เกาะสอง (Kawthaung District) พื้นที่ครอบคลุมเกาะสอง มะลิวัลย์ ตลาดสุหรี ปกเปี้ยนและลังเคี๊ยะ รวมถึงหมู่บ้านไทยมุสลิม เช่น อ่าวบ้า อ่าวจีน อ่าวใหญ่ ช้างพัง เกาะซุนตง ๑๐ ไมล์ แหลมแรต แมะปูเตะ สองอำเภอมะริดหรือเม็ค (Myeik District) ครอบคลุมพื้นที่ เช่น เมืองปะลอ (Palaw) เมืองมะริด เมืองตะนาวศรี และตำบลสิงขร ที่ไทยพลัดถิ่นในฝั่งไทยแจ้งว่า “เป็นพื้นที่ของคนไทย เป็นไทยทั้งตำบล” และสามอำเภอทวาย ครอบคลุมพื้นที่ เช่น เมืองทวาย (Dewe Diastrict) เมืองทะเยฉวง (Thayetchung) และเยบะยู (Yebyu)

Read More......

Saturday, July 21, 2007

All about blood

From http://raven-bdc.blogspot.com/
uRefrwdkY cE¨¨mudk,fxJrSm&SdwJh aoG; qdkwJht&m[m uRefrwdkY touf&Sifa&;udk t"du axmufyHhhay;aewJh t&mjzpfygw,f/ aoG;r&Sd&if? cE¨¨mudk,frSm aoG;&Sdoifhoavmuf yrmPr&Sd&if uRefrwdkYtouf qufvuf&SifEdkifzdkY qdkwmrjzpfEdkifygbl;/ bmvdkYvJqdkawmh aoG;[matmufpD*sif? ADwmrif tm[m&"gwfawGeJY cE¨¨mudk,fu vdktyfwJh tjcm;aomt&mrsm;udk vdktyfaewJhqJvfawG wpf&I;awGqDudk a&mufatmif cE¨¨mudk,fwGif; vSnfhvnf ydkYaqmifay;vdkYygyJ/

uRefrwdkY cE¨¨mudk,fxJrSm&SdwJh aoG; qdkwJht&m[m uRefrwdkY touf&Sifa&;udk t"du axmufyHhhay;aewJh t&mjzpfygw,f/ aoG;r&Sd&if? cE¨¨mudk,frSm aoG;&Sdoifhoavmuf yrmPr&Sd&if uRefrwdkYtouf qufvuf&SifEdkifzdkY qdkwmrjzpfEdkifygbl;/ bmvdkYvJqdkawmh aoG;[matmufpD*sif? ADwmrif tm[m&"gwfawGeJY cE¨¨mudk,fu vdktyfwJh tjcm;aomt&mrsm;udk vdktyfaewJhqJvfawG wpf&I;awGqDudk a&mufatmif cE¨¨mudk,fwGif; vSnfhvnf ydkYaqmifay;vdkYygyJ/ wu,fvdkYom atmufpD*sif[m OD;aESmufudk ra&mufbl;qdk&if 3 rdepftwGif; uRefrwdkY aoqHk;rSm jzpfygw,f/ 'ghtjyif cE¨¨mudk,fwGif;rSm&SdwJh tnpftaBu;awGeJY umAGef'dkifatmufqdkuf'fudk aoG;u z,f&Sm;oefYpifay;ygw,f/ aoG;jzKOawG[m jyifyrSa&m*gydk;awGudk 0ifa&mufvmjcif;udk umuG,fckcHay;jyD; aoG;eDOawGuawmh wpf&I;rsm;qDodkY atmufpD*sifudk o,f,lydkYaqmifjyD; umAGef'dkifatmufqdkuf'fudk z,f&Sm;ay;ygw,f/ t&G,fa&mufjyD; vlom;wpfa,muf&JY cE¨¨mudk,fwGif;rSm aoG; 4 atmifprS 6 atmifpyrmPtxd vSnfhvnfaeygw,f/


aoG;vdkYajymvdkufwmeJY vlwdkif;&JY cE¨¨mudk,fwGif;rSm&SdaewJh aoG;awG[mtwlwlyJvdkY xifp&m&Sdygw,f/ 'gayr,fh rdkufu&dkpukyfatmufrSmawmh rsufjrifxif&Sm;odompGmyJ aoG;awG[m rwlBuygbl;/

1900 jynfhESpftapmydkif;rSm Bopaw;vsEdkifiHom; odyÜÜHynm&Sif Karl Landsteiner u aoG;trsdK;tpm;rsm;udk cGJjcm;EdkifcJhygw,f/ tJ'DatmifjrifrItwGuf ol Edkb,fvfqkudk xdkufwefpGm &&SdcJhygw,f/


Karl Landsteiner avhvmawGY&SdcJhwmu aoG;eDqJvfawG&JY rsufESmjyifrSm odomxif&Sm;wJh "mwkarmfvDusK; 2 rsdK;&Sdaeygw,f/ tJ'gudkolu armfvDusL;at eJY armfvDusL; bDvdkY emrnfay;cJhygw,f/ armfvDusL; atomyJ&SdwJh aoG;eDqJvf udk at tkyfpk aoG;trsdK;tpm;vdkY owfrSwfjyD; armfvDusL; bD omyJ&SdwJh aoG;eDqJvfudkawmh bD tkyfpk vdkYowfrSwfygw,f/ armfvDusL; at a&m armfvDusL; bDa&m ESpfrsdK; aygif;pyfyg0ifaewJh aoG;tkyfpkudkawmh atbDaoG;trsdK;tpm;vdkY owfrSwfygw,f/ aoG;eDqJvfrSm ata&m bDa&m armfvDusL; rygwmrsdK;usawmh tdk tkyfpkvdkY owfrSwfcJhygw,f/

vlemwpfa,mufaoG;vdktyfwJhtcgrSm rwlnDwJhaoG;awG roGif;rdzdkY ta&;BuD;ygw,f/ rwlnDwJhaoG;trsdK;tpm; 2 ck[m twlaygif;pyfjyD; aoG;aBumxJrSm cJumydwfqdkYjcif;jzpfapjyD; aoapavmufwJh tajctaeudk csufcsif;jzpfay: qdk;&Gm;apwmaBumifh aoG;trsdK;tpm;tkyfpk wlnDrSomvQif aoG;oGif;ukoEdkifygw,f/ ta&;ay:tajctaersm;rSm tdkaoG;trsdK;tpm;udk tjcm;aoG;tkyfpkrsm;u vufcHEdkifaomfvnf;yJ wcgw&HrSmawmh tEåÅ&,f&SdaeqJygyJ/

at aoG;ydkif&Sif[m at aoG;trsdK;tpm; eJY atbD aoG;trsdK;tpm;ydkif&SifawGudk aoG;vIvdkY&ygw,f/

bD aoG;ydkif&Sifu bD aoG;trsdK;tpm;eJY atbD aoG;trsdK;tpm;ydkif&SifawGudk aoG;vIvdkY&ygw,f/

atbD aoG;ydkif&Sifuawmh atbD aoG;trsdK;tpm; ydkif&SifudkyJ aoG;vIvdkY&ygw,f/

tdk aoG;ydkif&Sifuawmh rnfoludkrqdk aoG;vIvdkY&ygw,f/

tdkaoG;vdktyfwJh vlemuawmh tdkaoG;udkom vufcHEdkifygw,f/ tdkaoG;rSvGJvdkY wjcm;aoG;rsm;udk r&,l&ygbl;/

tdk aoG;ydkif&Sifrsm;udk Universal Donor vdkY ac:BujyD; atbD aoG;ydkif&Sifrsm;udkawmh Universal Receiver vdkYac:Buygw,f/ ta&;ay:udpörsm;twGuf tdkaoG;ydkif&SifawG[m txl;vdktyfvSygw,f/

aoG;rSm taygif; eJY tEIwfqdkwJh Rh Factor vnf;uGJjym;jyefygao;w,f/

aoG;vIEdkifwJ ? aoG;vufcHEdkifwJh trsdK;tpm;rsm;udk atmufygZ,m;rSm Bunfh&IEdkifygw,f/


Type

You Can Give Blood To

You Can Receive Blood From

A+

A+ AB+

A+ A- O+ O-

O+

O+ A+ B+ AB+

O+ O-

B+

B+ AB+

B+ B- O+ O-

AB+

AB+

Everyone

A-

A+ A- AB+ AB-

A- O-

O-

Everyone

O-

B-

B+ B- AB+ AB-

B- O-

AB-

AB+ AB-

AB- A- B- O-



odyÜHÜynm&SifawGuvlawG&JU cE¨¨maA'udk avhvmzdkYtwGuf Rhesus arsmufawGudk avhvmcJhygw,f/ tJ'DarsmufawG[m uRefrwdkY vlom;awGeJY tawmfav;udkqifwlwmawG&SdvdkY vlYcE¨¨maA'udk ydkrdkavhvmEdkifzdkY Rhesus arsmufawGudkvltpm; tpm;xdk;toHk;jyKavhvmcJhBuygw,f/


Rhesus arsmufawGudkavhvmwJhtcgrSm aoG;xJrSm y&dkwdef;wpfrsdK;udkawGY&SdcJhygw,f/

tcsdKYvlrsm;&JY aoG;xJrSm tJ'Dy&dkwdef;udkawGY&Sd&ayr,fh tcsdKYrSmawmh rawGY&Sd&ygbl;/

tJ'Dy&dkwdef;yg&Sdjcif;? ryg&Sdjcif;qdkjyD; Rh factor taygif;eJY tEIwfqdkjyD; cGJjcm;owfrSwfvdkufygw,f/

Rh qdkwmuawmh Rhesus twdk taeeJY ac:vdkufwmyg/


aoG;xJrSm y&dkwdef;yg&Sdw,fqdk&if Rh (+) vdkY owfrSwfjyD; ryg&Sdbl;qdk&if Rh ( - ) vdkY owfrSwfvdkufygw,f/ 'D Rh factor uuRefrwdkY&JY aoG;trsdK;tpm;awGeJYqufEG,faeygw,f/ atbD aoG;ydkif&SifrSm Rh factor taygif;yg0ifaer,fqdk&if AB (+) aoG;trsddK;tpm;vdkY owfrSwfygw,f/ y&dkwdef;ryg0ifwJh atbD aoG;trsdK;tpm;udkawmh AB ( - ) vdkY owfrSwfygw,f/ tdk aoG;rSm y&dkwdef;yg0ifae&if O (+) aoG;trsddK;tpm;vdkY owfrSwfjyD; y&dkwdef;ryg0ifaewJh Rh ( - ) tdk aoG;rsdK;udk O ( - ) aoG;trsddK;tpm;vdkY owfrSwfygw,f/

Read More......

Top Antivirus Performers

By Elf-Cupid from www.myanmarcupid.net July 2007

PCworld tvdkt&
1. Kaspersky
2. Norton
3.
BitDefender
4. NOD 32
5. PANDA
6. AVAST (not free version)
7. AVG (not free version )
8. Trend Micro
&,fvdkU taumif;qHk;uae pNyD; pDNyxm;ygw,f/
&Sdygw,f/ Kaspersky u Update &zdkU cufwmaBumifh NrefrmNynftaeeJU Norton udkyJ oHk;zdkU nTef;csifygw,f/ aemfwefu rifrdk&Dpwpf&Sd&if definition udk tifwmeufqdkifrSm oGm;,lvdkU &wmudk;/ online access &SdzdkU rvdkbl;av/

uJ- bitdefender taBumif;av; qufvdkuf&atmif/

olU&JU raumif;wJh tcsufuawmh

1/ pufudk aES;oGm;apwmygyJ/ (aemfwefu aES;apw,fvdkU N
refrmNynfrSm xifBuw,f/) BitDefender has excellent malware detection and a good price, but it adds a noticeable (though not show-stopping) system slowdown.

2/ olu taumifr[kwfwJU &dk;&dk; y&dk*&rfawGudk taumifawGygvdkU rSm;Nywwfygw,f/
BitDefender also had the highest false-positive rate, incorrectly labeling 14 harmless files (out of 20,000) as malware.
3/ ol[m Kaspersky eJU Norton vdkyJ taumifawG&JU 96 &mcdkifeSKef;udk axmufvSrf;ay;edKifygowJh/

4/ odkUaomf Kaspeersky u 86% aom taumifawGudk owfedkifNyD;? aemfwefu 22aumifwGif 18 aumifowfedkif (81% pGef;pGef; ) csdefrSm BitDefender u 22aumifrSm 13 aumifyJ (59% ) owfay;edkifygw,f/ 'Dawmh Bitdefender u taumifawGudk &Sif;ray;edkifwm odxm;zdkU vdkygw,f/

5/ olu taemufedkifiHrSm aps;taygqHk;rdkU acwfpm;[efwlygw,f/ aemuf 24em&D zkef;quftultnDawmif;vdkU&wmaBumifhvnf; emrnfBuD;ygw,f/

tJawmh NrefrmNynfrSm aeolawGtaeeJU udk,feJU oifhawmfwJh antivirus udkyJ a&G;zdkU? olrsm;aNymwdkif; vkdufroHk;BuzdkU wdkufwGef;vdkygw,f/

taumiftopf tifwmeufrSm ay:vmwmeJU aNz&Sif;zdkU definition udk Kaspersky u 0-2 em&DtwGif;rSm xkwfa0edkifcJhygw,f/ 'DtcsufrSm aemfwefu Knock out uscJhwmyg/ aemfwefu 10 em&Duae 12 em&Dxd Bumygw,f/

Read More......

Friday, July 20, 2007

Hacker hack Thailand MICT Page, replaced with Ex-PrimeMinister Smiling Photo

Humiliation by anonymous hacker to Thailand Ruling Military - 19 July 2007

It was informed that the main page of Thai MICT is changed by ex-prime minister smiling and weaving hands(supposed to his supporters) just before lunch at 19 July.

This was happened on the time MICT is about to issue a new MICT law trying to control and reduce the freely use of Internet by people inland.

Thailand MICT had did example of such restriction by not allowing its people to access Youtube site after disappoint with youtube group allowing to post improper video of Thai people highly admired King Bumibol.

Read More......

ผลสำรวจสมาคมนักวิเคราะห์ฯ เชื่อมั่นเพิ่มดัชนีหุ้นถึง 880 จุดปลายปี

Wednesday, 18 July 2007
ผลการสำรวจครั้งที่ 3/2550 ของสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ พบว่านักวิเคราะห์มีมุมมองที่ดีขึ้นสำหรับการลงทุนในช่วงกลางกรกฎาคม - ธันวาคม 2550 โดยนายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมฯ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์ล่าสุด เทียบกับผลสำรวจครั้งก่อนเมื่อ 20 เม.ย. 2550 เกี่ยวกับแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นช่วงครึ่งหลังของปีนี้



โดยนักวิเคราะห์ปรับประมาณการผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนทั้งปีเติบโตดีขึ้น โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 4.6 จากร้อยละ 3.2 ในการสำรวจครั้งก่อนหน้า ในขณะที่ตัวเลขคาดการณ์ทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดย GDP Growth เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 4.3 จากร้อยละ 4 นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ณ ปลายปี 2550 ไว้ที่เฉลี่ย 880 จุด จากระดับ 731 จุด กลุ่มธุรกิจที่แนะนำให้ลงทุนคือ กลุ่มธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ และพลังงาน รวมทั้งเชื่อว่านักลงทุนต่างชาติจะยังคงเป็นผู้ซื้อสุทธิต่อเนื่อง

สมาคมนักวิเคราะห์ฯ ได้สำรวจความเห็นนักวิเคราะห์เกี่ยวกับแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นในช่วงกลางกรกฎาคม - ธันวาคม 2550 ทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่มีอิทธิพลต่อการลงทุนในตลาดหุ้น ความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ข้อเสนอแนะให้กับรัฐบาล แนวโน้มอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน คาดการณ์อัตราการขยายตัวของกำไรต่อหุ้นของบริษัทในกลุ่มธุรกิจสำคัญ กลุ่มธุรกิจและหุ้นที่แนะนำให้ลงทุน คาดการณ์การซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ และคำแนะนำให้นักลงทุน รวมไปถึงความเห็นเกี่ยวกับกำหนดเวลาเลือกตั้ง การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ และกลุ่มบุคคลที่นักวิเคราะห์อยากเชิญชวนให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยมีสำนักวิจัยจากบริษัทหลักทรัพย์แสดงความเห็นรวม 19 แห่ง

ปัจจัยบวกที่สำคัญต่อการลงทุนในตลาดหุ้นช่วงกลางเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2550 :

อันดับแรก ที่นักวิเคราะห์ร้อยละ 84 เห็นตรงกัน คือ ปัจจัยทางด้านการเมือง เกี่ยวกับการลงประชามติผ่านร่างรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งที่เป็นไปตามกำหนด

อันดับที่สอง มีผู้ตอบร้อยละ 79 คือ กระแสเงินไหลเข้า โดยมีเงินทุนจากต่างชาติไหลเข้าต่อเนื่อง

อันดับที่สาม คือ ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน ที่มีการเติบโตดีขึ้น มีผู้ตอบร้อยละ 58

สำหรับปัจจัยบวกอื่น ๆ ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อัตราดอกเบี้ยที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ เป็นต้น

ปัจจัยลบที่สำคัญ :

อันดับแรก นักวิเคราะห์ร้อยละ 79 มองตรงกันว่า คือ ค่าเงินบาทที่แข็งค่า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกในระยะถัดไป

อันดับสอง มีผู้ตอบร้อยละ 74 คือ ปัจจัยทางการเมือง ซึ่งรวมถึง ความไม่แน่นอนทางการเมืองซึ่งเกิดจากความเสี่ยงที่ร่างรัฐธรรมนูญอาจไม่ผ่านประชามติ และอาจทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปตามกำหนด และก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นได้

อันดับที่สาม มีผู้ตอบร้อยละ 42 คือ ราคาน้ำมัน ที่อยู่ในระดับสูง

ยังมีปัจจัยลบอื่น ๆ ที่นักวิเคราะห์บางรายกล่าวถึง ได้แก่ ปัจจัยจากต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐสำหรับลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูง (US subprime) อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่นที่อาจปรับขึ้น ความผันผวนของตลาดหุ้นต่างประเทศ เป็นต้น

จากผลสำรวจความเชื่อมั่นของนักวิเคราะห์ในการบริหารงานของรัฐบาลปัจจุบันสำหรับระยะครึ่งปีหลังเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 พบว่า ในด้านเศรษฐกิจ นั้น นักวิเคราะห์ร้อยละ 67 มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยมีนักวิเคราะห์จำนวนเท่ากันที่ร้อยละ 17 มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมากและเชื่อมั่นเท่าเดิม สำหรับในด้านสังคมและการเมือง นักวิเคราะห์ร้อยละ 50 เชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยมีร้อยละ 33 เชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมาก และมีความเชื่อมั่นเท่าเดิม ร้อยละ 17

มาตรการสำคัญที่นักวิเคราะห์เสนอแนะให้รัฐบาลทั้งชุดปัจจุบันและชุดหน้า ดำเนินการเพื่อประโยชน์ของเศรษฐกิจโดยรวม อันดับแรก คือ มาตรการด้านเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงการเร่งดำเนินโครงการขนาดใหญ่ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค และเร่งการใช้จ่ายภาครัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมีผู้ตอบร้อยละ 71 อันดับที่สอง มีผู้ตอบร้อยละ 29 คือ มาตรการส่งเสริมการลงทุน โดยแนะรัฐให้ออกมาตรการกระตุ้นการลงทุน รวมทั้งมีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการลงทุนของต่างชาติ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน นักวิเคราะห์อีกร้อยละ 24 ยังแนะให้รัฐบาลมี มาตรการเกี่ยวกับค่าเงินบาท เป็นอันดับสาม โดยควรดำเนินนโยบายเกี่ยวกับค่าเงินบาทอย่างรอบคอบ ระมัดระวังและลดความผันผวนของค่าเงิน

จากการที่รัฐบาลคาดการณ์วันเลือกตั้งไว้ภายในปลายปีนี้นั้น นักวิเคราะห์ร้อยละ 56 ของที่ตอบแบบสอบถาม เชื่อว่าจะเป็นไปตามที่คาดการณ์ ในขณะที่ร้อยละ 44 มองว่าการเลือกตั้งอาจมีการเลื่อนออกไปเป็นมกราคม – กุมภาพันธ์ 2551

ทั้งนี้ หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติที่จะมีขึ้นประมาณกลางเดือนสิงหาคมนี้ สมาคมนักวิเคราะห์ฯ พบว่า นักวิเคราะห์ร้อยละ 90 คิดว่าจะมีผลกระทบทางลบต่อทิศทางราคาหุ้น เนื่องจากจะทำให้การเลือกตั้งล่าช้าออกไป ทำให้เกิดความไม่แน่นอนและอาจมีความวุ่นวายเกิดขึ้น

สมาคมนักวิเคราะห์ฯ ยังได้สำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ถึงกลุ่มบุคคลที่อยากให้ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งหน้านี้เพื่อประโยชน์ของประเทศ และพบว่านักวิเคราะห์อยากให้มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งกระจายอยู่ครอบคลุมทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองอาชีพ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและการเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ นักธุรกิจ นักบริหารยุคใหม่ที่มีวิสัยทัศน์ รวมไปถึงผู้แทนจากกลุ่มเกษตรกรหรือระดับรากหญ้า

จากการสำรวจครั้งนี้ สมาคมนักวิเคราะห์ฯ พบว่า นักวิเคราะห์มีการปรับประมาณการตัวเลขต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่จากการสำรวจเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยตัวเลขสำคัญสำหรับทั้งปี 2550 คือ อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ หรือ GDP Growth เฉลี่ยอยู่ที่ 4.3% สูงขึ้นจากเดือนเมษายนซึ่งอยู่ที่ 4.0% ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน หรือ EPS Growth เฉลี่ยก็ปรับขึ้นจากเดิม 3.2% เป็น 4.6%
สำหรับตัวเลขสำคัญ ณ สิ้นปี 2550 นักวิเคราะห์คาดว่า ค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นกว่าที่ประมาณการไว้เดิม โดยอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและดอลลาร์สรอ. ณ สิ้นปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 34 บาท จากเดิมที่คาดไว้ 35.2 บาท สำหรับอัตราดอกเบี้ย RP 1 วัน ในปลายปีนี้ นักวิเคราะห์คาดว่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 3.3% ซึ่งต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้เล็กน้อย ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ หรือ SET Index สิ้นปีนี้เฉลี่ยน่าจะปรับตัวสูงขึ้นมาก คือ อยู่ที่ 880 จุด จากเดิม 731 จุด โดยมีสำนักวิจัยที่พยากรณ์ดัชนีสิ้นปีสูงสุดที่ 950 จุดและสำนักวิจัยที่คาดการณ์ดัชนีวันสิ้นปีไว้ต่ำที่สุดที่ 740 จุด นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังคาดว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ณ ปลายปีหน้า 2551 น่าจะปรับตัวสูงขึ้นต่อไปอยู่ที่เฉลี่ย 1,033 จุด
ตารางที่ 1 - ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจ


ค่าเฉลี่ย ตัวเลขของผู้คาดการณ์สูงสุด ตัวเลขของผู้คาดการณ์ต่ำสุด จำนวนสำนักวิจัยที่ตอบ
สำรวจ ณ 20 เมย.50 สำรวจ ณ 13 กค.50 สำรวจ ณ 20 เมย.50 สำรวจ ณ13 กค.50 สำรวจ ณ 20 เมย.50 สำรวจ ณ13 กค.50 สำรวจ ณ 20 เมย.50 สำรวจ ณ13 กค.50
รวมทั้งปี 2550
GDP Growth 4.0 4.3 4.6 5 3.7 3.9 20 19
EPS Growth 3.2 4.6 13.0 10.9 -7.3 -3.5 17 18
ณ สิ้นปี 2550
SET Index 731 880 770 950 700 740 22 18
FOREX Bht:US$ 35.2 34 36.5 35 34 32.5 21 18
ดอกเบี้ย RP 1 วัน 3.5 3.3 4.0 3.5 3 3 21 18
ณ สิ้นปี 2551
SET Index - 1,033 - 1,200 - 920 - 14
ในส่วนของผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในปีนี้ ประเมินจากอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS Growth) ของกลุ่มธุรกิจสำคัญ จากผลที่ได้จากแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ยังคงมีอัตราการเติบโตสูงสุด โดยมีค่าเฉลี่ย EPS Growth ที่ร้อยละ 34.5 อันดับสองคือ ธนาคาร เติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 14.7 อันดับต่อมาคือ กลุ่มปิโตรเคมี เติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 11.1
ตารางที่ 2 - EPS Growth (%) แยกตามกลุ่มธุรกิจ
กลุ่มธุรกิจ ค่าเฉลี่ย จำนวนสำนักวิจัยที่ตอบ
อสังหาริมทรัพย์ 34.5 14
ธนาคาร 14.7 14
ปิโตรเคมี 11.1 14
เดินเรือ 4.5 11
วัสดุก่อสร้าง 1.2 15

นักวิเคราะห์ที่ตอบแบบสอบถามเกือบทั้งหมด คือร้อยละ 95 มองว่าในครึ่งหลังของปีนี้ นักลงทุนต่างชาติจะยังคงซื้อสุทธิต่อเนื่องจากกลางกรกฎาคม โดยมีเหตุผลหลักคือ ราคาหุ้นไทยยังถูกเมื่อเทียบกับตลาดอื่นในภูมิภาค ประกอบกับมีกระแสเงินไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย

Read More......
Template by : kendhin x-template.blogspot.com